ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐…

…ดั่งที่เคยได้กล่าวไว้เสมอว่าธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ คู่โลกกันมา เพียงแต่ถ่ายทอดธรรม การใช้ภาษานั้นอาจจะแตกต่างกันบ้างในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน คือการสร้างสรรค์ให้โลกใบนี้นั้นสงบและร่มเย็น ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะและอัตตาตัณหาและอุปทาน

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐

… ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐ …

…วิถีทางและวิถีธรรม…

…เมื่อมีการกระทำ ย่อมมีผลของการกระทำ ซึ่งผลของการกระทำนั้นจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่ บุคคลและเจตนาแห่งการกระทำนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผล ซึ่งแต่ละคนย่อมมีเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกันทำให้ความรู้ ความเห็นและความเข้าใจนั้นแตกต่างกันไปตามเหตุและปัจจัย ไม่มีใครคิดเห็นถูกไปเสียทั้งหมดและไม่มีใครผิดไปทั้งหมดเพราะว่าความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นเป็นปัจเจก จึงไม่มีอะไรดีที่สุดและอะไรถูกต้องที่สุด มันมีเพียงความเหมาะสมกับจังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕…

…ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นเกิดจากวัยวุฒิ คุณวุฒิ พื้นฐานของครอบครัว สังคมรอบข้างและอารมณ์ความรู้สึกของเขาในขณะนั้น ถ้าเราเข้าใจในเรื่อง “จิตวิทยาของมนุษย์” เราก็จะเข้าใจในเหตุผลของแต่ละคนที่แตกต่างกันและสิ่งนั้นจะไม่สร้างความแตกแยก จากความเห็นที่แตกต่าง แต่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปสู่ความเจริญก้าวหน้าเพราะว่าเราจะได้มุมมองใหม่ๆในความเห็นที่แตกต่างกัน มันจะเกิดการพัฒนาทางความคิดขึ้นต่อไป…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙…

…”ไม่ควรใส่ใจคำพูดแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำควรตั้งใจตรวจตราธุระของตนนี่แหละทั้งที่ทำไปแล้วและยังไม่ได้ทำ”

“น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ”…
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๑๙…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙…

…ออกพรรษามาแล้วได้สองวันพิจารณาทบทวนในสิ่งที่ผ่านมาคุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไปสอนให้เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ควบคุมความรู้สึกต่ออารมณ์กระทบทั้งหลายได้เร็วขึ้นมีสติและสัมปชัญญะมากกว่าอดีตที่ผ่านมา กาลเวลาสอนให้ระลึกนึกคิดรู้ถูกผิด ผิดชอบชั่วดี มีการเจริญเมตตาจิตเพิ่มขึ้น จากการที่อยู่กับธรรมชาติและสรรพสัตว์รอบกายดำเนินชีวิตไปตามบทบาทและหน้าที่ด้วยการมีสติและสัมปชัญะควบคุมอยู่การหมั่นฝึกคิดพิจารณาทุกอย่างให้เป็นธรรมะนั้น ช่วยให้ละวางได้อย่างมาก โดยการฝึกคิดพิจารณาเข้าหากฎของพระไตรลักษณ์เห็นถึงความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งทั้งหลายรอบกาย ความแปรเปลี่ยนไปไม่เที่ยงแท้ ยึดถือไม่ได้และรู้ถึงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อจิตเข้าไปยึดถือก็ทำให้เกิดทุกข์ จิตก็ปล่อยวางทุกอย่างเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๔

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๔…

…อย่าเอาชีวิตไปยึดติดกับผู้ใดขอให้ศรัทธาในธรรมะที่เขากล่าวให้มากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมแล้วท่านจะไม่เสียใจเมื่อผู้กล่าวธรรมนั้นแปรเปลี่ยนไปจงให้ความสำคัญในธรรมของพระพุทธองค์ที่มีผู้นำมากล่าวมากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมจงเอาที่ธรรมะ อย่าไปเอาที่พฤติกรรม แล้วจะทำให้ท่านไม่เสียใจ เสียความรู้สึกเมื่อผู้ที่กล่าวธรรมนั้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘…

…วันเวลาที่ผ่านไป ดูเหมือนกับไม่ได้ทำอะไร เพราะมิได้แสดงออกทางกายแต่มันเป็นทำงานทางจิต ที่ไร้รูปแบบทางกาย จึงดูคล้ายเหมือนไม่ได้ทำอะไร

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘…

…ผู้ที่จะเป็นนักปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทขาดสติที่เป็นสัมมาสติ คือการระลึกรู้ในสิ่งที่ดี เพราะว่าความประมาทที่ขาดสัมมาสตินั้น จะทำให้นักปฏิบัติเห็นผิดไปจากความเป็นจริง คือมีสติ แต่เป็นมิจฉาสติคือการระลึกรู้ในสิ่งที่ผิดที่ชั่วความไม่ประมาทนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอยู่ ๔ ประการคือ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓…

…เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้นเราจะรู้สึกว่าเวลานั้นแสนสั้นเหลือเกินเพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันธ์ยึดถืออยู่กับสิ่งนั้น ไม่อยากจะให้มันผ่านพ้นไปในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้นเรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่กำลังมีและกำลังเป็น อยากจะให้มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็ว เราก็จะรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้าเหลือเกิน เพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธในสิ่งที่กำลังเป็นไปมันจึงรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้ามาก

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเปรียบได้กับการแสวงหา ยกตัวอย่างให้เห็นได้ดังนี้ว่า เหมือนเราแสวงหาของที่เรายังไม่มี เราอยากจะได้สิ่งของสิ่งนี้เราต้องมีความพยายามหาเหตุหาปัจจัย เพื่อที่จะได้มา สะสมเงินทองเพื่อให้พอที่จะซื้อหาหรือพยายามกระทำ สร้างมันขึ้นมาจนมันสำเร็จตามความปรารถนาได้สิ่งที่ต้องการมาและเราต้องเก็บรักษาสิ่งของสิ่งนั้น ทำความรู้จักกับมันใช้งานมันจนชำนาญแคล่วคล่องคุ้นเคยเก็บรักษามันไว้ในที่อันสมควร เมื่อถึงเวลาก็หยิบขึ้นมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องถืออวดอยู่ตลอดเวลา เก็บรักษาไว้ในที่อันเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗”