ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗…

…ขบวนการทางจิตมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ทุกขั้นตอนของการพัฒนาทางจิต ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ ตามลำดับชั้นและขั้นตอนเพื่อเป็นการสร้างความเคยชินตัวใหม่ให้แก่จิตของเรา ซึ่งกว่าจะกลายเป็นความเคยชินได้นั้น มันต้องใช้ระยะเวลาของการสั่งสมอบรมจิต ด้วยการฝึกคิดและฝึกทำอย่างสม่ำเสมอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒…

…“สีเส ปะติฏฐายะ นะโร สะปัญโญ จิตตัง ปัญญัญจะ อาตาปี นิปะโก ภิกขุ โส อิมัง วิชะฏะ เยชะฏันติ” …

…บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล ทำสมาธิให้เกิดยังวิปัสสนาปัญญาให้เกิด บุคคลนั้นก็จะสางซึ่งความยุ่งเหยิง ความสับสนในโลกนี้ได้…

…รู้จริง เห็นจริง แต่สิ่งที่รู้ที่เห็นอาจจะไม่จริง อย่ารีบเชื่อทันที ในสิ่งที่รู้ที่เห็นเพราะอาจจะเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความงมงายอย่าปฏิเสธในทันที จะทำให้เสียโอกาสจงพิจารณาเข้าหาหลักธรรม ว่าถูกต้องสอดคล้องกับหลักธรรมหรือไม่แล้วจึงเชื่อหรือปฏิเสธ…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖…

…ทุกวันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้นมันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิตสอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้นขอเพียงให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการดำเนินชีวิต ที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดีสร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรมการเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖…

…มีผู้คนจำนวนมากที่ปฏิบัติธรรมโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังปฏิบัติธรรมอยู่ เพราะว่าเขาเหล่านั้น ไม่ได้ไปยึดติดหรือสนใจในรูปแบบและความหมาย เพียงแต่ดำเนินชีวิตไปอย่างมีสติในการคิดและการทำงาน มีสมาธิเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวเป็นสมาธิตามธรรมชาติที่ทุกคนนั้นมีอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑…

…เส้นทางแห่งชีวิต เราลิขิตและเลือกเดินเองได้ อยู่ที่เรานั้นกล้าที่จะตัดสินใจลงมือทำหรือไม่เท่านั้นเอง…

๐ สายธาร แห่งศรัทธา
น้อมนำมา สรรพสิ่ง
สัจจะ คือของจริง
แห่งพุทธะ พระสัมมา

๐ เอาธรรม มานำกล่าว
บอกเรื่องราว ที่ค้นหา
บอกผ่าน กาลเวลา
ตามโอกาส ที่พึงมี

๐ สายธาร แห่งสายธรรม
เสนอนำ สู่ความดี
เส้นทาง ที่บ่งชี้
สู่สันติ สงบเย็น

๐ ทบทวน ใคร่ครวญคิด
เพ่งพินิจ เมื่อพบเห็น
สิ่งที่ ควรจะเป็น
ความเหมาะสม และพอเพียง

๐ วางจิต ให้เป็นกลาง
มองทุกอย่าง ไม่ลำเอียง
สิ่งชั่ว ควรหลีกเลี่ยง
ยับยั้งจิต ไม่คิดทำ

๐ เตือนตน ด้วยสติ
สมาธิ ช่วยชี้นำ
ก่อเกิด กุศลกรรม
ด้วยสติ และปัญญา

๐ รู้ควร และรู้ชอบ
อยู่ในกรอบ แห่งสัมมา
สร้างเสริม พัฒนา
กุศลกรรม ทำสิ่งดี

๐ สิ่งดี ของชีวิต
เป็นนิมิต จะนำชี้
ปลายทาง ของชีวี
สุคติ คือที่ไป…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๙ ธันวาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕…

…”ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นตามความเป็นจริง”

…”สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต
ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ”…
…พุทธสุภาษิต สมาธิสูตร ๑๙/๔๗๐…

…สมาธิในระบบของพระพุทธศาสนานั้นต้องเริ่มมาจากจิตที่เป็นกุศลและเป็นไปเพื่อความจางคลายของกิเลส ตัณหา อัตตาทิฐิมานะและอุปาทานทั้งหลาย

…ส่วนสมาธินอกระบบนั้นเป็นไปเพื่อการมีการได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา เป็นการเพิ่มซึ่งกิเลสตัณหา ทิฐิมานะ อัตตาและอุปาทานให้มีมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายฝึกสมาธิเพื่ออยากจะมี อยากจะได้ไปในสมาธิเชิงพลังงาน ต้องการซึ่งการมีพลังจิต ต้องการแสดงซึ่งฤทธิ์กันเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในเนื้อหาและความหมายของการปฏิบัติธรรมในระบบของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่มาของความขัดแย้งในข้อธรรมทั้งหลายดั่งที่เห็นและเป็นอยู่…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕…

…อดีตที่ผ่านมานั้น ถ้าเรารู้จักการเรียนรู้วิเคราะห์และศึกษา นำอดีตเหล่านั้นมาเป็นบทเรียน สรุปความเป็นไปในชีวิตที่ผ่านมา เก็บเอาข้อดีของชีวิต มาคิดสานต่อและลดละข้อเสียทั้งหลายไปแก้ไขชีวิตของตนใหม่ กำหนดทิศทางไปของชีวิตไปตามที่จิตนั้นปรารถนามีความเชื่อมั่นและศรัทธาในบุญกุศลที่ตนได้กระทำมา เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชีวิต ด้วยการคิดต่อโลกในเชิงบวก คือการมองโลกที่พบเห็นในแง่ดี ชีวิตนี้ก็จะดำเนินไปในทิศทางที่ดี มีความสุขกาย สบายใจ ชีวิตที่ดำเนินต่อไปนั้น เมื่อไม่มีความกดดันทุกอย่างนั้นย่อมพบกับความโปร่งโล่งเบาและสบาย มุมมองทั้งหลายก็จะเปิดกว้างยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐…

…หลากหลายบทบาทและลีลาของชีวิตสมณะ แต่ก็เป็นไปโดยชอบอันประกอบด้วยจิตที่เป็นกุศลไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยส่วนใครจะมองอย่างไรนั้น มันเป็นเรื่องของปัจเจก ขอให้เรารู้ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำของเราว่าถูกต้องดีงามหรือไม่ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔…

…ลมหายใจแห่งสายธรรม…

…ในการทำงานแต่ละอย่างนั้น เราต้องปลุกจิตปลุกใจให้มีฉันทะคือความพึงพอใจในงานนั้นมีความปีติยินดีในสิ่งที่กระทำมีสติอยู่ทุกขณะจิตในขณะที่ทำงานนั้นๆ งานที่ทำนั้นก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตามหลักธรรมของอิทธิบาท ๔ คือต้องมี ฉันทะวิริยะ จิตตะ วิมังสา งานนั้นจึงจะก้าวหน้าและนำไปสู่ความสำเร็จการที่จะทำให้จิตเจริญอยู่ในอิทธิบาท ๔ ได้นั้น เกิดได้จากการใช้สติพิจารณา ให้เห็นถึงคุณถึงโทษ ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ในสิ่งที่จะกระทำ คิดถึงประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านที่จะได้รับถ้าสิ่งที่กระทำนั้นสำเร็จผลแล้วจิตจะเกิดศรัทธามีกำลังใจที่จะกระทำในสิ่งนั้น ความปีติยินดีที่ได้กระทำก็จะเกิดขึ้น มีความเพลิดเพลินในการกระทำ จิตในขณะที่กระทำก็จะเป็นกุศลจิตเพราะมีอารมณ์ธรรมแห่งพรหมวิหารคุ้มครองอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๔…

…เรื่องของจิต ไม่ต้องไปคิดให้วุ่นวายใจ ขอเพียงให้เรามีสติ ไม่ให้เผลอ จะทำกิจอันใดให้ใจมันรู้ทัน ไม่ใช่ทำไปด้วยความหลง ความไม่รู้ เพราะเมื่อขาดสติไม่รู้และหลง ทุกอย่างจึงเป็นการปรุงแต่ง…

…ชีวิต ของทุก คนนั้น
จัดสรร ตามเหตุ และผล
ชีวิต ของทุก ทุกคน
ไม่พ้น จากทุกข์ ทั่วกัน

…ความทุกข์ เกิดจาก ตัณหา
เพราะว่า ความอยาก ทั้งนั้น
อยากมี อยากได้ ให้มัน
ใจนั้น อยากให้ มันเป็น

…เป็นไป ตามใจ ที่คิด
ยึดติด ในความ คิดเห็น
อยากมี อยากได้ อยากเป็น
รู้เห็น เพียงแต่ ฝ่ายตน

…ไม่ยอม แบ่งปัน สละ
ลดละ ตามเหตุ และผล
ยึดถือ ประโยชน์ ส่วนตน
หวังผล กำไร ฝ่ายตัว

…เมื่อผล ไม่เป็น ดั่งคิด
มันผิด แตกต่าง กันทั่ว
โมหะ ความหลง เมามัว
ก่อตัว เป็นทุกข์ ในใจ

…ทุกข์เพราะ เข้าไป ยึดถือ
นั้นคือ สิ่งควร แก้ไข
ลดละ ปล่อยวาง ลงไป
ทำใจ ยอมรับ ความจริง

…ทุกอย่าง ย่อมมี เกิดดับ
สลับ กันไป ไม่นิ่ง
เรียนรู้ ยอมรับ ความจริง
ทุกสิ่ง มีเหตุ ปัจจัย

…อย่าไป โทษดิน โทษฟ้า
ควรหา แนวทาง แก้ไข
ทุกอย่าง ที่ดำ เนินไป
อยู่ใต้ กำหนด กฎกรรม

…มีเหตุ และผล รองรับ
เกิดดับ กันอยู่ ซ้ำซ้ำ
เกิดการ ย้ำคิด ย้ำทำ
คือกรรม ที่ส่ง ผลมา

…กรรมนั้น ย่อมเกิด จากเหตุ
สังเกต วิเคราะห์ ศึกษา
ให้เห็น ที่ไป ที่มา
ปัญหา แก้ไข ได้จริง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๗ ตุลาคม ๒๕๖๕…