เมื่อจิตระลึกถึงธรรม

…เมื่อจิตระลึกถึงธรรม…

…เรียนรู้ธรรมะจากชีวิตเรียนรู้ถูกผิดทุกหนแห่งตามกำลังของสติที่มีแรงแสวงหาซึ่งสัจธรรมสัจธรรมในโลกคือพระไตรลักษณ์ทุกอย่างอยู่บนหลักหนีไม่พ้นเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวังวนรอวันหลุดพ้นจากโลกมายา

…กลับสู่จิตแท้จิตเดิมไม่เสริมปรุงแต่งแสวงหาคือความสิ้นสุดของกิเลสและอัตตาหมดสิ้นตัณหากามารมณ์ชื่นชมด่ำดื่มอยู่กับรสพระธรรมหมดเวรหมดกรรมจากที่เคยทำมานั่นคือสิ่งที่มุ่งหวังและแสวงหารอวันเวลาที่จะได้พบพาน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๓ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

อุทานธรรมในยามเช้าใต้หอระฆัง

…อุทานธรรมในยามเช้าใต้หอระฆัง…

…ระลึกถึงธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมซึ่งท่านสอนอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนไร้รูปแบบและพิธีการ ท่านสอนไว้ว่า…

…ให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตล่วงไปแล้วไม่ไปคิดถึง อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็อย่าไปคิดกังวล อยู่กับปัจจุบันธรรม หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจมันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจโปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจเพียงเท่านั้นก็เพียงพอ ต่อการปฏิบัติธรรม สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอ…

อ่านเพิ่มเติม “อุทานธรรมในยามเช้าใต้หอระฆัง”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๔…

…สมถะกรรมฐานนั้นเป็นเรื่องของสมาธิความสงบ อาศัยความวิเวกเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน สภาวธรรมของสมาธิเป็นไปในองค์แห่งฌานสถานที่วิเวกยังกายให้วิเวก กายวิเวกนำไปสู่จิตวิเวกจิตวิเวกทำให้เกิดอุปธิวิเวก…

…แต่วิปัสสนากรรมฐานนั้น เป็นภาวะที่อยู่กับปัจจุบันธรรม อยู่กับสิ่งรอบกายที่กำลังเคลื่อนไหว ที่กำลังเกิดขึ้นตามดู ตามรู้ ตามเห็น แต่ไม่เอามาเป็นอารมณ์ไม่เข้าไปยึดติดสักแต่ว่ารู้ มีสติและสัมปชัญญะความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะต่างจากอารมณ์ของสมถะกรรมฐาน ที่ต้องการความวิเวก ความสงบเงียบ มีสติแนบแน่นอยู่กับการภาวนา จนอารมณ์นั้นเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่เพ่งอยู่ คือรู้เฉพาะสิ่งที่กำลังเพ่งอยู่เท่านั้นรู้ในความสงบนิ่ง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๓…

…“เสียหนึ่ง อย่าเสียสอง เสียของ อย่าเสียใจเสียแล้ว ให้เสียไป ใจอย่าเสีย”…

…เป็นคำสอนของหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือ ซึ่งท่านได้กล่าวเตือนสติบรรดาศิษย์ทั้งหลายให้นำไปพิจารณาปฏิบัติตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ เรื่องของจิต คือการมีสติพิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติเมื่อมีสิ่งมากระทบแล้วจิตเข้าไปปรุงแต่งตาม

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๓”

กระแสธรรมแห่งกาลเวลา

…กระแสธรรมแห่งกาลเวลา…

…การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เราต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนและคนรอบกายพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ก่อนที่เราจะร้องขอจากเขานั้น เราต้องแบ่งปันและให้เขาก่อนจงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการให้ตอบแทนเป็นคำสอนของครูบาอาจารย์

…การมีน้ำใจต่อหมู่คณะนั้นจะทำให้ท่านได้รับความเกรงใจ สรุปลงได้ในหลักธรรมเรื่อง “พรหมวิหาร” ซึ่งแปลว่าเป็นธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม ธรรมอันเป็นหลักประจำใจของผู้ใหญ่ ธรรมที่ผู้ใหญ่ควรประพฤติ พรหมวิหารนั้นเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในใจ เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิดการกระทำ เช่น สงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น…

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมแห่งกาลเวลา”

ทบทวนธรรมในยามเช้า

…ทบทวนธรรมในยามเช้า…

…บุคคลแตกต่างกันด้วยธาตุและอินทรีย์ พระพุทธเจ้าทรงแยกเป็น ๔ จำพวกคือ…

๑. อุคฆติตัญญู คือบุคคลที่เมื่อฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วก็บรรลุธรรมทันที
๒. วิปจิตตัญญู คือบุคคลที่จะต้องอธิบายขยายเนื้อความจึงจะได้บรรลุธรรม
๓. เนยยบุคคล คือบุคคลที่จะต้องมีการฝึกฝนและอบรมจึงจะได้บรรลุธรรม
๔. ปทปรมบุคคล คือบุคคลที่สอนไม่ได้บอกอะไรก็ไม่รู้เรื่อง เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ

…สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้ทำและสะสมมา ดั่งคำที่กล่าวเสมอว่า กรรมใคร กรรมมัน อย่าไปเศร้าหมองกับอกุศลกรรมของผู้อื่นเลย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

เมื่อจิตระลึกถึงธรรม

…เมื่อจิตระลึกถึงธรรม…

…ชีวิตดำเนินไปตามปกติ ทำกิจวัตรของสงฆ์ ไปตามปกติที่เคยกระทำมาเสร็จจากกิจวัตรของสงฆ์ ก็มาปฏิบัติกิจวัตรของการเป็นผู้นำของหมู่คณะคือการตรวจตราดูแลเรื่องการก่อสร้างดูความเรียบร้อยในอาวาสที่อยู่อาศัยจดบันทึกทำบัญชีรับ-จ่ายในแต่ละวันคิดโครงการวางแผนงานที่จะทำต่อไปนี่คืองานในทางโลก

…ส่วนงานในทางธรรมก็คือการเจริญสติภาวนา ตามจังหวะเวลาและโอกาสที่สามารถจะทำได้ ใช้เวลาที่ผ่านไปกับการทำงาน ยามว่างภารกิจ ผ่อนคลายด้วยการเขียนบทความ บทกวีธรรมเพราะถือว่าการทำงานนั้น้เป็นการปฏิบัติธรรม เป็นการฝึกเจริญสติฝึกควบคุมความรู้สึกและอารมณ์กับสิ่งกระทบทั้งหลาย เพราะว่าการทำงานนั้น ต้องมีความสัมพันธ์กับหมู่คณะ ต้องพบปะพูดคุยและทำงานร่วมกัน หลายคนก็หลายความคิดและแตกต่างกันด้วยจิตและอารมณ์ ทำให้ต้องควบคุมตนเองให้มากขึ้น

…ต้องมีสติระลึกรู้ก่อนที่จะพูดและทำเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกันทั้งทางกายและทางจิตกับผู้ร่วมงานการทำงานนั้นก็กลายเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าเราต้องอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริง ต้องพบปะกับผู้คน ต้องทำงาน ต้องทำกิจเพื่อเลี้ยงชีวิตตามอัตภาพของสงฆ์ ไม่ใช่จะมีเวลา นั่งหลับตาภาวนาเพียงอย่างเดียวหรือไม่พบปะกับผู้คนเลย เราต้องอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมที่หลายหลากนี้คือความเป็นจริงของชีวิต…

อ่านเพิ่มเติม “เมื่อจิตระลึกถึงธรรม”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๒…

…อย่าให้วันเวลาผ่านไปโดยไร้ค่า อย่าให้วันเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นโทษต่อชีวิตของเราเลย ทุกสิ่งทุกอย่างเรากำหนดขึ้นมาได้ด้วยตัวของเราเอง คือการกระทำที่เรียกว่ากรรมของเราในวันนี้ ซึ่งพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็นอดีตไปแล้วยอมรับในความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่เผชิญอยู่รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา ว่าเราควรจะปรารถนาได้ในสิ่งใด เพียงใด

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๒”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๑…

…“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก”… สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม ที่สุดของพรหมวิหาร ๔ ก็คือการวางอุเบกขา เพราะเราเมตตาสงสาร จึงเข้าไปสงเคราะห์ช่วยเหลือ ถ้าเขาดีขึ้นเราก็ยินดีด้วยกับเขา

…แต่ถ้าสงเคราะห์แล้วยังเหมือนเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิม ก็ต้องทำใจปล่อยวางเพราะว่าเราทำหน้าที่ของเรานั้นสมบูรณ์แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นวิบากกรรมของเขาเองที่จะต้องได้รับ…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๑”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๒…

…“ชีวิตคือการทำงาน การทำงานคือส่วนหนึ่งของชีวิต” ชีวิตต้องดำเนินไปตามกระแสของกรรม ทุกคนเกิดมาต่างมีภาระหน้าที่และบทบาทที่แตกต่างกันตามที่กรรมเก่าได้จัดสรรไปตามเหตุและปัจจัย ซึ่งที่มานั้นเราไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ เพราะมันเป็นเรื่องของอดีตที่ผ่านมาแล้ว แต่เรื่องราวในอนาคตนั้น เราสามารถที่จะกำหนดได้โดยการสร้างเหตุและปัจจัยในวันนี้ดำเนินชีวิตตามภาระและหน้าที่ของเราที่มีให้สมบูรณ์ ทำในสิ่งที่ไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรมกฎหมายและประเพณีที่ดีงามเดินตามอริยมรรคอันมีองค์ ๘ ไปตามสถานะและสภาวะของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๒”