ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐…

…หลวงพ่อพุทธทาสท่านสอนไว้ว่า ชีวิตคือการทำงาน การทำงานอย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรมดำเนินชีวิตด้วยการทำงานทั้งทางภายนอกและภายใน ควบคุมกายใจด้วยสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลายทำใจให้ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้เพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลายก็หายไปสิ้นไป จิตเข้าสู่ความโปร่ง โล่ง เบา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๔

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๔…

…ขออนุโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการบูรณะสร้างวัดลาดเค้าขึ้นมาใหม่ จนอย่างที่เห็นเช่นปัจจุบันนี้ขออานิสงส์แห่งคุณความดีทั้งหลายจงปกปักคุ้มครองรักษา ให้ทุก ๆ ท่านประสพกับความสุขความเจริญ ทั้งในทางโลกและทางธรรม อย่าเจ็บ อย่าไข้อย่าจน บุญกุศลหนุนนำ ธรรมรักษาเทวดาคุ้มครอง…

“ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาวินาศ มนุษย์ชาติจะเลวกว่าเดรัจฉาน”
…(คำของหลวงพ่อพุทธทาส)…

…ถ้าคน ขาดศีลธรรม
ก็จะนำ สู่ทางชั่ว
เพราะจิต หลงเมามัว
เห็นแก่ตัว ประโยชน์ตน

…แก่งแย่ง และแข่งขัน
คดโกงกัน ไปทุกหน
ในจิต คิดเล่ห์กล
ต่างฉ้อฉล เอาเปรียบกัน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕…

…เหมือนดั่งโบราณที่ท่านว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าหนึ่งตาเห็นสิบตาเห็น ไม่เท่าหนึ่งมือคลำสิบมือคลำ ไม่เท่ากับทำเอง”

…การเรียนรู้และการเข้าใจในตำรานั้นมันเป็นเพียงกระบวนการทางความคิดความจำ ไม่เข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริงเพราะเรายังไม่ได้ทำ สภาวธรรมนั้นเป็นของเฉพาะตนคือความเป็นปัจจัตตังสภาวธรรมทั้งหลายนั้นมีเพียงความคล้ายคลึงกัน แต่จะไม่เหมือนกันไปหมดทุกอย่าง เพราะความเป็นของเฉพาะตนนั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙…

…การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขาร บางครั้งก็เป็นทุกข์ได้ เพราะว่าเกินความพอดี ทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้ เพราะว่าเกินกำลัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙…

…อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ
วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร
ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ
วณฺโณ สุขํ พลํ…

…ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๓…

…คงจะเป็นเพราะความอิ่มตัวจึงทำให้ใกล้ถึงเวลาที่จะคืนกลับสู่ความเป็นสามัญ หลังจากที่ได้เปิดตัวออกมาเพื่อสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ สามเณรและญาติโยมทั้งในเรื่องทางโลกและทางธรรมตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ได้กระทำมาเกือบหมดทุกอย่างแล้ว เริ่มจากเป็นพระนักการเกษตรปลูกพืชผักผลไม้ เป็นพระนักสวด เป็นพระนักเทศน์ เป็นพระหมอยา หมอต่อเส้น หมอกระดูก หมองู หมอดูหมอผี เป็นหมอเจ้าพิธี เป็นพระนักสร้างนักพัฒนา เป็นพระเกจิอาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสกเลขยันต์สร้างวัตถุมงคล เป็นพระอาจารย์สักยันต์ เป็นพระศิลปินสร้างงานศิลป์ ออกแบบเขียนแบบวัดวาอารามเป็นช่างถ่ายภาพ เป็นนักเขียนเป็นมาทำมาเกือบทุกอย่างแล้วเหลือเพียงสิ่งเดียวที่ยังไม่ได้ทำคือทำพระนิพพานให้แจ้ง

…คงจะถึงเวลาที่จะต้องหันมาสงเคราะห์ตนเองให้เวลาแก่ตนเองมากขึ้น ปลีกตัวออกจากหมู่คณะลดการคลุกคลียุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกทั้งหลาย มาเน้นเรื่องทางธรรมให้มากขึ้น ยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔…

…อยู่กับปัจจุบันธรรม ด้วยการเจริญสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่หนีปัญหาด้วยการหลบเข้าอารมณ์สมาธิใช้สติและปัญญาพิจารณาหาเหตุหาปัจจัยของอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วเข้าไปดับที่เหตุ โดยการพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ของอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จนเกิดความกลัวความละอายและเกรงกลัวต่ออกุศลจิตทั้งหลาย เกิดธรรมสังเวชขึ้นในจิต เพื่อให้จิตถอดถอนจากการยึดถือเพราะเกิดความเบื่อหน่ายจางคลาย เกิดการปล่อยวาง เมื่อจิตไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยึดถือแล้วมันก็ดับเหตุไปได้ครั้งหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องพยายามกระทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเกิดความเคยชินความชำนาญ ในการคิดการพิจารณา รู้เท่าทันอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นและดับอารมณ์เหล่านั้นให้ได้รวดเร็วขึ้น จนเป็นอุปนิสัย แล้วเราจึงจะปลอดภัยจากกระแสโลก

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘…

…มีผู้สงสัยเพราะไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า “ใบลานเปล่า” และคำว่า “น้ำที่เต็มแก้ว” ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรซึ่งทั้งสองคำนี้เป็นการอุปมาอุปมัยถึงภูมิธรรมภูมิปัญญาของผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติธรรมมีความหมายเนื้อหาที่แตกต่างกันโดยลักษณะ ซึ่งพอจะอธิบายขยายความได้ดังนี้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๒…

…ชีวิตต้องดำเนินต่อไป ตราบที่ลมหายใจนั้นยังมีอยู่ การเริ่มต้นของเช้าวันใหม่ เราควรจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของเราเองเมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา จงเจริญสติและสัมปชัญญะให้มีความสมบูรณ์มีความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมในกายและจิตของเรา ตั้งจิตของเราให้เป็นกุสลจิต เพื่อชีวิตในเช้าวันใหม่เป็นการสร้างเหตุและปัจจัยให้แก่ชีวิตของเรา เพื่อที่จะรับเอาสิ่งที่ดีๆเข้ามาสู่ชีวิต ซึ่งมันต้องเริ่มที่จิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘…

…ในส่วนลึกของจิตสำนึกนั้นทุกคนย่อมจะมีจิตสำนึกแห่งความใฝ่ดีซ่อนอยู่เสมอ เพียงแต่บางครั้งยังไม่ได้แสดงออกมาเพราะเงื่อนไขของเรื่องจังหวะเวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคลนั้นยังไม่เอื้ออำนวย ไม่เปิดโอกาสให้แสดงออกมาได้ในสิ่งนั้นทุกคนต่างมีเหตุปัจจัยและพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกัน ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘”