บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๙…

…สรรพสิ่งย่อมแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย จิตที่ไม่ได้ฝึกให้ดีย่อมหวั่นไหวไปตามกระแสของโลกที่แปรเปลี่ยนไปทุกขณะ

…แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ดีแล้วนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวไปตามกระแสแห่งโลกธรรมในความเคลื่อนไหว จิตนั้นไม่หวั่นไหวเพราะว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัยมีธรรมเป็นเกราะคุ้มกันภัยจากกระแสแห่งโลกธรรมทั้งหลาย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๙…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…คำโบราณท่านกล่าวไว้ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่ามือคลำสิบมือคลำ ไม่เท่าทำเอง” เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ต้องรู้ ต้องเห็นและต้องทำมันจึงจะเข้าใจ ไม่ใช่คิดไป จินตนาการณ์ไปว่ามันคงจะเป็นอย่างนั้น มันคงจะเป็นอย่างนี้ โดยเอาความรู้สึกของตัวเราเองมาเป็นตัวตัดสิน ว่าสิ่งนั้นใช่หรือมิใช่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๙”

ระลึกถึงธรรมคำสอนของหลวงปู่เฟื่อง โชติโก แห่งวัดธรรมสถิต

…ระลึกถึงธรรมคำสอนของหลวงปู่เฟื่อง โชติโก แห่งวัดธรรมสถิต จ.ระยอง ที่เรียบง่าย แต่ได้สาระจึงขอนำสาระธรรมคำสอนของท่านมาเผยแผ่เป็นธรรมทาน

…สาระธรรมคำสอนของหลวงปู่เฟื่อง โชติโก… “เป็นตัวอย่างในการวางตัวของพระกับฆราวาส”

…การวางตัวของพระต่อฆราวาสญาติโยมที่มาเกี่ยวข้องเป็นเรื่องละเอียดมากท่านพ่อเคยพูดอยู่เสมอกับพระลูกศิษย์ว่า

“จำไว้นะ ไม่มีใครจ้างให้เราบวช เราไม่ได้บวชเพื่อเป็นขี้ข้าของใคร”

แต่ถ้าพระองค์ใดมาบ่นกับท่านพ่อว่า โยมที่อยู่ประจำที่วัดไม่ยอมทำตามที่ท่านขอไว้ ท่านพ่อจะย้อนถามทันทีว่า “ท่านบวชมาเพื่อให้เขารับใช้หรือ ความเป็นอยู่ของเราก็อาศัยเขาเพราะฉะนั้นเราอย่าทำอะไรที่จะต้องหนักที่เขา”

“ถึงเขาจะปวารณา เราอย่าเป็นพระขี้ขอ ผมเองตั้งแต่บวชมา ถึงจะมีคนปวารณา ผมไม่เคยขออะไรที่เขาจะต้องออกไปซื้อ ได้ปัจจัยมาผมก็ทำบุญไป ไม่เคยซื้ออะไรเก็บไว้เป็นส่วนตัวนอกจากหนังสือธรรมะ”

“พระเราถ้ากินข้าวของชาวบ้านแต่ไม่ตั้งใจปฏิบัติให้สมกับที่เขาใส่บาตรเรา ชาติหน้า เรามีหวังเกิดมาเป็นควายใช้หนี้เขา”

“พระอาจารย์เฟื่อง โชติโก” วัดธรรมสถิต จ.ระยอง… หลวงปู่ท่านใช้ภาษาที่เรียบง่าย แต่ได้ใจความ ถ้าผู้ฟังนั้นได้คิดและพิจารณาตามที่ท่านได้กล่าวสอนไว้ จึงขอยกธรรมคำสอนของท่าน นำมาเป็นข้อคิดสะกิดเตือนใจแก่เหล่าสมณะทั้งหลายให้พึงสังวรในความเป็นสมณะ…

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกถึงธรรมคำสอนของหลวงปู่เฟื่อง โชติโก แห่งวัดธรรมสถิต”

รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

…รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง… (กาพย์สุรางคนางค์ ๒๖)
…ยกธรรมกล่าวอ้าง ให้เป็นแบบอย่าง
อักษรวิธี กาพย์กลอนโคลงฉันท์
สิ่งนั้นควรมี เพราะเป็นของดี
มาแต่โบราณ

…การใช้ภาษา สืบทอดกันมา ครูบาอาจารย์
เขียนให้ถูกต้อง สอดคล้องกับงาน
เพื่อจะสืบสาน ภาษาของไทย

…อย่าได้มักง่าย เพราะว่าความหมาย
มันจะเปลี่ยนไป คิดก่อนจะเขียน
จงเพียรแก้ไข ภาษาที่ใช้ ตามหลักตำรา

…คำพูดคำเขียน จงเพียรใส่ใจ
ไว้เสริมปัญญา ภาษาวิบัติ อย่าหัดมาใช้
ไม่ใช่ของไทย มันไม่งดงาม

…เตือนจิตเตือนใจ รักษากันไว้
อย่าได้มองข้าม ภาษาของชาติ
ประกาศชื่อนาม อย่าให้เขาหยาม
ภาษาของเรา

…ภาษาที่ใช้ คือภาษาไทย อย่าอายใครเขา
สดสวยงดงาม ติดตามตัวเรา อย่าให้ใครเขา
ติฉินนินทา…

….โปรดช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยและใช้ให้ถูกต้อง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕…

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๘…

…การปฏิบัติธรรมนั้นทำได้ทุกขณะทุกอิริยาบถ ไม่จำกัดกาลและสถานที่ขอให้เรามีสติระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อม อย่าไปติดยึดในรูปแบบและท่าทาง เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่การแสดง การโชว์หรือโอ้อวดกันแต่เป็นการกระทำภายในจิตใจของเราซึ่งถ้าเรามีสติและสัมปชัญญะแล้วเราจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรและเพื่ออะไร “ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต” ว่าเราคิดและเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ได้ดีไปกว่าตัวของเราเอง “รู้กาย รู้จิตรู้ความคิด รู้สิ่งที่กระทำ” นั้นคือการปฏิบัติธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔…

กระแสธรรมแห่งกาลเวลา

…กระแสธรรมแห่งกาลเวลา…

…ย้ำเตือนตนอยู่เสมอว่า จงกล่าวธรรมเพื่อธรรม กล่าวธรรมโดยธรรม ทำหน้าที่โดยการกล่าวธรรม ซึ่งต้องให้เหมาะสมกับจังหวะเวลาโอกาส สถานที่และบุคคลนั้นคือต้องรู้จักกาละเทสะ ไม่กล่าวธรรมพร่ำเพรื่อต้องให้เหมาะกับกาล การกล่าวธรรมนั้นจึงจะบังเกิดผลก่อให้เกิดความเจริญในธรรมและได้รับการสนองตอบเพราะชอบด้วยกาลและเวลา คือถูกที่ถูกทางและถูกธรรม อย่าไปกล่าวสอนด้วยตัณหาของเรา คือการเอาความคิดความอยากของเราไปยัดเยียดให้เขาตอบสนอง กระทำตามความต้องการของเรา ที่อยากจะให้มันเป็นอย่างนั้นอยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ ไม่อยากจะให้มันเป็นอย่างนั้น ไม่อยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ โดยเอาความรู้สึกความต้องการของเราไปยัดเหยียดให้เขารับรู้และรับฟัง…

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมแห่งกาลเวลา”

ปรารภธรรมคำกวียามใกล้รุ่งอรุณ

…ปรารภธรรมคำกวียามใกล้รุ่งอรุณ…

…ธรรมะนั้นมีอยู่ทุกที่และทุกเวลา เกิดขึ้นอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาย่อมน้อมเข้ามาสู่ตนเอง คือน้อมเข้ามาพิจารณาในตัวเอง เมื่อพิจารณามากเข้าก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัตตัง คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ทำเองเห็นเองและรู้เองในสิ่งที่ทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมคำกวียามใกล้รุ่งอรุณ”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๘…

…ความผิดพลาด ความล้มเหลวหรือความสูญเสียนั้น มันมิใช่ข้อยุติสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้ว นำมาซึ่งประสบการณ์ของชีวิต เป็นบทเรียนของชีวิต ที่จะทำให้เราเข้มแข็งและกล้าแกร่งยิ่งขึ้น

…ขอเพียงให้เรายึดมั่นในอุดมคติของเราอย่าได้หวั่นไหว เพราะหนทางที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น มันต้องฟันฝ่าและเผชิญต่ออุปสรรคปัญหาอยู่ตลอดเวลา อุปสรรคและปัญหาเหล่านั้นคือบทเรียน บททดสอบสติปัญญาและคุณธรรมของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๗

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๗…

…ฝึกวางใจให้มันมั่งคง ไม่กังวล ไม่สนใจใคร ทำให้เหมือนกับอยู่คนเดียว ภายนอกเคลื่อนไหวภายในทำใจให้สงบ พิจารณาร่างกาย พิจารณาดูจิต มันฟุ้งซ่านไปไหนก็ให้รู้จักมัน รู้เท่าทันกับกิเลส สู้กับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเรา เอาชนะมันให้ได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว สำหรับวันๆหนึ่ง…

…เบื่อเบื่อ อยากอยาก หลายครั้ง
เมื่อยัง ฝึกฝน เริ่มใหม่
หลบหลีก อยู่ตาม พงไพร
หวั่นไหว ต่อโลก มายา

…ไม่ว่า จะอยู่ ที่ไหน
ไม่ไร้ วุ่นวาย ปัญหา
เพราะต้อง พบปะ พึ่งพา
ศรัทธา หาเลี้ยง ชีพตน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๗”

จิตระลึกถึงธรรม

…จิตระลึกถึงธรรม…

…อบรมตนเองให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติรู้งาน รู้กาล ว่าควรทำสิ่งใด เพื่อให้เหมาะสม กับเวลา โอกาส สถานที่รู้หน้าที่และบทบาทของตนเองรู้จักผิดชอบชั่วดี อะไรผิดเราก็จะต้องพยายามลดละแก้ไขไม่ทำตามความคิดฝ่ายต่ำของตัวเราเอง อะไรที่ดีแล้วถูกต้องแล้วก็พยายามขวนขวายกระทำต่อไปให้มากยิ่งขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “จิตระลึกถึงธรรม”