ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๐….

“ความเบื่อกับความอยากเป็นของคู่กัน” เมื่อความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้นรนขวนขวาย หาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบความอยาก ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้จิตก็ยินดี ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา จิตมันก็เกิดปฏิฆะ และเมื่อเสพในความอยากนั้นจนเต็มที่แล้ว จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๙…

…การทำงานทุกอย่างเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าการปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญกุศลจิตเจริญสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะจิต มีความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาทั้งในการคิดและการกระทำซึ่งคนทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่มีความคิด มีสติ แต่สิ่งที่ขาดไปคือกุศลจิต ซึ่งเป็นคุณธรรมคุ้มครองจิตไม่ให้คิดไปในทางที่ผิด รู้จักหักห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล รู้จักวางตนอยู่ในสัมมาทิฏฐิซึ่งสิ่งที่ขาดหายไปนั้นเกิดจากพื้นฐานของคุณธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละคน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๘…

“บทสรุปมิได้อยู่ที่ความคิดหรือคำพูด แต่พิสูจน์ด้วยการกระทำ” เพราะเพียงแต่คิดและพูดนั้น มันยังไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรม เราจึงต้องนำความคิดคำพูดนั้นมาปฏิบัติ หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ จึงจะเห็นผลเพราะว่ามันเป็น “ปัตจัตตัง” และก่อนที่เราจะหวังในคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่นั้น ท่านจงถามตัวท่านเองเสียก่อนว่า สติสัมปชัญญะของเรานั้น มีกำลังเพียงพอแล้วหรือยังมีสติเต็มรอบแล้วหรือยัง ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต ขอเพียงเราคิดและพิจารณา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๗…

๐ จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ

..อนุวิจฺจการํ กโรหิ …
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…วันเวลาที่ผ่านไปนั้น ทำงานไปตามบทบาทและหน้าที่ ตาม จังหวะ เวลาและ โอกาสที่พึงมี ทำหน้าที่ของเรานั้นให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยการมีสติและสัมปชัญญะระลึกรู้ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๖…

…”ความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ” คือพอเพียงและพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น พึงพอใจในอัตภาพของคนเอง ชีวิตที่เหลือคือการทำหน้าที่ของตนไปจนสิ้นอายุขัย ความสุขความสบายใจก็จะเกิดขึ้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะว่าใจมันบอกว่า “พอแล้ว”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๕…

…วิถีทางแห่งชีวิตของแต่ละคนต่างก็มีจุดหมายปลายทางที่ต่างกัน เราเลือกเส้นทางฝันของเราเองจิตวิญญาณที่ต้องการอิสระปลดปล่อยพันธะแห่งมายาแสวงหาความสุขที่แท้จริงไม่เคยหยุดนิ่งต่างดิ้นรน

…รางวัลสำหรับชีวิตวางไว้ที่จุดหมายปลายทางต่างคนต่างมุ่งไปให้ถึงจุดนั้นมีอุปสรรคมากมายตามรายทางทุกย่างก้าวเต็มไปด้วยอันตรายอาจจะตายก่อนถึงจุดหมายปลายทาง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๔…

…อย่าเป็นห่วงพระพุทธศาสนาเลย เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ ปีพระพุทธศาสนาก็ย่อมตั้งอยู่ในโลกนี้ ๕,๐๐๐ ปี ที่ใดมีคนศรัทธาและนับถือ ก็ย่อมเจริญงอกงามในหมู่คนที่นั่น ส่วนที่ใดคนไม่ศรัทธาหรือเคยศรัทธามาแล้ว แต่ละทิ้งหรือกระทำผิดแผกจากหลักของพระศาสนา ก็ย่อมเคลื่อนย้ายจากที่นั่น ไปตั้งอยู่ในที่ที่มีคนศรัทธาและนับถือ

…หลักธรรมคำสอนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากพระพุทธศาสนานั้น เรียกว่า “สัทธรรมปฏิรูป” นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ว่าผู้ใดสร้างและนับถือสัทธรรมปฏิรูปผู้นั้นก็ย่อมเดินออกห่างจากวิถีแห่งพุทธศาสนา ซึ่งผู้ออกห่างวิถีแห่งพุทธศาสนาย่อมมีอยู่แน่นอน

…เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามกฎพระไตรลักษณ์และหลักของความเป็น “ตถตา” เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หลักธรรมของพุทธศาสนานั้นก็ย่อมยังคงอยู่ หาได้เสื่อมไปไม่ คนต่างหากที่เสื่อมจากพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปีแล้ว คนก็จะค่อยๆละทิ้งหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจนไม่มีใครรู้ได้ในที่สุด รอจนกว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่จะมาตรัสรู้ธรรมในกาลข้างหน้าคนจึงจะรู้และเข้าถึงพุทธธรรมอีกครั้ง

…อย่าได้เป็นห่วงพระพุทธศาสนาเลยถ้าท่านนั้นเป็นชาวพุทธ จงห่วงตัวท่านเองเถิด ว่าการประพฤติปฏิบัติของท่านนั้น เป็นการส่งเสริมทรงไว้หรือทำลายพระพุทธศาสนา เพราะว่าคำตรัสของพระพุทธองค์นั้นเป็นหนึ่งเสมอไม่เคยคลาดเคลื่อนเป็นอย่างอื่นไปได้

…“ พระพุทธธรรมนั้นคงอยู่ แต่ผู้คนนั้นเป็นผู้เสื่อม ”…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๓…

…การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่เริ่มจากจิต จากความคิดแล้วแสดงออกมาซึ่งทางกายการปฏิบัติธรรมนั้น มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวดเพื่อให้ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชมแต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่ มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในกายในจิตในความคิดและการกระทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๒…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะ ทุกชีวิตนั้นกำลังเดินไปสู่ความตาย ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้กระทำมาซึ่งแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้นทุกคนก็ไม่อาจจะหนีความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไป จงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมาว่าเรานั้นได้สร้าง ได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๑…

…จิตสำนึกแห่งคุณธรรม…

… มนุษย์ทุกคนมีความคิดถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจแต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิดเป็นเพราะว่าขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรม ที่จะหักห้ามใจมิให้กระทำผิด

… จิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝนฝึกนึกฝึกคิดปรับจิตให้เป็นกุศลฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนเองและผู้อื่น ฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดี เพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๑”