เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐…

…ถ้าจิตใจเศร้าโศกไม่เบิกบานร่าเริงแล้วความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะหายไปหมดแต่ถ้าจิตใจไม่เศร้าโศก มีแต่ความร่าเริงแจ่มใสเกษมสำราญ ความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะปรากฏขึ้น ดั่งคำที่ว่า “จิตดีกายเด่น จิตด้อย กายดับ” เมื่อจิตใจเป็นกุศลความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น…

…รำพึงธรรมคำกวีกาพย์ยานี ๑๑…

…มองหา ก็มองเห็น
ซึ่งความเป็น ในโลกนี้
หลายหลาก และมากมี
ได้พบเห็น เป็นประจำ

…เห็นแล้ว เก็บมาคิด
มาพินิจ ให้เห็นธรรม
ก่อเกิด กุศลกรรม
รู้เข้าใจ ในความจริง

…ทุกสิ่ง นั้นเคลื่อนไหว
แปรเปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
ไม่เคย จะหยุดนิ่ง
ล้วนเกิดดับ ธรรมดา

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙…

…“ความเบื่อกับความอยากเป็นของคู่กัน” เมื่อความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้นรนขวนขวาย หาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบซึ่งความอยากเหล่านั้นถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้จิตก็ยินดี ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนาจิตมันก็เกิดปฏิฆะ ขุ่นมัว เศร้าหมองและเมื่อเสพในความอยากนั้นจนเต็มที่แล้ว จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้นความอยากในสิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมาคือ “อยาก ๆ เบื่อ ๆ แล้วก็เบื่อ ๆ อยาก ๆ ” ตามกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของอารมณ์ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุขสงบเพราะเราต้องดิ้นรนขวนขวายหาปัจจัยมาสนองตอบตัณหาไม่สิ้นสุด…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๘

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๘…

…จะสุขใด ไหนเท่า สุขในธรรม…

๐ เจริญจิต เจริญใจ ปฏิบัติ
เพื่อขจัด ซึ่งกิเลส และตัณหา
เพื่อเสริมสร้าง จิตใจ ให้ศรัทธา
ภาวนา ให้สงบ พบที่ใจ

๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ สิ่งที่เห็น ความเป็นมา

๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๘”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗…

…รำพึงธรรมคำกวีในยามฝนพรำ…

๐ ร่วงหล่นบนทางเท้า
ทุกค่ำเช้าเฝ้าปัดกวาด
รักษาความสะอาด
มิให้ขาดในทุกวัน

๐ ใบไม้เจ้าร่วงหล่น
ตามกาลกลเป็นเช่นนั้น
ร่วงหล่นทุกคืนวัน
เปลี่ยนแปรผันตามเวลา

๐ ร่วงหล่นลงสู่พื้น
ร่วงลงคืนพสุธา
ตามกาลและเวลา
มีเกิดมามีดับไป

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖…

…บางครั้งความคุ้นเคยและความเคยชิน มันอาจจะนำไปสู่ความหย่อนยาน จนกลายเป็นความขี้เกียจมักง่าย ถ้าเราไม่หมั่นตรวจสอบควบคุมจิตของเรา ไม่มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ข้อวัตรปฏิบัติ มันก็จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยจิตคล้อยตามไปในกระแสโลก ออกห่างจากกระแสแห่งธรรม แต่ถ้าเรามีความมั่นคงมีศรัทธาที่หนักแน่น ตามดู ตามรู้ ตามเห็นจิตนั้นอยู่เสมอ ไม่พลั้งเผลอขาดสติและองค์แห่งคุณธรรมแล้วความเสื่อมย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา ความเจริญในธรรมทั้งหลาย ก็จะบังเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้น สิ่งสำคัญมันอยู่ที่จิตสำนึกแห่งการใฝ่ดี ว่าเรานั้นมีแล้วหรือยังและเราได้ทำในสิ่งนั้นแล้วหรือยัง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕…

…ในการเขียนบทกวีธรรมนั้นบางครั้งเราต้องใช้อารมณ์ศิลปินเพื่อที่จะสร้างคำหรือภาษาที่สวยงามซึ่งต้องเวลาและอารมณ์ เป็นหลักในการประพันธ์บทกวี เมื่อได้พักกายพักจิต ทำชีวิตให้สบาย ทั้งภายนอกและภายใน ใจก็พร้อมที่จะทำงาน…

…การผ่อนคลายทางจิต โดยการปลดปล่อยความรู้สึกและความคิดไปสู่ท้องฟ้า มองหมู่เมฆที่เคลื่อนไปมาตามกระแสลม มองหมู่ดาวบนฟ้าในยามราตรีร้อยเรียงเรื่องราวมาเล่าเป็นบทกวี เป็นการพักผ่อนที่มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔…

…สรรพสิ่งย่อมแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มีความเสื่อมสลายไปตามอายุของการใช้งานไม่มากก็น้อยตามเหตุและปัจจัย ซึ่งเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง การสูญเสีย การพลัดพรากย่อมเกิดขึ้นกับทุกคน ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงหนีพ้นสิ่งนี้ไปได้ เราจึงต้องฝึกทำใจเพื่อให้ยอมรับกับการสูญเสียการพลัดพรากที่จะเกิดขึ้นนั้นให้ได้เพื่อที่จะลดความทุกข์ใจ เมื่อสิ่งนั้นมันมาถึง ซึ่งถ้าใจของเรานั้นยอมรับซึ่งความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วการสูญเสียหรือการพลัดพรากนั้นก็จะมีผลกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของเราน้อยมากเพราะการที่เรานั้นเข้าไปยึดติดและยึดถือในสิ่งทั้งหลาย ว่าเป็นของส่วนหนึ่งของเรานั้น ไม่อยากให้มันแปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปอยากจะให้มันคงอยู่ในสภาพเดิมนั้นมันจึงทำให้ใจของเรานั้นเป็นทุกข์เพราะความเป็นตัวกูและของกู

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓…

…ระลึกถึงหัวข้อธรรม เตือนตนอยู่เสมอมาในความเป็นสมณะ ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่าเป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะอันได้แก่…

๑. พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วย หิริ ความละลายต่อความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว

๒. พึงศึกษาว่า เราจักมีกายสมาจาร คือความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ที่ตื้น ที่เปิดเผย ไม่เป็นช่อง ประกอบด้วยความสำรวม ทั้งจะไม่ยกตนข่มท่าน ด้วยข้อนั้น

๓. พึงศึกษาว่า เราจักมี วจีสมาจาร คือประพฤติทางวาจา ได้แก่คำพูดที่บริสุทธิ์

๔. พึงศึกษาว่า เราจักมี มโนสมาจาร คือความประพฤติทางใจ คือความคิดอันบริสุทธิ์

๕. พึงศึกษาว่า เราจักมี อาชีวะ คือความเลี้ยงชีพบริสุทธิ์

๖. พึงศึกษาว่า เราจักมีอินทรีย์สังวร ความสำรวมอินทรีย์ คือสำรวม ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒…

…ระลึกอยู่เสมอว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ทุกอย่างที่ทำลงไปนั้นคือการสร้างบารมี เพื่อให้ใจของเรามีปีติ มีกำลังใจ ไม่เบื่อที่จะทำในสิ่งที่เป็นอยู่ สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา อย่าคิดว่ามันเป็นภาระหรือเป็นปัญหา คิดว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องกระทำ เพื่อสงเคราะห์และอนุเคราะห์แก่ผู้คนทั้งหลาย ที่เขามาเพื่อหวังพึ่งเรา

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑…

…การรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ เพราะผู้ที่รักษาศีลนั้นต้องมีสติอยู่กับกายและจิต ในการที่จะคิด จะพูดและจะทำ เรียกว่าต้องสำรวมอินทรีย์อยู่ทุกขณะจิต เพื่อไม่ให้ล่วงละเมิดข้อห้ามของศีลที่รักษา ศีลจึงคือที่มาของสติพละ และสิ่งที่ได้มาควบคู่กับสติในการรักษาศีล ก็คือองค์แห่งคุณธรรม “หิริและโอตตัปปะ” สิ่งนั้นก็คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑”