ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘…

…วันเวลาที่ผ่านไป ดูเหมือนกับไม่ได้ทำอะไร เพราะมิได้แสดงออกทางกายแต่มันเป็นทำงานทางจิต ที่ไร้รูปแบบทางกาย จึงดูคล้ายเหมือนไม่ได้ทำอะไร

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘…

…ผู้ที่จะเป็นนักปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทขาดสติที่เป็นสัมมาสติ คือการระลึกรู้ในสิ่งที่ดี เพราะว่าความประมาทที่ขาดสัมมาสตินั้น จะทำให้นักปฏิบัติเห็นผิดไปจากความเป็นจริง คือมีสติ แต่เป็นมิจฉาสติคือการระลึกรู้ในสิ่งที่ผิดที่ชั่วความไม่ประมาทนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอยู่ ๔ ประการคือ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓…

…เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้นเราจะรู้สึกว่าเวลานั้นแสนสั้นเหลือเกินเพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันธ์ยึดถืออยู่กับสิ่งนั้น ไม่อยากจะให้มันผ่านพ้นไปในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้นเรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่กำลังมีและกำลังเป็น อยากจะให้มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็ว เราก็จะรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้าเหลือเกิน เพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธในสิ่งที่กำลังเป็นไปมันจึงรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้ามาก

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเปรียบได้กับการแสวงหา ยกตัวอย่างให้เห็นได้ดังนี้ว่า เหมือนเราแสวงหาของที่เรายังไม่มี เราอยากจะได้สิ่งของสิ่งนี้เราต้องมีความพยายามหาเหตุหาปัจจัย เพื่อที่จะได้มา สะสมเงินทองเพื่อให้พอที่จะซื้อหาหรือพยายามกระทำ สร้างมันขึ้นมาจนมันสำเร็จตามความปรารถนาได้สิ่งที่ต้องการมาและเราต้องเก็บรักษาสิ่งของสิ่งนั้น ทำความรู้จักกับมันใช้งานมันจนชำนาญแคล่วคล่องคุ้นเคยเก็บรักษามันไว้ในที่อันสมควร เมื่อถึงเวลาก็หยิบขึ้นมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องถืออวดอยู่ตลอดเวลา เก็บรักษาไว้ในที่อันเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗…

…ขบวนการทางจิตมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ทุกขั้นตอนของการพัฒนาทางจิต ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ ตามลำดับชั้นและขั้นตอนเพื่อเป็นการสร้างความเคยชินตัวใหม่ให้แก่จิตของเรา ซึ่งกว่าจะกลายเป็นความเคยชินได้นั้น มันต้องใช้ระยะเวลาของการสั่งสมอบรมจิต ด้วยการฝึกคิดและฝึกทำอย่างสม่ำเสมอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒…

…“สีเส ปะติฏฐายะ นะโร สะปัญโญ จิตตัง ปัญญัญจะ อาตาปี นิปะโก ภิกขุ โส อิมัง วิชะฏะ เยชะฏันติ” …

…บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล ทำสมาธิให้เกิดยังวิปัสสนาปัญญาให้เกิด บุคคลนั้นก็จะสางซึ่งความยุ่งเหยิง ความสับสนในโลกนี้ได้…

…รู้จริง เห็นจริง แต่สิ่งที่รู้ที่เห็นอาจจะไม่จริง อย่ารีบเชื่อทันที ในสิ่งที่รู้ที่เห็นเพราะอาจจะเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความงมงายอย่าปฏิเสธในทันที จะทำให้เสียโอกาสจงพิจารณาเข้าหาหลักธรรม ว่าถูกต้องสอดคล้องกับหลักธรรมหรือไม่แล้วจึงเชื่อหรือปฏิเสธ…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖…

…ทุกวันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้นมันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิตสอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้นขอเพียงให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการดำเนินชีวิต ที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดีสร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรมการเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖…

…มีผู้คนจำนวนมากที่ปฏิบัติธรรมโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังปฏิบัติธรรมอยู่ เพราะว่าเขาเหล่านั้น ไม่ได้ไปยึดติดหรือสนใจในรูปแบบและความหมาย เพียงแต่ดำเนินชีวิตไปอย่างมีสติในการคิดและการทำงาน มีสมาธิเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวเป็นสมาธิตามธรรมชาติที่ทุกคนนั้นมีอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑…

…เส้นทางแห่งชีวิต เราลิขิตและเลือกเดินเองได้ อยู่ที่เรานั้นกล้าที่จะตัดสินใจลงมือทำหรือไม่เท่านั้นเอง…

๐ สายธาร แห่งศรัทธา
น้อมนำมา สรรพสิ่ง
สัจจะ คือของจริง
แห่งพุทธะ พระสัมมา

๐ เอาธรรม มานำกล่าว
บอกเรื่องราว ที่ค้นหา
บอกผ่าน กาลเวลา
ตามโอกาส ที่พึงมี

๐ สายธาร แห่งสายธรรม
เสนอนำ สู่ความดี
เส้นทาง ที่บ่งชี้
สู่สันติ สงบเย็น

๐ ทบทวน ใคร่ครวญคิด
เพ่งพินิจ เมื่อพบเห็น
สิ่งที่ ควรจะเป็น
ความเหมาะสม และพอเพียง

๐ วางจิต ให้เป็นกลาง
มองทุกอย่าง ไม่ลำเอียง
สิ่งชั่ว ควรหลีกเลี่ยง
ยับยั้งจิต ไม่คิดทำ

๐ เตือนตน ด้วยสติ
สมาธิ ช่วยชี้นำ
ก่อเกิด กุศลกรรม
ด้วยสติ และปัญญา

๐ รู้ควร และรู้ชอบ
อยู่ในกรอบ แห่งสัมมา
สร้างเสริม พัฒนา
กุศลกรรม ทำสิ่งดี

๐ สิ่งดี ของชีวิต
เป็นนิมิต จะนำชี้
ปลายทาง ของชีวี
สุคติ คือที่ไป…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๙ ธันวาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕…

…”ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นตามความเป็นจริง”

…”สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต
ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ”…
…พุทธสุภาษิต สมาธิสูตร ๑๙/๔๗๐…

…สมาธิในระบบของพระพุทธศาสนานั้นต้องเริ่มมาจากจิตที่เป็นกุศลและเป็นไปเพื่อความจางคลายของกิเลส ตัณหา อัตตาทิฐิมานะและอุปาทานทั้งหลาย

…ส่วนสมาธินอกระบบนั้นเป็นไปเพื่อการมีการได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา เป็นการเพิ่มซึ่งกิเลสตัณหา ทิฐิมานะ อัตตาและอุปาทานให้มีมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายฝึกสมาธิเพื่ออยากจะมี อยากจะได้ไปในสมาธิเชิงพลังงาน ต้องการซึ่งการมีพลังจิต ต้องการแสดงซึ่งฤทธิ์กันเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในเนื้อหาและความหมายของการปฏิบัติธรรมในระบบของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่มาของความขัดแย้งในข้อธรรมทั้งหลายดั่งที่เห็นและเป็นอยู่…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕”