ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๐…

…ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวสอนไว้ให้พิจารณาในเรื่องของการปฏิบัติไว้ว่า…

…ศรัทธามาก ปัญญาหย่อน ความโลภจะเข้าครอบงำจิต

…ปัญญามาก แต่ศรัทธาหย่อน ความสงสัยลังเลจะเข้าครอบงำ

…วิริยะความเพียรกล้า แต่สมาธิหย่อน ความฟุ้งซ่านจะเข้าครอบงำ

…สมาธิกล้า วิริยะความเพียรหย่อน ความง่วงจะเข้าครอบงำ

…สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นตัวเข้าไปปรับอินทรีย์พละ ให้มีความเสมอกัน …

…ความเจริญในธรรมนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้ โดยองค์แห่งคุณ ๓ ประการคือ…

๑. อาตาปี ความเพียรตั้งใจจริง
๒. สติมา มีสติระลึกรู้เท่าทันอารมณ์
๓. สัมปชาโน มีความรู้ตัวทัวพร้อมทุกขณะ

…องค์คุณทั้ง ๓ นี้จะทำให้เกิดความพอดี ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าในธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๙…

… วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรมสิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบันส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมาแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะมันเป็นอดีตจงยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๘…

…ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นสภาวะแห่งปัตจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตนโดยการปฏิบัติ การศึกษาปริยัติ การอ่าน การฟังนั้นเป็นเพียงขั้นพื้นฐาน เป็นเพียงการเก็บข้อมูลหาแนวทาง หาแบบอย่างที่จะนำไปปฏิบัติ

…เพียงแต่ฟัง เพียงแต่อ่าน เพียงแต่คิดนั้น จิตยังไม่ถือว่าเข้าถึงธรรม จำได้พูดได้และเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความคิด เป็นเพียงนามธรรม เป็นเพียงความฝัน เป็นเพียงการจินตนาการตราบใดที่ยังไม่ได้เอาธรรม ที่ได้ยินได้ฟังได้ศึกษานั้นนำมาปฏิบัติกับตนก็เป็นได้เพียงนกแก้วนกขุนทองที่ท่องได้ พูดได้ เป็นเพียงใบลานเปล่าเพราะว่ายังไม่เข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๗…

…น้อมใจมาดูจิต ดูความคิดทั้งหลายของเรา เอาจิตถามจิตว่าทำไมต้องคิด ต้องปรุงแต่งคิดแล้วได้อะไร คิดแล้วทำได้หรือไม่ สิ่งที่คิดนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล คิดแล้วมีผลเป็นอย่างไร มีคุณหรือไม่อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้คิดเอาจิตถามจิต หาคำตอบที่จิตของเราเอง เอาจิตถามจิตจนเห็นที่เกิดของจิต คือเห็นต้นเหตุแห่งความคิด จึงจะเข้าใจในความคิด เข้าใจจิตและเข้าใจในธรรม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๖…

…บางครั้งเราต้องละทิ้งรูปแบบตามพยัญชนะ มาเน้นสาระในเรื่องความหมายความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะทั้งหลายเพื่อให้ฟังแบบสบายๆ ไม่เกร็งไม่เคร่งและไม่เครียด ในการสนทนาธรรม จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ” คือการถ่ายทอดธรรมะเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจโดยไม่ยึดติดในรูปแบบ ซึ่งทุกอย่างต้องใช้การคิดและพิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญทบทวน อยู่ตลอดเวลา ปรับเข้าหาหลักธรรมะเพื่อความเหมาะสมมองทุกสิ่งทุกอย่างรอบกายให้เป็นธรรมะ ใช้หลักแห่งความเป็นจริงตามหลักของธรรมชาติโดยการลดละซึ่งอัตตาและคติไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาใช้ในการคิดและวิเคราะห์แล้วเราจะเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมะที่แท้จริง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๕…

…เมื่อมีการกระทำ ย่อมมีผลของการกระทำ ซึ่งผลของการกระทำนั้นจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ จังหวะเวลา โอกาส สถานที่ ตัวบุคคลและเจตนาแห่งการกระทำนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผลซึ่งแต่ละคนย่อมมีเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน ทำให้ความรู้ ความเห็นและความเข้าใจนั้น แตกต่างกันไปตามเหตุและปัจจัย ไม่มีใครคิดเห็นถูกไปเสียทั้งหมดและไม่มีใครผิดไปทั้งหมด เพราะความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นเป็นปัจเจก จึงไม่มีอะไรดีที่สุดและอะไร ถูกต้องที่สุด มีเพียงความเหมาะสมกับจังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล ” สัพเพ ธัมมาอนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นอนัตตา แปรเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัย เป็นไปตามความเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๔…

…ย้ำเตือนบุคคลรอบข้างอยู่เสมอว่า

…อย่าได้เชื่อทันทีในสิ่งรู้และในสิ่งที่เห็น เพราะมันอาจจะชักนำไปสู่ความงมงาย ไร้ปัญญา ควรคิดพิจารณา ถึงเหตุและผล ให้เห็นทุกข์เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ของสิ่งที่รู้และสิ่งที่ได้เห็นนั้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๓…

…สร้างวัดสร้างวัตถุนั้นสร้างได้ง่ายแต่การสร้างคนที่จะมาดูแลรักษานั้นสร้างได้ยาก ในร้อยคนจะหาสักคนก็นับว่ายาก เพราะสิ่งที่ขาดหายไปนั้นคือการเป็นผู้รู้จักเสียสละและมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม เป็นผู้มีความขยัน อดทน ซึ่งมันต้องมีพื้นฐานที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เป็นเด็กดั่งคำโบราณที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๒…

…”ทุกข์ไม่มา ปัญญาไม่มี บารมีไม่เกิด” เป็นคำสอนที่กล่าวกันมานานแล้วและเป็นความจริงมาตลอด เพราะว่ามนุษย์นั้นในยามที่มีความสุขมักจะหลงเพลิดเพลิน จนลืมคิดถึงธรรมดั่งที่เคยเขียนโศลกธรรมบทหนึ่งไว้ว่า…ตราบใดที่ยังมีหนทางไปใจย่อมไม่นึกถึงพระธรรม แต่เมื่อคุณชอกช้ำ พระธรรมนั้นคือที่พึ่งสำหรับคุณ และโศลกธรรมอีกบทหนึ่งที่เขียนไว้ว่า เมื่อยังไม่ถึงกาลเวลาที่เหมาะสม จิตย่อมเข้าไม่ถึงธรรม จึงยากที่จะอธิบายให้เข้าใจธรรมนั้นได้ จงอดทนรอให้เขามีความพร้อมจึงกล่าวธรรม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๑…

…เหตุการณ์ในอนาคตนั้น เรามิอาจจะกำหนดให้มันเป็นไป ตามที่ใจเราปรารถนาได้เสมอ ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามเหตุและปัจจัยอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด เตรียมใจไว้สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะมีผลในทางบวกหรือทางลบ เราต้องยอมรับกับมันได้ดั่งที่หลวงพ่อจำเนียรท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “เสียอะไรเสียได้แต่อย่าให้ใจเราเสีย” ถ้าใจเราเสียเมื่อไหร่ก็จบกัน ยากที่จะแก้ไขเพราะใจมันไม่สู้แล้ว แต่ถ้าเรามีใจตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเมื่อภัยมา เมื่อเจอปัญหามีสติและสัมปชัญญะ เราย่อมมีโอกาสที่จะหาหนทางแก้ไขได้เรียกว่า “สูญเสียแต่ไม่เสียศูนย์”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๑”