บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๔

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๔…

…การระลึกนึกถึงความตายนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนตาย ความยึดถือทั้งหลายในรูปธรรมวัตถุจะได้เบาบางลง อัตตาและมานะทิฐิทั้งหลายนั้นก็จะเบาบางลง ความโลภ ความหลงทั้งหลายก็จะค่อย ๆ หายไปเพราะชีวิตนี้ไม่มีวัตถุอะไรที่จะนติดตัวไปได้เมื่อตายจาก มีเพียงกรรมสิ่งที่ได้ทำไปนั้น ที่จะติดตามตัวของเราไปในปรโลก ทั้งสิ่งที่เป็นบุญและเป็นบาปจึงต้องคิดและพิจารณาว่าทำอย่างไรให้ตายไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องทุกข์ขณะจะสิ้นลม

…การระลึกนึกถึงความตายอยู่เสมอนั้น จะทำให้จิตนั้นไม่หวั่นไหวต่อความตายที่จะมาถึงในอนาคต ซึ่งทุกคนนั้นต้องประสพ ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔…

เมื่อจิตระลึกถึงธรรม

…เมื่อจิตระลึกถึงธรรม…

…บุคคลแตกต่างกันด้วยธาตุและอินทรีย์พระพุทธเจ้าทรงแยกเป็น ๔ จำพวกคือ…

๑. อุคฆติตัญญู คือบุคคลที่เมื่อฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วก็บรรลุธรรมทันที

๒. วิปจิตตัญญู คือบุคคลที่จะต้องอธิบายขยายเนื้อความจึงจะได้บรรลุธรรม

๓. เนยยบุคคล คือบุคคลที่จะต้องมีการฝึกฝนและอบรมจึงจะได้บรรลุธรรม

๔. ปทปรมบุคคล คือบุคคลที่สอนไม่ได้บอกอะไรก็ไม่รู้เรื่อง เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ

…สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้ทำและสะสมมา ดั่งคำที่กล่าวเสมอว่า…กรรมใคร กรรมมัน อย่าไปเศร้าหมองกับอกุศลกรรมของผู้อื่นเลย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๓ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

จิตระลึกถึงธรรม

…จิตระลึกถึงธรรม…

…ระลึกถึงธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมซึ่งท่านสอนอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนไร้รูปแบบและพิธีการ ท่านสอนไว้ว่า…

…ให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตล่วงไปแล้วไม่ไปคิดถึง อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็อย่าไปคิดกังวล อยู่กับปัจจุบันธรรม หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจมันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจโปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจเพียงเท่านั้นก็เพียงพอ ต่อการปฏิบัติธรรม สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอ…

…เมื่อเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้นจะรักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเราคือธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๕…

…วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรม สิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมานั้น แก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะเป็นอดีต ยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรมที่ทำมา…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๓…

…ทบทวนธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์…

…คนเราควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไปว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์และควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย…
…พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ ๒๕/๒๕/๑๖…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๓”

กระแสธรรมแห่งกาลเวลา

…กระแสธรรมแห่งกาลเวลา…

…ย้ำเตือนตนเองทุกครั้งที่เขียนบทความบทกวีหรือบรรยายธรรมว่าสิ่งที่กำลังทำนั้นเป็นการทบทวนและสอนตัวเองทุกครั้งอย่าไปมุ่งหวังว่าคนอ่านหรือคนฟังนั้นจะต้องรู้หรือเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามเพราะถ้าเราไปหวังและตั้งใจให้ผู้ฟังเข้าใจและปฏิบัติตามนั้น มันเป็นตัณหาคือความอยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากได้และเมื่อไม่เป็นไปตามที่ใจเราปรารถนามันก็จะพาให้ใจเป็นทุกข์ เพราะตัณหาไม่ได้รับการสนองตอบจึงกล่าวธรรมเพื่อธรรม บันทึกธรรมเพื่อธรรมเพื่อเตือนย้ำความรู้สึกและจิตสำนึกของตัวเราเอง…

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมแห่งกาลเวลา”

เมื่อจิตระลึกถึงธรรม

…เมื่อจิตระลึกถึงธรรม…

…เรียนรู้ธรรมะจากชีวิตเรียนรู้ถูกผิดทุกหนแห่งตามกำลังของสติที่มีแรงแสวงหาซึ่งสัจธรรมสัจธรรมในโลกคือพระไตรลักษณ์ทุกอย่างอยู่บนหลักหนีไม่พ้นเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวังวนรอวันหลุดพ้นจากโลกมายา

…กลับสู่จิตแท้จิตเดิมไม่เสริมปรุงแต่งแสวงหาคือความสิ้นสุดของกิเลสและอัตตาหมดสิ้นตัณหากามารมณ์ชื่นชมด่ำดื่มอยู่กับรสพระธรรมหมดเวรหมดกรรมจากที่เคยทำมานั่นคือสิ่งที่มุ่งหวังและแสวงหารอวันเวลาที่จะได้พบพาน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๓ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

อุทานธรรมในยามเช้าใต้หอระฆัง

…อุทานธรรมในยามเช้าใต้หอระฆัง…

…ระลึกถึงธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมซึ่งท่านสอนอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนไร้รูปแบบและพิธีการ ท่านสอนไว้ว่า…

…ให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตล่วงไปแล้วไม่ไปคิดถึง อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็อย่าไปคิดกังวล อยู่กับปัจจุบันธรรม หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจมันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจโปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจเพียงเท่านั้นก็เพียงพอ ต่อการปฏิบัติธรรม สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอ…

อ่านเพิ่มเติม “อุทานธรรมในยามเช้าใต้หอระฆัง”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๔…

…สมถะกรรมฐานนั้นเป็นเรื่องของสมาธิความสงบ อาศัยความวิเวกเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน สภาวธรรมของสมาธิเป็นไปในองค์แห่งฌานสถานที่วิเวกยังกายให้วิเวก กายวิเวกนำไปสู่จิตวิเวกจิตวิเวกทำให้เกิดอุปธิวิเวก…

…แต่วิปัสสนากรรมฐานนั้น เป็นภาวะที่อยู่กับปัจจุบันธรรม อยู่กับสิ่งรอบกายที่กำลังเคลื่อนไหว ที่กำลังเกิดขึ้นตามดู ตามรู้ ตามเห็น แต่ไม่เอามาเป็นอารมณ์ไม่เข้าไปยึดติดสักแต่ว่ารู้ มีสติและสัมปชัญญะความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะต่างจากอารมณ์ของสมถะกรรมฐาน ที่ต้องการความวิเวก ความสงบเงียบ มีสติแนบแน่นอยู่กับการภาวนา จนอารมณ์นั้นเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่เพ่งอยู่ คือรู้เฉพาะสิ่งที่กำลังเพ่งอยู่เท่านั้นรู้ในความสงบนิ่ง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๓…

…“เสียหนึ่ง อย่าเสียสอง เสียของ อย่าเสียใจเสียแล้ว ให้เสียไป ใจอย่าเสีย”…

…เป็นคำสอนของหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือ ซึ่งท่านได้กล่าวเตือนสติบรรดาศิษย์ทั้งหลายให้นำไปพิจารณาปฏิบัติตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ เรื่องของจิต คือการมีสติพิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติเมื่อมีสิ่งมากระทบแล้วจิตเข้าไปปรุงแต่งตาม

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๓”