ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐…

…หลวงพ่อพุทธทาสท่านสอนไว้ว่า ชีวิตคือการทำงาน การทำงานอย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรมดำเนินชีวิตด้วยการทำงานทั้งทางภายนอกและภายใน ควบคุมกายใจด้วยสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลายทำใจให้ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้เพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลายก็หายไปสิ้นไป จิตเข้าสู่ความโปร่ง โล่ง เบา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙…

…อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ
วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร
ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ
วณฺโณ สุขํ พลํ…

…ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘…

…ในส่วนลึกของจิตสำนึกนั้นทุกคนย่อมจะมีจิตสำนึกแห่งความใฝ่ดีซ่อนอยู่เสมอ เพียงแต่บางครั้งยังไม่ได้แสดงออกมาเพราะเงื่อนไขของเรื่องจังหวะเวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคลนั้นยังไม่เอื้ออำนวย ไม่เปิดโอกาสให้แสดงออกมาได้ในสิ่งนั้นทุกคนต่างมีเหตุปัจจัยและพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกัน ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗…

…โรคที่รักษายากที่สุดคือโรคอุปาทาน เพราะว่ามันเกิดที่จิต มันยึดติดอยู่ใจมันคิดอยู่ตลอดว่าโรคนั้นยังไม่หายมันยังเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ จิตมันจะสร้างภาพและอาการของโรคที่คิดว่าเป็นอยู่ขึ้นมาตลอดเวลา

…การที่จะรักษาโรคอุปาทานนั้นจึงจำเป็นต้องมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ให้เขาเกิดความศรัทธาในการรักษา เพื่อให้เชื่อว่าอาการที่เขาเป็นอยู่นั้น ได้รับการรักษาและแก้ไขให้แล้ว พิธีกรรมนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีและต้องทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖…

…อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทาความสุขหรือความทุกข์และลาภยศทั้งหลาย อย่าไปหวั่นไหวกับมันเพราะว่าความหวั่นไหวนั้นมันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เรียกว่าเป็นคนโลเลไม่แน่นอน ไม่มีความกล้าที่จะลงมือกระทำในสิ่งใดจิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม ซึ่งจะนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไรใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕…

…การรักษาศีลนั้น เราอย่าไปยึดติดกับถ้อยคำและตัวอักษรให้มากเกินไปมันอยู่ที่ใจของเรา เพราะว่าการรักษาศีลนั้น คือการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกายและใจของเราภาษาชาวบ้านเรียกว่าใจอยู่กับกับเนื้อกับตัว รู้ว่าเรากำลังทำอะไรและสิ่งที่เราทำนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็ไม่ควรกระทำ ควรงดเว้นการที่เราหักห้ามใจในอกุศลได้นั้น ทำให้เกิดคุณธรรม คือหิริและโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔…

…“ภิกษุทั้งหลาย! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้ มิใช่เพื่อหลอกลวงคนเพื่อให้คนบ่นถึง เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเราก็หามิได้ แต่ที่จริงแล้วเพื่อความสังวรระวัง เพื่อละกิเลสเพื่อคลายกิเลส และเพื่อดับกิเลสเท่านั้น”

“นยิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนุติ”
…พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙…

..หลักของการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นไปเพื่อความเจริญในธรรม “ไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีงามเป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยกุศลเป็นมงคลต่อชีวิตและสังคม” นั้นคือสิ่งที่ควรจะศึกษาและนำมาปฏิบัติ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะและสถานะของตน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓…

…“เมื่อเราเพียรเพ่งดูจิต ดูความคิดให้จิตอยู่กับตนเองตลอดเวลาเราก็จะเข้าใจในสังขารร่างกายและจิตของเรา”…

…“ ความว่างทางจิตนั้นคือความว่างจากอารมณ์ยินดี ยินร้ายแต่ไม่ว่างจากตัวรู้ ยังตามดูตามเห็นแต่จิตไม่ไปคิดปรุงแต่ง ”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒…

…เมฆดำปกคลุมทั่วท้องฟ้าสายลมพัดกระโชกผ่านมาเม็ดกล้าแห่งพืชพันธุ์เบ่งบานรอการเริ่มต้นของชีวิตใหม่เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าหน้าฝนกำลังจะมาเยือนฤดูกาลใหม่กำลังมาเยือนเปลี่ยนไปตามฤดูกาล…

…กาลเวลาที่ผ่านไปเก็บเกี่ยวอะไรได้มากมายได้รู้และเข้าใจในชีวิตเห็นความถูกผิดในความคิดและสิ่งที่ได้กระทำที่ผ่านมาได้รู้ว่าจุดหมายปลายทางนั้นยังไกลและต้องก้าวเดินต่อไปสู่จุดหมาย…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา ปฐมบท

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา ปฐมบท…

…สภาวธรรมทั้งหลายล้วนมีที่มาที่ไปตามเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นและเมื่อจิตได้พิจารณาจนเห็นที่มาและที่ไป เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นแล้ว มันก็สิ้นความสงสัยในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย การปรุงแต่งทั้งหลาย มันก็จะจางคลายลดน้อยลงไปจนกระทั้งไม่มีเพราะเมื่อสิ้นความสงสัยแล้วใจจะไม่เข้าไปยึดติด ความคิดปรุงแต่งทั้งหลายมันก็เลยจบลง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา ปฐมบท”