สรุปลงในพระไตรลักษณ์

… สรุปลงในพระไตรลักษณ์ …

…ทุกสิ่งทุกอย่าง “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าเราพิจารณาเข้าหาพระไตรลักษณ์ มันก็ไม่หนักใจทุกข์ใจเพราะเราไม่เข้าไปยึดถือ มันก็เลยไม่เป็นทุกข์ ที่เราทุกข์ก็เพราะเราเข้าไปยึดถือ

…การปฏิบัติธรรมคือการศึกษาฝึกฝนเพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดถือ ฝึกจากสิ่งทำได้ง่ายไปสู่สิ่งที่ทำได้ยากจากสิ่งที่หยาบไปสู่สิ่งที่ละเอียดเพื่อความรู้ความชำนาญ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ โดยค่อยเป็นค่อยไป สร้างเหตุสร้างปัจจัยไปเรื่อย ๆ อย่าได้ลดละความพยายามในการกระทำความดี

อ่านเพิ่มเติม “สรุปลงในพระไตรลักษณ์”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๖…

…บอกกับตนเองเสมอว่า อย่าให้วันเวลาของชีวิตผ่านไปโดยไร้ค่า เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นโทษต่อชีวิตของเราเลยทุกสิ่งทุกอย่างเรากำหนดขึ้นมาได้ด้วยตัวของเราเอง คือการกระทำที่เรียกว่ากรรมของเราในวันนี้

…ซึ่งพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็นอดีตไปแล้ว ยอมรับในความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่เผชิญอยู่ รู้ตนรู้ประมาณ รู้กาลเวลา ว่าเราควรจะปรารถนาได้ในสิ่งใด เพียงใดที่เราคิดว่ามันไม่สำเร็จไม่สมปรารถนา ก็เพราะว่าเราไม่ได้สร้างเหตุและปัจจัย อาจจะเป็นการมุ่งหวังที่มากเกินไปเกินประมาณกับเหตุและปัจจัยที่เราได้กระทำไว้ในอดีตที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๖”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวังซึ่งบุญกุศล เพื่อความเป็นมงคลของชีวิต ซึ่งต้องดูที่ดำริเจตนาในการปฏิบัติ ว่าผู้ปฏิบัตินั้นปรารถนาอะไรจากการปฏิบัติธรรมนั้นและสิ่งที่ตั้งใจปรารถนานั้น เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่ หรือเป็นไปเพื่ออกุศล คือความอยากดี อยากเด่นอยากดัง มุ่งหวังคำสรรเสริญเยินยอหรือลาภสักการะ ประโยชน์ส่วนตนผู้ปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำความรู้ความเข้าใจในเจตนาของตนเองเสียก่อนเพื่อให้ไม่หลงทาง เพราะว่าถ้าผิดแต่เริ่มต้น ผลต่อไปมันก็จะออกมาผิดทาง…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖”

ระลึกถึงธรรมเพื่อย้ำเตือนจิต

…ระลึกถึงธรรมเพื่อย้ำเตือนจิต…

…สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้โดยเร็วไวคือใจคนและสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยากมากก็คือใจคนเช่นกัน

…ยากอะไรไม่เท่าการปฏิสังขรณ์
…ถอนอะไรไม่ยากเท่ากับถอนมานะ
…ละอะไรไม่ยากเท่าละทิฐิ
…สรรพสิ่ง มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกถึงธรรมเพื่อย้ำเตือนจิต”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๖…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะทุกชีวิตกำลังเดินไปสู่ความตาย จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้ทำมา ซึ่งแตกต่างกันแต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้น ทุกคนก็ไม่อาจจะหนีพ้นความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไปจงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่เรานั้นจะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมา ว่าเรานั้นได้สร้างได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๖”

บันทึกความทรงจำ เป็นคำกวี

…บันทึกความทรงจำ เป็นคำกวี…

๐ ร้อยเดือน ร้อยดวงดาว
ร้อยเรื่องราว มาเล่าขาน
บอกเล่า มายาวนาน
ถึงเรื่องราว ที่ผ่านมา

๐ สอดแทรก ซึ่งธรรมะ
เป็นสาระ ให้ศึกษา
แนวทาง ภาวนา
ให้เข้าสู่ เส้นทางธรรม

๐ ทางธรรม นำชีวิต
ชี้ถูกผิด มีแบบนำ
บำเพ็ญ กุศลกรรม
เอาพุทธะ นั้นนำทาง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกความทรงจำ เป็นคำกวี”

ฝากสู่มิตรสหาย ด้วยไมตรีจิต

…ฝากสู่มิตรสหาย ด้วยไมตรีจิต…

๐ คือสายลม แห่งรัก และห่วงหา
ลมช่วยพา ฝากไป ให้ถึงฝัน
ฝากทิวา ราตรี และแสงจันทร์
เข้าสู่ฝัน ยามหลับ ให้กับคุณ

๐ ในยามหลับ พบกับ ภาพความสุข
เรื่องที่ทุกข์ อย่าได้ ให้เคืองขุ่น
ขอทวยเทพ เทวา จงการุณย์
ช่วยเกื้อหนุน เธอให้ ได้ฝันดี

๐ และเมื่อตื่น ขึ้นมา ฟ้าวันใหม่
ก็ขอให้ มีสุข ไปทุกที่
ขอให้เจอ แต่สิ่ง ที่ดีดี
ให้เธอมี สุขสรรค์ ทุกวันคืน

๐ คือบทเพลง จากใจ มอบให้มิตร
จากดวงจิต ศรัทธา มิเป็นอื่น
หวังว่าคง ตอบรับ ส่งกลับคืน
จะได้ชื่น หัวใจ ในผลงาน

๐ กวีธรรม นำทาง สร้างความคิด
ย้ำเตือนจิต ด้วยธรรม นำประสาน
อีกบทความ ชี้นำ ธรรมทาน
คือผลงาน สร้างให้เห็น เป็นตำนาน

๐ ฝากสายลม นำพา ไมตรีจิต
สู่มวลมิตร บอกกล่าว และเล่าขาน
กวีธรรม นั้นคือ ธรรมทาน
คือตำนาน บนเส้นทาง แห่งสายธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๕ มิถุนายน ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕…

…ในการตอบปัญหาธรรมหรือเขียนบทความบทกวีธรรมนั้น คือการทบทวนในธรรมที่ได้เคยปฏิบัติมา ไม่ใช่ภาระ ไม่ใช่หน้าที่ แต่เป็นการฝึกหัดปฏิบัติตน เพราะในบางครั้งเรานั้นอาจจะไม่ได้ทบทวนในข้อธรรมนั้นๆแต่เมื่อมีผู้มาถาม จะเป็นการกระตุ้นเตือนให้เราได้คิดและพิจารณาในธรรมข้อนั้นๆ ซึ่งเป็นการฟื้นความทรงจำให้แก่ตัวเราเองและคำตอบที่จะย้ำเตือนผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เสมอนั้นก็คือการตั้งเจตนาในการกระทำ ในการปฏิบัติว่าต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นที่ถูกต้องเพราะจะทำให้ปฏิบัติไปไม่พิดพลาดหลงทางไม่สำคัญผิดคิดคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติ

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๕…

…ไม่เคยยึดติดอยู่กับผลงานหรือสถานที่ เพียงทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์แล้วจากไปทิ้งไว้และเก็บไปเพียงความทรงจำที่ดีงามผ่านมาแล้วก็จากไป อาจจะหวนมาใหม่เมื่อถึงกาลเวลา ชีวิตที่ผ่านมาจึงคล้ายกับสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา

…มาเพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ได้ขาดหายไป นั้นคือความมั่นใจในตนเองของผู้คนที่เขา ขาดความเชื่อมั่น ซึ่งทุกคนนั้นมีพลังความสามารถอยู่ในตัวเองกันทุกคน เพียงแต่บางครั้งนำมาใช้ไม่เป็น จึงต้องหาที่พึ่งทางใจพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล ครูบาอาจารย์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ตนและสิ่งที่จะเสริมศรัทธา ความเชื่อมั่นให้แก่เขาได้นั้น มันต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้และเห็นได้ด้วยตาเนื้อเขาจึงจะเชื่อและศรัทธา

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๕”

รำพึงธรรมกับกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป

…รำพึงธรรมกับกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป…

…แต่ละวันที่ผ่านพ้นไป อารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุและปัจจัยที่ปรุงแต่ง สลับสับเปลี่ยนกันไป กุศลจิตบ้างอกุศลจิตบ้างปะปนกันไปแล้วแต่เหตุและปัจจัยที่มากระทบ ซึ่งส่วนใหญ่เราจะรู้เท่าทันเฉพาะอกุศลจิต เพราะเรากลัวโทษภัยของมัน แต่ส่วนที่เป็นกุศลจิตนั้นเราไม่ค่อยจะพิจารณาถึงคุณถึงโทษของมัน

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมกับกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป”