ย้ำเตือนจิต คิดถึงธรรม

…ย้ำเตือนจิต คิดถึงธรรม…

…”กาลามสูตร” อันเป็นหลักแห่งความเชื่อ ที่สอนไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริง ถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนที่จะเชื่อ ซึ่งมีหลักให้พิจารณาอยู่ ๑๐ ประการคือ…

๑. อย่าเชื่อตามที่ฟังๆกันมา
๒. อย่าเชื่อตามที่ทำต่อๆกันมา
๓. อย่าเชื่อตามคำเล่าลือ
๔. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
๕. อย่าเชื่อโดยนึกเอา
๖. อย่าเชื่อโดยคาดคะเนเอา
๗. อย่าเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
๘. อย่าเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
๙. อย่าเชื่อเพราะรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
๑๐. อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูอาจารย์ของตน

อ่านเพิ่มเติม “ย้ำเตือนจิต คิดถึงธรรม”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๕

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๕…

…ขอบคุณธรรมชาติรอบกายทั้งหลายที่เป็นครูผู้สอนธรรม น้อมนำให้จิตได้คิดและพิจารณาในสิ่งที่ผ่านมาและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ให้มีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อม น้อมจิตเข้าสู่การปฏิบัติ ขจัดความคิดที่เป็นอวิชชาทั้งหลายให้จางคลายและหายไปเรียนรู้ในสิ่งใหม่

…เข้าใจในปัจจุบันธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ความคิดที่เกิดจากจิตปรุงแต่ง แต่เป็นสภาวะรู้ที่เกิดในขณะที่จิตนั้นว่าง เมื่อเราละวางความคิดทั้งหลาย

…ระลึกนึกถึงคำกล่าวของครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “เมื่อหยุดคิดหยุดปรุงแต่งและวางทุกสิ่งลงได้ ทั้งสิ่งที่รู้และสิ่งที่ถูกรู้ทั้งปวง สัจธรรมจริงแท้ก็จะปรากฏขึ้นมาให้รู้เห็นเอง”

…มันเป็นเช่นนี้เอง….

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๖…

…เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงทุกวินาที ที่ผ่านเลยไปจงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมา ว่าเรานั้นได้สร้างได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๖”

กระแสธรรมแห่งกาลเวลา

…กระแสธรรมแห่งกาลเวลา…

…การไร้รูปแบบก็คือการมีรูปแบบเฉพาะตัวนั้นเอง โดยการไม่เข้าไปยึดติดในรูปแบบที่เป็นกระแสนิยมของสังคม เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับจริตและวิถีชีวิตของผู้ปฏิบัตินั้นเองเป็นการกระทำที่รู้ได้เฉพาะตนมีเหตุและผลในการกระทำทั้งหลายมีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศลควบคุมกายจิตอยู่ทุกขณะ เป็นสภาวะของปรมัตถธรรม จิตเข้าสู่ความเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตนในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ ดำเนินชีวิตไปอย่างเรียบง่าย ไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนธรรมวินัย เป็นไปโดยชอบอันประกอบด้วยกุศลเป็นมงคลต่อชีวิต นั้นสิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ…

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมแห่งกาลเวลา”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๔

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๔…

…การระลึกนึกถึงความตายนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนตาย ความยึดถือทั้งหลายในรูปธรรมวัตถุจะได้เบาบางลง อัตตาและมานะทิฐิทั้งหลายนั้นก็จะเบาบางลง ความโลภ ความหลงทั้งหลายก็จะค่อย ๆ หายไปเพราะชีวิตนี้ไม่มีวัตถุอะไรที่จะนติดตัวไปได้เมื่อตายจาก มีเพียงกรรมสิ่งที่ได้ทำไปนั้น ที่จะติดตามตัวของเราไปในปรโลก ทั้งสิ่งที่เป็นบุญและเป็นบาปจึงต้องคิดและพิจารณาว่าทำอย่างไรให้ตายไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องทุกข์ขณะจะสิ้นลม

…การระลึกนึกถึงความตายอยู่เสมอนั้น จะทำให้จิตนั้นไม่หวั่นไหวต่อความตายที่จะมาถึงในอนาคต ซึ่งทุกคนนั้นต้องประสพ ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔…

เมื่อจิตระลึกถึงธรรม

…เมื่อจิตระลึกถึงธรรม…

…บุคคลแตกต่างกันด้วยธาตุและอินทรีย์พระพุทธเจ้าทรงแยกเป็น ๔ จำพวกคือ…

๑. อุคฆติตัญญู คือบุคคลที่เมื่อฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วก็บรรลุธรรมทันที

๒. วิปจิตตัญญู คือบุคคลที่จะต้องอธิบายขยายเนื้อความจึงจะได้บรรลุธรรม

๓. เนยยบุคคล คือบุคคลที่จะต้องมีการฝึกฝนและอบรมจึงจะได้บรรลุธรรม

๔. ปทปรมบุคคล คือบุคคลที่สอนไม่ได้บอกอะไรก็ไม่รู้เรื่อง เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ

…สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้ทำและสะสมมา ดั่งคำที่กล่าวเสมอว่า…กรรมใคร กรรมมัน อย่าไปเศร้าหมองกับอกุศลกรรมของผู้อื่นเลย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๓ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

จิตระลึกถึงธรรม

…จิตระลึกถึงธรรม…

…ระลึกถึงธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมซึ่งท่านสอนอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนไร้รูปแบบและพิธีการ ท่านสอนไว้ว่า…

…ให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตล่วงไปแล้วไม่ไปคิดถึง อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็อย่าไปคิดกังวล อยู่กับปัจจุบันธรรม หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจมันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจโปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจเพียงเท่านั้นก็เพียงพอ ต่อการปฏิบัติธรรม สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอ…

…เมื่อเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้นจะรักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเราคือธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๕…

…วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรม สิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมานั้น แก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะเป็นอดีต ยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรมที่ทำมา…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๓…

…ทบทวนธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์…

…คนเราควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไปว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์และควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย…
…พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ ๒๕/๒๕/๑๖…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๓”

กระแสธรรมแห่งกาลเวลา

…กระแสธรรมแห่งกาลเวลา…

…ย้ำเตือนตนเองทุกครั้งที่เขียนบทความบทกวีหรือบรรยายธรรมว่าสิ่งที่กำลังทำนั้นเป็นการทบทวนและสอนตัวเองทุกครั้งอย่าไปมุ่งหวังว่าคนอ่านหรือคนฟังนั้นจะต้องรู้หรือเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามเพราะถ้าเราไปหวังและตั้งใจให้ผู้ฟังเข้าใจและปฏิบัติตามนั้น มันเป็นตัณหาคือความอยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากได้และเมื่อไม่เป็นไปตามที่ใจเราปรารถนามันก็จะพาให้ใจเป็นทุกข์ เพราะตัณหาไม่ได้รับการสนองตอบจึงกล่าวธรรมเพื่อธรรม บันทึกธรรมเพื่อธรรมเพื่อเตือนย้ำความรู้สึกและจิตสำนึกของตัวเราเอง…

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมแห่งกาลเวลา”