บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๘…

๐ จงทำงาน ทุกชนิด ด้วยจิตว่าง
คือละวาง อัตตา และทิฐิ
เพื่อวางแผน ก่อนงาน การเริ่มริ
ด้วยการตริ การตรอง มองดูงาน

๐ การทำงาน ต้องประสาน สรรพสิ่ง
ให้เป็นจริง ไปได้ ทุกสถาน
ให้เหมาะสม กับปัจจัย และเหตุการณ์
การทำงาน คือการ ประพฤติธรรม

๐ คือการเอา หลักธรรม นำความคิด
และฝึกจิต ฝึกใจ ไม่ใฝ่ต่ำ
จงอย่าให้ อัตตา เข้าครอบงำ
จงน้อมนำ เอาธรรม เป็นแนวทาง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๔…

…คติธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต….
คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ…..

…”การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๓…

…หลายคนอาจจะมองว่าชีวิตช่างวุ่นวายทำไปทำไมมากมาย ควรจะอยู่นิ่ง ๆ ทำกิจของสงฆ์ไป ไม่ต้องมาวุ่นวายกับเรื่องของทางโลก ก็เลยย้อนถามกลับไปว่า อะไรคือโลก อะไรคือธรรม ธรรมนั้นอยู่ที่ไหน ธรรมนั้นใครคือผู้ใช้ผู้ปฏิบัติธรรม โลกและธรรมคือของคู่กัน อาศัยซึ่งกันและกัน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๘…

…เมื่อไหร่ที่เราคิดว่า การปฏิบัติธรรมนั้นทำให้เราฉลาดขึ้น ทำให้เราบริสุทธิ์ขึ้น ขณะนั้นเรากำลังหลงทาง หลงตัวเอง เพราะมันกำลังก่อเกิดอัตตา มานะทิฏฐิ การถือตัวถือตน โดยเราไม่รู้ตัวขึ้นมาทุกขณะนานวันไปมันจะมีมากขึ้น ยากที่จะแก้ไขได้…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๗

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๗…

…ความเป็นผู้รู้ประมาณในกาลเวลา…

“การแสดงความคิดเห็นนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสมพอดีพอเหมาะและพอควร มากเกินไปมันจะกลายเป็นความฟุ้งซ่านไร้สาระน่าเบื่อหน่ายต่อผู้รับ ทำให้ความคิดเห็นต่อ ๆ ไปกลายเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่อาจจะเป็นความคิดเห็นที่ดี ๆ สิ่งนั้นคือเรื่องของกาลเทศะ การรู้จัก จังหวะเวลา โอกาส สถานที่และบุคคลที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจในการแสดงความคิดเห็นและการสนทนากับผู้อื่น”

…เป็นคำพูดที่ได้กล่าวแก่ผู้มาปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ถึงเรื่องที่ควรระวังในการแลเปลี่ยนความคิดเห็นพูดคุย เพื่อนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจและการตอบรับของผู้ฟัง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๓…

…หลักธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้นจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่ไม่มีการขัดแย้งกัน สงเคราะห์อนุเคราะห์เกื้อกูลรองรับซึ่งกันและกัน เราไม่อาจจะไปปรับหลักทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ให้มาตรงกับความคิดเห็นของเรานั้นได้แต่เราสามารถที่จะย้ายจุดยืนของเรานั้นให้ไปตรงกับหลักที่วางไว้ตั้งไว้ได้

…เพียงเราปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองของเราเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับหลักธรรม เพียงคุณเปลี่ยนความคิดชีวิตคุณก็จะเปลี่ยน

…น้อมจิตเข้ามาพิจารณาตัวของเราเองให้เห็นกาย เห็นจิต เห็นความคิด เห็นการกระทำ โดยการมีสติและสัมปชัญญะที่เป็นสัมมาทั้งหลายคุ้มครองกายจิตอยู่วางจิตให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้างความคิดเห็นของตนเอง แล้วดวงตาเห็นธรรมก็จะเกิดขึ้นแก่ตัวคุณ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๒…

…การที่เราอยู่ร่วมกับหมู่คณะในสังคมนั้นเราต้องทำความรู้ ความเข้าใจกับสถานที่และตัวบุคคลในที่นั้นๆ เพราะว่าคนแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยธาตุและอินทรีย์ จึงทำให้มีความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องทำความเข้าใจกับบุคคลและสถานที่นั้นๆ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๒”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๗…

…ย้ำเตือนบุคคลรอบข้างอยู่เสมอว่า

…อย่าได้เชื่อทันทีในสิ่งรู้และในสิ่งที่เห็นเพราะมันอาจจะชักนำไปสู่ความงมงายไร้ปัญญา ควรคิดพิจารณา ถึงเหตุและผลให้เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ของสิ่งที่รู้และสิ่งที่ได้เห็นนั้น

…ในทางกลับกัน อย่าได้ปฏิเสธทันทีในสิ่งที่ได้รู้และในสิ่งที่ได้เห็นนั้น เพราะการปฏิเสธในทันทีนั้น มันอาจจะทำให้เราเสียโอกาสขาดสติเกิดความประมาททางจิตขึ้นมาได้จงใช้สติสัมปชัญญะและปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ด้วยเหตุและผลแห่งทุกข์ ภัย โทษประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นนั้นแล้วจึงจะเชื่อหรือปฏิเสธ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๖

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๖…

… คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านมานั้นจัดสรรให้มีค่ามากที่สุด เท่าที่จะทำได้ไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยไร้ซึ่งประโยชน์ ทั้งในเรื่องทางโลกและในเรื่องทางธรรม ตอกย้ำจิตสำนึกในบทบาทภาระและหน้าที่ เพราะวันเวลาของชีวิตที่ได้ผ่านมานั้น มันคือกำไรของชีวิตแห่งการที่ยังมีลมหายใจอยู่

…ชีวิตก้าวข้ามความตายมาหลายครั้งในสมัยที่ยังไม่รู้จักคุณค่าของชีวิตเดินอยู่บนเส้นทางที่พลาดผิดห่างไกลธรรม เพลิดเพลินในการประกอบกรรมอันเป็นอกุศลโดยไม่มีความรู้สึกรักตัวและกลัวตายในสิ่งที่ทำ ชีวิตที่รอดมาได้จนถึงวันนี้มันจึงคือกำไรของชีวิต เมื่อมีความรู้สึกสำนึกผิด ชีวิตที่เหลือก็ไม่มีอะไรที่น่ากลัวอีกต่อไป…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๒…

…เร่ร่อนอยู่บนถนนที่ทอดยาว มากมายด้วยยวดยานที่ผ่านไปมา เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง หยุดบ้างพักบ้างเมื่อเหนื่อยล้า พบปะเจรจากับเพื่อนผู้ร่วมทาง ต่างคนต่างมีเป้าหมายของการเดินทาง

…เก็บเกี่ยวทุกอย่างที่เป็นประสบการณ์เรียนรู้ชีวิตและความคิดของผู้ร่วมทางนำมาเป็นแบบอย่างและปรับใช้ให้เหมาะสมกับความเป็นไปของชีวิตจังหวะ เวลา โอกาส สถานที่ และบุคคลคือเหตุผล และความเหมาะสม ของการดำเนินการ มองทุกสิ่งทั้งสองอย่างทั้งคุณและโทษ ให้เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้นจัดสรรทุกอย่างให้อยู่บนความเหมาะสม

…เรียนรู้และพอใจในสิ่งที่มีและเป็นอยู่ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น แล้วก็ปล่อยทำหน้าที่ของผู้ให้… ให้สมบูรณ์… สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปเป็นเรื่องของวิบากกรรม…

…แด่การเดินทางของชีวิต…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๕ สิงหาคม ๒๕๖๕…