ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๔…

…อย่าเป็นห่วงพระพุทธศาสนาเลย เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ ปีพระพุทธศาสนาก็ย่อมตั้งอยู่ในโลกนี้ ๕,๐๐๐ ปี ที่ใดมีคนศรัทธาและนับถือ ก็ย่อมเจริญงอกงามในหมู่คนที่นั่น ส่วนที่ใดคนไม่ศรัทธาหรือเคยศรัทธามาแล้ว แต่ละทิ้งหรือกระทำผิดแผกจากหลักของพระศาสนา ก็ย่อมเคลื่อนย้ายจากที่นั่น ไปตั้งอยู่ในที่ที่มีคนศรัทธาและนับถือ

…หลักธรรมคำสอนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากพระพุทธศาสนานั้น เรียกว่า “สัทธรรมปฏิรูป” นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ว่าผู้ใดสร้างและนับถือสัทธรรมปฏิรูปผู้นั้นก็ย่อมเดินออกห่างจากวิถีแห่งพุทธศาสนา ซึ่งผู้ออกห่างวิถีแห่งพุทธศาสนาย่อมมีอยู่แน่นอน

…เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามกฎพระไตรลักษณ์และหลักของความเป็น “ตถตา” เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หลักธรรมของพุทธศาสนานั้นก็ย่อมยังคงอยู่ หาได้เสื่อมไปไม่ คนต่างหากที่เสื่อมจากพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปีแล้ว คนก็จะค่อยๆละทิ้งหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจนไม่มีใครรู้ได้ในที่สุด รอจนกว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่จะมาตรัสรู้ธรรมในกาลข้างหน้าคนจึงจะรู้และเข้าถึงพุทธธรรมอีกครั้ง

…อย่าได้เป็นห่วงพระพุทธศาสนาเลยถ้าท่านนั้นเป็นชาวพุทธ จงห่วงตัวท่านเองเถิด ว่าการประพฤติปฏิบัติของท่านนั้น เป็นการส่งเสริมทรงไว้หรือทำลายพระพุทธศาสนา เพราะว่าคำตรัสของพระพุทธองค์นั้นเป็นหนึ่งเสมอไม่เคยคลาดเคลื่อนเป็นอย่างอื่นไปได้

…“ พระพุทธธรรมนั้นคงอยู่ แต่ผู้คนนั้นเป็นผู้เสื่อม ”…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๑…

…สามสิบกว่าปีแล้วที่ได้เดินทางไปร่วมสร้าง ร่วมบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามตามที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยอมรับว่ามีบ้างที่เหนื่อยล้าทั้งกายและใจแต่ไม่เคยที่จะท้อถอย ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นได้เรียนรู้อะไรมากมายทั้งในสิ่งที่จับต้องได้ อันเป็นรูปธรรมทั้งหลายและในสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่รู้ได้ด้วยใจ อันเป็นนามธรรมทั้งหลาย สิ่งที่ผ่านมานั้นมันคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไป เมื่อสิ่งที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้นั้นมันบรรลุผลตามที่วางไว้ บอกกับตัวเองอยู่เสมอว่า “เราเป็นเพียงสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา ไม่เคยติดยึดในสิ่งที่ได้สร้างทำมา เพียงผ่านมาแล้วก็จากไป เหลือไว้เพียงความทรงจำที่งดงาม”

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๑”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๐…

..ระลึกถึงคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวไว้ “จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัยผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ”

…การเจริญวิปัสสนาคือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือการบำเพ็ญภาวนากุศลการฝึกตนให้มีสติอยู่กับรูปและนามคือความเป็นผู้ไม่ประมาทไม่อยู่ปราศจากสติ ผู้นั้นจึงได้ชื่อว่าปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเป็นมัชฌิมาคือสายกลาง ปฏิบัติถูกต้องตามพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๓…

…ทุกชีวิตนั้นย่อมมีความผิดพลาดมากบ้าง น้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนที่ยังไม่หมดกิเลสสติยังไม่สมบูรณ์เต็มพร้อมทุกขณะจิตความคิดและการกระทำย่อมอาจจะมีพลั้งเผลอ ไปตามกิเลสตัณหาและอุปาทาน แต่เมื่อใดที่มีสติระลึกรู้แล้ว ควรห้ามจิตห้ามใจไม่กระทำในสิ่งนั้นต่อ ความรู้สึกส่วนลึกใต้จิตสำนึกของทุกคนนั้น ต่างก็อยากจะเป็นคนดีของสังคม แต่บางครั้งการมีทัศนคติต่อสังคมในแง่ร้ายของเขานั้นทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปโดยพฤติกรรมทางกายที่เรียกว่าการประชดสังคม อ้างว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขา ทั้งที่ความจริงแล้วสังคมเปิดโอกาสให้เขาอยู่ตลอดเวลาแต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นตัวพิสูจน์เพื่อให้สังคมยอมรับ เพราะความใจร้อนที่อยากจะได้ผลตอบรับโดยเร็วไวจึงทำให้คิดว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขาไม่ยอมรับในความดีที่เขาได้ทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๓”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๘…

…กล่าวบอกแก่ผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เสมอว่าเราต้องค้นหาตัวเองให้ได้ว่า เรานั้นมาปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร ต้องการเพียงความสงบ เพื่อหลบปัญหา หรือว่าปรารถนาซึ่งความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายเพื่อ มรรคผล นิพพาน หรือเพื่อความต้องการที่จะมีอิทธิฤทธิ์ เราต้องถามตนเองให้ได้คำตอบเสียก่อนว่า เพื่ออะไรและเมื่อได้คำตอบให้ตนเองแล้ว จึงมาคิดต่อไปว่าทำอย่างไร ศึกษาหาข้อมูลของการปฏิบัติธรรม ว่าควรทำอย่างไรถามผู้รู้ ดูตำรา แสวงหาครูบาอาจารย์นั้นคือแนวทางต่อไป

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๓…

…การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่เริ่มจากจิต จากความคิดแล้วแสดงออกมาซึ่งทางกายการปฏิบัติธรรมนั้น มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวดเพื่อให้ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชมแต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่ มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในกายในจิตในความคิดและการกระทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๙…

…“อยู่กับปัจจุบัน
ไม่ต้องอาลัยอดีต
ไม่ต้องพะวงอนาคต
ขอแต่ให้ ทำหน้าที่
ของตนอย่างถูกต้อง
ในปัจจุบัน ก็เพียงพอแล้ว”
…คติธรรมคำของหลวงพ่อพุทธทาส…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๒…

…มีผู้ปรารถนาดีหวังดีมาถามอยู่เสมอว่าทำไม่ไม่อยู่อย่างผู้อื่นเขา ไม่เอาอย่างเขาก็ได้ตอบเขาไปว่า เราอยู่กับตัวตนที่แท้จริงของเรา ไม่เคยคิดที่จะสร้างภาพมายาให้คนมากราบไหว้ศรัทธาชื่นชมกล่าวยกย่องสรรเสริญ อยู่กับความเป็นจริงทำในสิ่งที่ควรทำตามความเหมาะสมในขณะนั้น เพราะกระบวนการแห่งการลดละกิเลสตัณหานั้น มันเป็นเรื่องของจิตและคุณธรรมภายในไม่ใช่การแสดงออกทางกาย ขอเพียงเรามีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศลจิตคุ้มครองอยู่ ระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมในสิ่งที่กำลังคิดและในกิจที่กำลังทำ มีองค์แห่งคุณธรรมควบคุมกายจิตอยู่ มีความอดกลั้น อดทนต่อสิ่งยั่วยุทั้งหลายที่เป็นอกุศล ไม่เผลอใจคล้อยตามกิเลสฝ่ายต่ำ พยายามแก้ไขปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๒”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๗

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๗…

…การที่จะวางจิตให้เป็นอุเบกขาได้นั้นมันต้องมาจากฐานแห่งอิทธิบาท ๔ ก่อนเป็นไปตามขั้นตอน คือ เมตตา กรุณามุทิตา แล้วจึงจะเป็นอุเบกขา ไม่เช่นนั้นแล้วมันจะเป็นการทอดทิ้งธุระ ไม่ใส่ใจเพราะเกิดจากจิตที่เป็นอคติ

…เพราะเราเข้าใจในวิสัยของสัตว์โลกที่มีกรรมเป็นของเฉพาะตน จงอย่าได้น้อยใจหรือเสียใจ จากการสงเคราะห์เขาเราทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ก็เพียงพอแล้วถือว่าเป็นการสร้างบารมี ผลจะออกมาอย่างไร มันเป็นเรื่องของวิบากกรรมของแต่ละคน

…เราจงรับเอาแต่ส่วนที่เป็นบุญไม่ไปร่วมในส่วนที่เป็นบาปกรรมของเขา สิ่งที่ได้ทำลงไปแล้วใจเป็นสุขทุกครั้งที่คิดถึง นั้นคือบุญแต่ถ้าทำไปแล้วใจเป็นทุกข์ แสดงว่าการกระทำนั้นยังไม่ถูกต้อง แม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ดีงามก็ตาม

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๒…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะ ทุกชีวิตนั้นกำลังเดินไปสู่ความตาย ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้กระทำมาซึ่งแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้นทุกคนก็ไม่อาจจะหนีความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไป จงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมาว่าเรานั้นได้สร้าง ได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๒”