บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓…

…อะไร ๆ ในโลกนี้ “มันก็เป็นเช่นนั้นเอง” ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า “จิตใจคนจะเสื่อมไปจากคุณธรรมตามกาลและเวลา จนสิ้นสุดพระศาสนาเมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี” เพราะโลกนี้เปลี่ยนแปลงไป ตามกฎของพระไตรลักษณ์ “ขอเพียงความเสื่อมนั้นอย่าเกิดจากเราเป็นผู้กระทำก็เพียงพอแล้ว”…

“…อย่าทำดีเพียงเพื่อ…ดีกว่าคนอื่น…”

…ยกคำอุทาหรณ์
และบทกลอนมาขยาย
เพื่อให้เข้าใจง่าย
ในความหมายให้จดจำ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗…

…การศึกษาธรรมและการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องมีวิจารณญาณอย่าเชื่อทันทีที่ได้ยินได้ฟังมาอย่าได้ศรัทธาเพราะยึดติดในตัวบุคคล จงเอาเหตุและผลมาเป็นที่ตั้ง แห่งการคิดและพิจารณาธรรมว่าควรจะเชื่อหรือจะปฏิเสธ ในสิ่งที่ได้อ่าน ได้ยินหรือได้ฟังมา ดั่งที่เคยกล่าวอยู่เสมอไว้ว่า “ถ้าเชื่อในทันที จะนำไปสู่ความงมงาย ถ้าปฏิเสธทันทีจะทำให้เสียโอกาสขาดประโยชน์” …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๑…

…ใคร่ครวญทบทวน ตัดปลิโพธความกังวลทั้งหลายออกไปชั่วขณะ ทำจิตให้ว่างจากอัตตา พิจารณาทุกอย่างตามความเป็นจริงในสิ่งที่เห็นและรับรู้ วางจิตให้นิ่ง ไม่เอาความรักความเกลียด ความพอใจและไม่พอใจมาตัดสินในปัญหามีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่ตลอดเวลา แยกแยะกุศลและอกุศลออกจากกัน โดยการพิจารณาถึงคุณ ถึงโทษ ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ในสรรพสิ่งที่ได้เห็นและได้รับรู้ เอามาเป็นครูสอนธรรม เตือนย้ำในจิตสำนึกอยู่ตลอดเวลาให้ระลึกรู้ในสิ่งที่ควรคิด ในกิจที่ควรทำตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่พึงมีทำหน้าที่ของเรานั้นให้สมบูรณ์ ตามกำลังความรู้ความสามารถที่เรานั้นพึงมี ให้จิตของเรานี้ระลึกถึงธรรมอยู่ตลอดเวลาเมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้นจะกลับมารักษาคุ้มครองเรา…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๑”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗…

…โรคที่รักษายากที่สุดคือโรคอุปาทาน เพราะว่ามันเกิดที่จิต มันยึดติดอยู่ใจมันคิดอยู่ตลอดว่าโรคนั้นยังไม่หายมันยังเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ จิตมันจะสร้างภาพและอาการของโรคที่คิดว่าเป็นอยู่ขึ้นมาตลอดเวลา

…การที่จะรักษาโรคอุปาทานนั้นจึงจำเป็นต้องมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ให้เขาเกิดความศรัทธาในการรักษา เพื่อให้เชื่อว่าอาการที่เขาเป็นอยู่นั้น ได้รับการรักษาและแก้ไขให้แล้ว พิธีกรรมนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีและต้องทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒…

…บันทึกเรื่องราวความรู้สึกนึกคิดของจิตวิญาณ ผ่านกาลเวลาแห่งช่วงอารมณ์ มันคือปัจจุบันธรรมอันเป็นธรรมชาติของจิต ที่แท้จริงที่เราควรคิดพิจารณา

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็นแล้วก็ปล่อย” สิ่งนี้เป็นคติธรรมที่ใช้สอนศิษย์และคนใกล้ชิดทั้งหลายเพื่อที่จะได้รู้พื้นฐานความคิดและจิตสำนึกของเขาเหล่านั้น ว่าเขามีพื้นฐานเป็นอย่างไร โดยการกระทำทางกายให้เห็น ทำให้เป็นตัวอย่างไม่ต้องกล่าวไม่ต้องสอนด้วยวาจา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖…

… “รู้ไปหมด แต่อดไม่ได้” นั้นเป็นเพราะความเคยชินที่สะสมมาต้องพยายามแก้ไขพฤติกรรมทางความคิดเสียใหม่ค่อยๆคิดค่อยๆทำ สั่งสมประสบการณ์ทางจิต ทางความคิด สร้างความเคยชินให้เป็นนิสัย เปิดมุมมองของจิตให้เปิดกว้างและต้องพยายามกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นพฤติกรรมปกติของจิตในการคิดการทำและการพูด

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๐…

…ชีวิตคือการเดินทางของจิตวิญญาณ ที่ต้องผ่านบททดสอบมามากมายกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต เรียนรู้ความถูกผิดและดีชั่วอยู่ตลอดเวลา แสวงหาซึ่งความสำเร็จของชีวิตที่คิดไว้แตกต่างกันไปตามความปรารถนาของแต่ละคน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖…

…อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทาความสุขหรือความทุกข์และลาภยศทั้งหลาย อย่าไปหวั่นไหวกับมันเพราะว่าความหวั่นไหวนั้นมันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เรียกว่าเป็นคนโลเลไม่แน่นอน ไม่มีความกล้าที่จะลงมือกระทำในสิ่งใดจิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม ซึ่งจะนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไรใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑…

…ถ้าไม่ยึดอะไรในสิ่งรู้ ก็จะอยู่อย่างสงบพบเยือกเย็น…จากหนังสือ “ฟ้าสางทางสุภาษิต ที่ข้าพเจ้าชอบ”…
…หลวงพ่อพุทธทาส โมกขพลาราม ไชยา…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราวมากมาย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะสิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้ เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นขยะทางความคิดลบมันไปไม่จดจำ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕…

…พุทธประสงค์ ๕ ประการ…

๑. สุตตานัง วิสุทธิยา ทำกายวาจาใจของสัตว์โลกให้บริสุทธิ์หมดจด

๒. โสกปริเทวานัง สมติกกมายะ ดับความเศร้าโศกปริเทวนาต่าง ๆ

๓. ทุกขโทมนัสสานัง อัตถังคมายะดับความทุกข์กาย ดับความทุกข์ใจ

๔ .ญายัสสะ อธิคมายะ เพื่อบรรลุมรรค

๕. นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕”