ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐…

…สัปปายะ ๕ อันได้แก่ อาหารที่ถูกจริต อากาศที่สบาย ที่อยู่อาศัยที่สะดวกสบายมีมิตรสหายครูบาอาจารย์ที่ดีคอยส่งเสริมช่วยเหลือ ได้ปฏิบัติที่ถูกกับจริต จิตของเราย่อมส่งผลให้การเจริญภาวนานั้นมีความเจริญก้าวหน้า…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙…

…ดั่งที่เคยกล่าวไว้ว่า วิถีโลกและวิถีธรรมนั้นต้องจะเดินคู่กันไป เพราะว่าเราทั้งหลายนั้น ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม มิอาจจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องมีการอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย ตามจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และตัวบุคคล เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โลกและธรรมจึงต้องเดินคู่กันไป

…แต่คนส่วนใหญ่นั้นมักจะปฏิเสธธรรมเพราะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องของศาสนาเป็นลัทธิ เป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาเฉพาะตน ทั้งที่จริงแล้วธรรมะนั้นคือธรรมชาติแห่งความเป็นจริง เป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราพบเห็นอยู่เป็นประจำในชีวิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๘…

…”ภิกษุจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลอันดี จงมีความดำริตั้งมั่นตามรักษาจิตของตนเถิด”
” อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ “
…พุทธสุภาษิต มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๒๐…

…ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป เมื่อใจไม่ไปยึดติดยึดถือความห่วงหาอาลัยก็ไม่มี อยู่กับสภาวะแห่งความเป็นปัจจุบันธรรม ตามวิถีที่เป็นไปในแต่ละวัน ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ ตามบทบาทและหน้าที่ที่เป็นอยู่ จิตตามดู ตามรู้ ตามเห็นในความเป็นไปที่แท้จริงของกายและจิต มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่ทุกขณะ คิดให้เป็นกุศลวันเวลาก็จะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วเพราะว่าใจเราไม่ไปยึดถือ จิตโปร่งกายเบา ไม่ซึมเซา เพราะมีอารมณ์ปีติทรงอยู่ เรียนรู้และพิจารณาทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗…

…สาระธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์…

…ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการกำหนดพิจารณาธรรมตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรมที่มีปรากฎอยู่ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ก็มีอยู่ ได้ยินอยู่ สัมผัสอยู่ปรากฎอยู่ จิตใจเล่าก็มีอยู่ ความนึกคิดรู้สึกในอารมณ์ต่างๆทั้งดีและร้ายก็มีอยู่ความเสื่อม ความเจริญทั้งภายนอกภายใน ก็มีอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖…

…ธรรมจากหลวงพ่อชาแห่งวัดหนองป่าพง… “เราเคยเรียนธรรมะในกระดาษรู้ธรรมะตามกระดาษ สอบความรู้ในกระดาษและท่านก็รับรองความรู้ด้วยกระดาษ ซึ่งเราเคยผ่านมาแล้วเมื่อเรามาปฏิบัติก็จะทราบได้เองว่าธรรมะที่เกิดจากสัญญา (เรียน จำได้)กับธรรมะที่เกิดจากการภาวนามันต่างกันมากอยู่ มันมีความหมายละเอียดต่างกัน มันเหมือนกับคนหนึ่งมีรูปม้าหลายๆแผ่น อีกคนหนึ่งมีม้าอยู่ตัวเดียว ถึงคราวออกเดินทางคนที่มีม้าตัวเดียวยังดีกว่าคนที่มีรูปม้าหลายแผ่น เพราะอันหนึ่งมันใช้ได้ อันหนึ่งใช้ไม่ได้ เรื่องนี้ผู้มาประพฤติปฏิบัติย่อมรู้เองได้ไม่ใช่เรื่องบอกกัน”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕…

…”ให้ระวังความคิด คิดมาก ๆ มันจะกลายเป็นการกระทำให้ระวังการกระทำ กระทำมากๆจะกลายเป็นความเคยชินให้ระวังความเคยชิน เคยชินมากๆจะกลายเป็นนิสัยให้ระวังนิสัยที่สั่งสมไว้ จะกลายเป็นอุปนิสัย ติดภพติดชาติไป” นี่คือคำกล่าวของหลวงพ่อชาวัดหนองป่าพง อุบลราชธานีซึ่งท่านได้กล่าวสั่งสอนไว้ให้ศิษย์ทั้งหลายได้พิจารณา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔…

…ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ที่การเริ่มต้น “It is never too late to mendไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น” ถ้าเรามีความตั้งใจที่จะทำและมีความรับผิดชอบ ในความคิดของเราเอง คือมีสัจจะต่อตนเองแล้วทุกอย่างเริ่มต้นได้ทันทีและทุกเวลาทุกโอกาส

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓…

“คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข”

“น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา”
…โพธิสัตว์สุภาษิต อารามทูสกชาดก ๒๗/๑๕…

… หลับตาเจริญสติภาวนา เหมือนกับอ่านตำราในห้องเรียนหรือสอบข้อเขียนโดยทั่วไป แต่การปฏิบัติโยธากัมมัฏฐานเหมือนกับการสอบการปฏิบัติภาคสนาม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒…

…บางครั้งความคุ้นเคยและความเคยชิน มันอาจจะนำไปสู่ความหย่อนยาน จนกลายเป็นความขี้เกียจมักง่าย ถ้าเราไม่หมั่นตรวจสอบควบคุมจิตของเราไม่มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ข้อวัตรปฏิบัติมันก็จะนำไปสู่ความเสื่อม จิตคล้อยตามไปในกระแสโลก ออกห่างจากทางธรรมแต่ถ้าเรามีความมั่นคง มีศรัทธาที่หนักแน่น ตามดู ตามรู้จิตนั้นอยู่เสมอไม่พลั้งเผลอขาดสติและองค์แห่งคุณธรรมแล้ว ความเสื่อมย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา ความเจริญในธรรมทั้งหลายก็จะบังเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้น สิ่งสำคัญมันอยู่ที่จิตสำนึกแห่งการใฝ่ดี ว่าเรานั้นมีแล้วหรือยังและเราได้ทำในสิ่งนั้นแล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑…

…ผู้เจริญย่อมไม่เบียดเบียนใครไม่อาฆาตใคร ไม่พยาบาทใครให้อภัยแก่คนทุกจำพวก เจริญเมตตาจิตเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหลายไม่เอาเรื่องเอาราวกับใคร ใจพร้อมที่จะให้อภัยอยู่เสมอ วางใจได้อย่างนี้ใจเราก็จะมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์เพราะการให้อภัย…

…ให้มีสติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา มีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมออย่าให้เผลอ จิตนิ่งสงบก็รู้อยู่ในความนิ่งสงบนั้น เป็นหนึ่งอยู่รู้ตัวอยู่ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ส่ง ไม่ส่ายไม่วุ่น ไม่วาย ไม่ปล่อยใจให้ไปออกนอกลู่นอกทาง อยู่กับอารมณ์กรรมฐานตลอดเวลา อย่าให้มีช่องว่างที่กิเลสจะแทรกเข้ามาได้ เราก็จะได้พบกับสภาวธรรมที่แท้จริง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑”