ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๔…

…พบปะและสนทนากับผู้มาเยือนอยู่เสมอพูดคุยสนทนาธรรม เป็นไปตามวาระเป็นไปตามกาลของงานนั้น ๆ สนองตอบโจทย์ความต้องการให้เขา เท่าที่เรานั้นจะทำได้ และสิ่งที่กระทำไปนั้นต้องไม่ผิดธรรมไม่ผิดวินัยและเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศล นั้นคือสิ่งเราสงเคราะห์ให้ได้…

…ใช้เวลายามว่างด้วยการฟังธรรมเพื่อนำมาวิเคราะห์หาความเหมาะสมกับตัวของเราเองที่จะนำไปปฏิบัติเปิดธรรมะของนิกายเซ็น ฟังสูตรของเหว่ยหลาง ฟังสูตรของฮวงโป ฟังแล้วคิดพิจารณาวิเคราะห์ตามในโศลกธรรมทั้งหลายของนิกายเซ็น ซึ่งเป็นเรื่องของการสอนที่ไร้รูปแบบ เป็นเรื่องของการสอนที่จิต ให้พิจารณา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๔”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๙…

…สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ…

๐ มีคำถาม มากมาย ให้ขบคิด
ถามเรื่องจิต เรื่องกาย เพราะอยากรู้
จงบอกว่า ถ้าสงสัย ให้ทำดู
แล้วจะรู้ กายจิต คิดอย่างไร

๐ อจินไตย คิดไป ก็ปวดหัว
มาดูตัว ดูจิต แล้วคิดใหม่
ดูให้รู้ ดูให้เห็น เป็นอย่างไร
ให้รู้ใจ รู้กาย รู้จิตตัว

๐ จิตส่งออก สมุทัย ให้เกิดทุกข์
จิตเป็นสุข เพราะรู้พร้อม น้อมไปทั่ว
มีสติ ระลึกรู้ อยู่กับตัว
รู้ดีชั่ว สิ่งที่จิต ควรคิดทำ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๓…

…สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปไม่มีอะไรที่จะหนีกฎธรรมชาตินี้ไปได้สิ่งที่สำคัญก็คือการทำใจ รับกับสภาวะที่จะเกิดขึ้นนั้น ว่าเราจะรับได้ขนาดไหนในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวของเราเอง

…การสูญเสียนั้น ถ้าเป็นสิ่งของวัตถุที่จับต้องได้ มันก็ไม่เท่าไหร่ เพราะว่าเรายังมีโอกาสที่จะหามาชดใช้มาทดแทนได้ เพราะเป็นของนอกกายแต่สิ่งที่หามาทดแทนไม่ได้ ก็คือความรู้สึกนึกคิดที่เสียไป เสียความรู้สึกที่ดีต่อกัน สิ่งนั้นไม่อาจจะหามาทดแทนได้ เช่นความรู้สึกที่ดี ที่เคยมีต่อกัน เมื่อความรู้สึกนั้น มันเปลี่ยนแปลงไป มันยากที่จะทำให้กลับมาเหมือนเดิม มันเป็นบาดแผลในจิตที่ยากเกินแก้ไข ถึงจะประสานอย่างไรมันก็ยังมีรอยร้าว เหมือนสังคมไทยในปัจจุบันนี้ คือความรู้สึกที่ดีที่เคยมีต่อกันนั้นสูญเสียไป เพราะขาดซึ่งความจริงใจที่มีให้แก่กัน

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๓…

“คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข”

“น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา”
…โพธิสัตว์สุภาษิต อารามทูสกชาดก ๒๗/๑๕…

… หลับตาเจริญสติภาวนา เหมือนกับอ่านตำราในห้องเรียนหรือสอบข้อเขียนโดยทั่วไป แต่การปฏิบัติโยธากัมมัฏฐานเหมือนกับการสอบการปฏิบัติภาคสนาม …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๐๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๐๐…

…สิ่งทั้งหลายรอบกายของเรานั้นล้วนสงเคราะห์เข้ากับธรรม หากเรานั้นได้นำมาคิดและพิจารณาถึงที่มาและที่ไปในสิ่งเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าหาหลักธรรมโดยการพิจารณาให้เห็นถึงคุณถึงโทษ เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของธรรมชาติทั้งหลายนั้น รู้เห็นถึงสภาวะการเกิดดับของอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายของจิต โดยการมีสติและสัมปชัญญะควบคุมคุ้มครองจิตให้คิดพิจารณา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๐๐”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๘…

…สายธารแห่งกาลเวลา…
ดอกบัวบานงามเด่นเป็นสง่า
เสียงนกกาขับขานกังวาลใส
วันเวลาแห่งชีวิตล่วงเลยไป
เช้าวันใหม่ตื่นขึ้นมารับอรุณ

…อรุณรุ่งเรืองรองแสงทองส่อง
นั่งเหม่อมองฟ้าใสใจอบอุ่น
ธรรมชาติสรรค์สร้างอย่างสมดุลย์
ธรรมชาติมีคุณเกินบรรยาย

…สายลมพัดโชยมาจากชายเขา
ลมแผ่วเบาพัดมาเมื่อยามสาย
สายลมเย็นพัดผ่านให้สบาย
ลมต้องกายสบายใจไร้กังวล

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๒…

…”ความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ” คือพอเพียงและพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น พึงพอใจในอัตภาพของคนเอง ชีวิตที่เหลือคือการทำหน้าที่ของตนไปจนสิ้นอายุขัย ความสุขความสบายใจก็จะเกิดขึ้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะว่าใจมันบอกว่า “พอแล้ว” …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๒…

…คดีทางโลกนั้นมีอายุความ แต่เรื่องของกรรมอายุความนั้นไม่มี ตราบใดที่ยังไม่ได้ชดใช้ซึ่งวิบากกรรมกรรมนั้นย่อมตามติดตัวอยู่เสมอ…

…ชีวิตนี้คล้ายดั่งฟ้าหลังฝน…

…คือแสงเงิน แสงทอง ส่องขอบฟ้า
สกุณา ขับขาน เปิดม่านใหม่
คือภาพความ ทรงจำ ที่ฝังใจ
นิมิตใหม่ วันฟ้าใหม่ ที่ได้มา

…ฟ้าหลังฝน ความมืดมน นั้นสลาย
ฟ้ากลับกลาย เปลี่ยนสี มีเนื้อหา
เหมือนแสงเงิน แสงทอง ส่องทาบทา
ปลุกชีวา ให้ชีวิต นิมิตดี

…ชีวิตใหม่ ก้าวไป ในทางสุข
ห่างจากทุกข์ สุขไป ในวิถี
เข้าใจโลก เข้าใจธรรม ก่อกรรมดี
ชีวิตนี้ ก็มีค่า ขึ้นมากมาย

…ความสำเร็จ ของชีวิต จิตนั้นรู้
มันขึ้นอยู่ ที่พอใจ ในจุดหมาย
เมื่อจิตพอ ใจก็สุข ทุกข์ก็คลาย
ความสบาย อยู่ที่จิต คิดว่า..พอ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕…

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๗

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๗…

…สภาวธรรมทั้งหลายล้วนมีที่มาที่ไปตามเหตุและปัจจัย ที่ทำให้เกิดขึ้นและเมื่อจิตได้พิจารณาจนเห็นที่มาและที่ไป เห็นเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นแล้ว มันก็สิ้นความสงสัยในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย การปรุงแต่งทั้งหลายมันก็จะจางคลายลดน้อยลงไปจนกระทั้งไม่มี เพราะเมื่อสิ้นความสงสัยจิตจะไม่เข้าไปยึดติด ความคิดปรุงแต่งทั้งหลายนั้นมันก็เลยจบ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๙…

…การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขารบางครั้งก็เป็นทุกข์ได้ เพราะว่าเกินความพอดีทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้ เพราะว่าเกินกำลังจึงต้องพยายามควบคุมความคิด ความอยากให้อยู่ในกรอบในกฎเกณฑ์ของความพอดีประคับประคองจิตไว้ให้เป็นกุศลจิตตลอดเวลา ทรงไว้ในอารมณ์ปีติกำหนดสติและสัมปชัญญะ พิจารณาธรรมตามดูตามรู้ตามเห็นในอารมณ์ที่เกิดขึ้นทำความรู้ตัวทั่วพร้อม โปร่ง โล่ง เบาสบาย ดำรงทรงไว้ซึ่งความเป็นกุศลจิตทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความเจริญในธรรม…

…แด่โพชฌงค์ ๗ องค์ปัญญาตรัสรู้และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่เป็นสัมปยุตตธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔…