ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๐…

…ระลึกถึงข้อธรรมคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล บทหนึ่งที่ท่านกล่าวไว้ว่า “การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ” เอามาเป็นข้อคิดและพิจารณาน้อมนำมาซึ่งการปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจในข้อธรรมนั้นๆตามกำลังของสติระลึกรู้ที่เราได้ฝึกฝนมา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๙…

…เดินทางอยู่บนถนนที่ทอดยาวมากมายด้วยยวดยานที่ผ่านไปมาเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหยุดบ้างพักบ้างเมื่อเหนื่อยล้าพบปะเจรจากับเพื่อนผู้ร่วมทางต่างคนต่างมีเป้าหมายของการเดินทางเก็บเกี่ยวทุกอย่างที่เป็นประสบการณ์…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๘…

…”การปฏิบัติธรรมคือการทำกิจชีวิตจึงมีกิจที่ต้องทำ” คนเรานั้นมีการสื่อสารกันด้วยการใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและภาษากายสื่อความหมายเพื่อให้เข้าใจกันและการพูดของคนเรานั้น ก็มีหลายประเภทเช่น คิดดี พูดดีทำดี…คิดดี พูดดี แต่ทำไม่ได้

…คิดดี พูดไม่ดี แต่ทำได้ คิดดี พูดไม่ดี และทำไม่ได้คิดไม่ดี พูดดี แต่ทำไม่ได้คิดไม่ดี พูดไม่ดี และไม่ทำอะไรโปรดลองคิดเล่นๆดูว่าเราอยู่ประเภทไหน (ห้ามคิดเข้าข้างตัวเองนะ) คนบางคนพูดดีจนกลายเป็นดีแต่พูด เพราะพูดแล้วไม่เคยทำได้อย่างที่พูดเลย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๗…

…เป้าหมายของชีวิตที่ตั้งใจใฝ่ฝันอยากจะก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลาเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ชีวิตนั้นจะเดินไปในหนทางใดมันอยู่ที่การตัดสินใจของตัวเราเองตามความคิดความเห็นและสิ่งที่เป็นอยู่รอบกายคือเหตุและปัจจัยเส้นทางชีวิตจึงมีหลายสายให้เราเลือกเดิน ซึ่งมันขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและคุณธรรมของเรา ว่าจะเลือกเอาเส้นทางสายไหนที่จะก้าวเดินไป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๖…

…บรรยายธรรมเป็นคำกวี…

“…สุขในการให้ ยิ่งกว่าสุขในการรับ…”

…ผู้ให้ใจประเสริฐ
เพราะสุขเกิดจากภายใน
สุขกายสบายใจ
เพราะจิตที่มีเมตตา

…ผู้รับนั้นเฝ้ารอ
การร้องขอรอเวลา
รอไปกว่าได้มา
อาจจะทุกข์เพราะเฝ้ารอ

…ผู้ให้ใจเป็นสุข
ไม่มีทุกข์มาเกิดก่อ
ให้ไปไม่ต้องขอ
มาจากจิตเพราะเต็มใจ

…ผู้ให้ไม่ตระหนี่
เพราะว่ามีจิตแจ่มใส
สละส่วนตนไป
จิตเมตตากรุณา

…เป็นพรหมขึ้นในจิต
มีความคิดมุทิตา
ให้แล้วอุเบกขา
ไม่มาคิดให้กังวล

…ความสุขในการให้
มีมากมายหลายเหตุผล
สร้างทานต่อผู้คน
ล้วนก่อเกิดเป็นกรรมดี…

…แด่คำคม..คำครู…ที่คงอยู่
มายาวนาน ศรัทธาในปัญญา
ของปราชญ์แต่ก่อนกาล…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๕…

…วิถีในทางโลกและทางธรรม บางครั้งนั้นก็ตรงกันข้ามกัน ทางธรรมนั้นเป็นไปเพื่อการลดละในสิ่งที่ยึดถือ แต่ในทางโลกกลับเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนสะสม แต่โลกและธรรมนั้นเดินไปด้วยกันได้ไปพร้อมกันได้ ถ้าเราเข้าใจในเหมาะสมความพอดีและพอเพียง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๔…

…ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ที่การเริ่มต้น “It is never too late to mend ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น” ถ้าเรามีความตั้งใจที่จะทำและมีความรับผิดชอบ ในความคิดของเราเอง คือมีสัจจะต่อตนเองแล้วทุกอย่างเริ่มต้นได้ทันทีและทุกเวลาทุกโอกาส

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๓…

…สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปไม่มีอะไรที่จะหนีกฎธรรมชาตินี้ไปได้สิ่งที่สำคัญก็คือการทำใจ รับกับสภาวะที่จะเกิดขึ้นนั้น ว่าเราจะรับได้ขนาดไหนในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวของเราเอง

…การสูญเสียนั้น ถ้าเป็นสิ่งของวัตถุที่จับต้องได้ มันก็ไม่เท่าไหร่ เพราะว่าเรายังมีโอกาสที่จะหามาชดใช้มาทดแทนได้ เพราะเป็นของนอกกายแต่สิ่งที่หามาทดแทนไม่ได้ ก็คือความรู้สึกนึกคิดที่เสียไป เสียความรู้สึกที่ดีต่อกัน สิ่งนั้นไม่อาจจะหามาทดแทนได้ เช่นความรู้สึกที่ดี ที่เคยมีต่อกัน เมื่อความรู้สึกนั้น มันเปลี่ยนแปลงไป มันยากที่จะทำให้กลับมาเหมือนเดิม มันเป็นบาดแผลในจิตที่ยากเกินแก้ไข ถึงจะประสานอย่างไรมันก็ยังมีรอยร้าว เหมือนสังคมไทยในปัจจุบันนี้ คือความรู้สึกที่ดีที่เคยมีต่อกันนั้นสูญเสียไป เพราะขาดซึ่งความจริงใจที่มีให้แก่กัน

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๒…

…”ความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ” คือพอเพียงและพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น พึงพอใจในอัตภาพของคนเอง ชีวิตที่เหลือคือการทำหน้าที่ของตนไปจนสิ้นอายุขัย ความสุขความสบายใจก็จะเกิดขึ้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะว่าใจมันบอกว่า “พอแล้ว” …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๑…

…ถ้าหากเราทำงานเพื่อหวังผลของงานเราจะมีความรู้สึกว่า มันหนัก มันเหนื่อยมันมีความวิตกกังวลใจ เพราะว่าใจของเรานั้นมันเข้าไปยึดถือ มันจึงเป็นทุกข์

…แต่ในทางกลับกัน หากเรานั้นทำงานเพื่อเป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ โดยไม่คาดหวังผลผลนั้นจะออกมาอย่างไร เรายอมรับในผลที่ออกมา ใจเราก็จะไม่ทุกข์ ไม่กังวลมีแต่ความปีติสุขจากการที่ได้ทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๑”