ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕…

…อดีตที่ผ่านมานั้น ถ้าเรารู้จักการเรียนรู้วิเคราะห์และศึกษา นำอดีตเหล่านั้นมาเป็นบทเรียน สรุปความเป็นไปในชีวิตที่ผ่านมา เก็บเอาข้อดีของชีวิต มาคิดสานต่อและลดละข้อเสียทั้งหลายไปแก้ไขชีวิตของตนใหม่ กำหนดทิศทางไปของชีวิตไปตามที่จิตนั้นปรารถนามีความเชื่อมั่นและศรัทธาในบุญกุศลที่ตนได้กระทำมา เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชีวิต ด้วยการคิดต่อโลกในเชิงบวก คือการมองโลกที่พบเห็นในแง่ดี ชีวิตนี้ก็จะดำเนินไปในทิศทางที่ดี มีความสุขกาย สบายใจ ชีวิตที่ดำเนินต่อไปนั้น เมื่อไม่มีความกดดันทุกอย่างนั้นย่อมพบกับความโปร่งโล่งเบาและสบาย มุมมองทั้งหลายก็จะเปิดกว้างยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐…

…หลากหลายบทบาทและลีลาของชีวิตสมณะ แต่ก็เป็นไปโดยชอบอันประกอบด้วยจิตที่เป็นกุศลไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยส่วนใครจะมองอย่างไรนั้น มันเป็นเรื่องของปัจเจก ขอให้เรารู้ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำของเราว่าถูกต้องดีงามหรือไม่ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔…

…ลมหายใจแห่งสายธรรม…

…ในการทำงานแต่ละอย่างนั้น เราต้องปลุกจิตปลุกใจให้มีฉันทะคือความพึงพอใจในงานนั้นมีความปีติยินดีในสิ่งที่กระทำมีสติอยู่ทุกขณะจิตในขณะที่ทำงานนั้นๆ งานที่ทำนั้นก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตามหลักธรรมของอิทธิบาท ๔ คือต้องมี ฉันทะวิริยะ จิตตะ วิมังสา งานนั้นจึงจะก้าวหน้าและนำไปสู่ความสำเร็จการที่จะทำให้จิตเจริญอยู่ในอิทธิบาท ๔ ได้นั้น เกิดได้จากการใช้สติพิจารณา ให้เห็นถึงคุณถึงโทษ ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ในสิ่งที่จะกระทำ คิดถึงประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านที่จะได้รับถ้าสิ่งที่กระทำนั้นสำเร็จผลแล้วจิตจะเกิดศรัทธามีกำลังใจที่จะกระทำในสิ่งนั้น ความปีติยินดีที่ได้กระทำก็จะเกิดขึ้น มีความเพลิดเพลินในการกระทำ จิตในขณะที่กระทำก็จะเป็นกุศลจิตเพราะมีอารมณ์ธรรมแห่งพรหมวิหารคุ้มครองอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๔…

…เรื่องของจิต ไม่ต้องไปคิดให้วุ่นวายใจ ขอเพียงให้เรามีสติ ไม่ให้เผลอ จะทำกิจอันใดให้ใจมันรู้ทัน ไม่ใช่ทำไปด้วยความหลง ความไม่รู้ เพราะเมื่อขาดสติไม่รู้และหลง ทุกอย่างจึงเป็นการปรุงแต่ง…

…ชีวิต ของทุก คนนั้น
จัดสรร ตามเหตุ และผล
ชีวิต ของทุก ทุกคน
ไม่พ้น จากทุกข์ ทั่วกัน

…ความทุกข์ เกิดจาก ตัณหา
เพราะว่า ความอยาก ทั้งนั้น
อยากมี อยากได้ ให้มัน
ใจนั้น อยากให้ มันเป็น

…เป็นไป ตามใจ ที่คิด
ยึดติด ในความ คิดเห็น
อยากมี อยากได้ อยากเป็น
รู้เห็น เพียงแต่ ฝ่ายตน

…ไม่ยอม แบ่งปัน สละ
ลดละ ตามเหตุ และผล
ยึดถือ ประโยชน์ ส่วนตน
หวังผล กำไร ฝ่ายตัว

…เมื่อผล ไม่เป็น ดั่งคิด
มันผิด แตกต่าง กันทั่ว
โมหะ ความหลง เมามัว
ก่อตัว เป็นทุกข์ ในใจ

…ทุกข์เพราะ เข้าไป ยึดถือ
นั้นคือ สิ่งควร แก้ไข
ลดละ ปล่อยวาง ลงไป
ทำใจ ยอมรับ ความจริง

…ทุกอย่าง ย่อมมี เกิดดับ
สลับ กันไป ไม่นิ่ง
เรียนรู้ ยอมรับ ความจริง
ทุกสิ่ง มีเหตุ ปัจจัย

…อย่าไป โทษดิน โทษฟ้า
ควรหา แนวทาง แก้ไข
ทุกอย่าง ที่ดำ เนินไป
อยู่ใต้ กำหนด กฎกรรม

…มีเหตุ และผล รองรับ
เกิดดับ กันอยู่ ซ้ำซ้ำ
เกิดการ ย้ำคิด ย้ำทำ
คือกรรม ที่ส่ง ผลมา

…กรรมนั้น ย่อมเกิด จากเหตุ
สังเกต วิเคราะห์ ศึกษา
ให้เห็น ที่ไป ที่มา
ปัญหา แก้ไข ได้จริง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๗ ตุลาคม ๒๕๖๕…

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๙

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๙…

…มีผัสสะ มากมาย กระทบจิต
ทำให้คิด วุ่นวาย และสับสน
จิตเป็นทุกข์ เพราะใจ ไปกังวล
คือเหตุผล เมื่อใจ ได้ไตร่ตรอง

…เมื่อใจทุกข์ จึงมอง ประคองจิต
ดูความคิด ดูจิต ที่เศร้าหมอง
ได้พินิจ ใคร่ครวญ และตริตรอง
และเฝ้ามอง ให้เห็น ความเป็นจริง

…สรรพสิ่ง ล้วนตั้ง อยู่ในหลัก
พระไตรลักษณ์ คือหลัก สรรพสิ่ง
พระไตรลักษณ์ คือหลัก แห่งความจริง
สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน

…มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เป็นคำสอน
อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน
ทุกข์ร้าวรอน เพราะใจ ไปยึดมัน

…ไม่ยอมลด ยอมละ ซึ่งความอยาก
ต้องการมาก ยึดติด ไม่แปรผัน
ไม่อยากสูญ ไม่อยากเสีย อยากได้มัน
ทุกสิ่งนั้น ล้วนเป็น อนัตตา

…นี่เป็นกฎ ธรรมชาติ พระไตรลักษณ์
นี่คือหลัก ของพุทธะ ศาสนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ใช้ปัญญา มองให้เห็น ความเป็นจริง

…เข้าใจโลก ก็เห็นธรรม เมื่อนำคิด
ทำให้จิต นั้นสงบ และหยุดนิ่ง
เพราะได้รู้ ได้เห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง มันเป็น เช่นนั้นเอง….

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๗ ธันวาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๓…

…ธรรมะนั้นมีอยู่ทุกที่และทุกเวลาเกิดขึ้นอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาย่อมน้อมเข้ามาสู่ตนเอง คือน้อมเข้ามาพิจารณาในตัวเอง เมื่อพิจารณามากเข้า ก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัตตัง คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ทำเองเห็นเองและรู้เองในสิ่งที่ทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓…

…”ภิกษุจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลอันดี จงมีความดำริตั้งมั่นตามรักษาจิตของตนเถิด”

“อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ
ภิกฺขโว สุสมาหิตสงฺกปฺปา
สจิตฺตมนุรกฺขถ”
…พุทธสุภาษิต มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๒๐…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๘

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๘…

…กวีธรรมส่องนำทาง…

…กวีธรรม นำทาง สร้างชีวิต
กวีธรรม นำจิต นิมิตใหม่
กวีธรรม ส่องนำ กายและใจ
กวีธรรม ทำให้ ใจร่มเย็น…

…กวีธรรม ทำให้ ใจนึกคิด
กวีธรรม ชี้ให้จิต นั้นได้เห็น
กวีธรรม สอนจิต คิดให้เป็น
กวีธรรม ที่ได้เห็น. นั้นส่องทาง

…กวีธรรม นำเรื่องราว มาเล่าสู่
กวีธรรม บอกให้รู้ ถึงแบบอย่าง
กวีธรรม นั้นเตือนใจ ให้ละวาง
กวีธรรม คือแบบอย่าง เส้นทางธรรม

…กวีธรรม นั้นกลั่น มาจากจิต
กวีธรรม คือนิมิต ที่ลึกล้ำ
กวีธรรม ลบล้าง ความมืดดำ
กวีธรรม ชี้นำ ให้ก้าวเดิน…

…กวีธรรม น้อมนำ ให้นึกคิด
กวีธรรม เหมือนมิตร ไม่เก้อเขิน
กวีธรรม ทำให้ ใจเพลิดเพลิน
กวีธรรม ดำเนิน อยู่เรื่อยไป

…กวีธรรม นั้นอยู่ คู่กับโลก
กวีธรรม อำนวยโชค ให้สดใส
กวีธรรม น้อมนำ ซึ่งจิตใจ
กวีธรรม ทำให้ ใจถึงธรรม…

…กวีธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก
กวีธรรม คือที่พัก ผู้บอบช้ำ
กวีธรรม ปลอบใจ ผู้มีกรรม
กวีธรรม ชี้นำ ผู้ทุกข์ทน…

…กวีธรรม ชี้ทาง สว่างจิต
กวีธรรม ช่วยชีวิต ให้หลุดพ้น
กวีธรรม มอบให้ แด่ทุกคน
กวีธรรม สร้างกุศล ธรรมทาน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๖ ธันวาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๒…

…การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ได้ทำให้เราฉลาดขึ้นกว่าคนอื่น แต่ทำให้เราได้เห็นความโง่ ความหลงผิดในอดีตของเราที่ผ่านมา ยิ่งปฏิบัติก็ทำให้เราได้เห็นในสิ่งที่เรานั้นยังไม่รู้ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจซึ่งที่ผ่านมานั้น เราอาจจะคิดว่าเรารู้ถูกต้องและเข้าใจหมดแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย เรายังไม่รู้จริง เรายังไม่เข้าใจในความจริง อย่างที่เราเคยคิด ยังมีอีกมากมายที่เรายังไม่รู้และไม่เข้าใจ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒…

…”ภิกษุทั้งหลาย! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นถึงเพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียงเพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเรา ก็หามิได้ แต่ที่จริงแล้ว เพื่อความสังวรระวัง เพื่อละกิเลส เพื่อคลายกิเลสและเพื่อดับกิเลสเท่านั้น”…

…” นยิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนุติ “…
…พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒”