บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๙…

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็นแล้วก็ปล่อย” คือคติธรรมประจำใจในการสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย ไม่ไปจัดระเบียบ เรียกร้องผู้อื่น ให้กระทำตามความต้องการของเรา จัดระเบียบของตัวเราเอง เรียกร้องตัวเราเองในการประพฤติปฏิบัติ ใครจะทำหรือไม่ทำนั้นเป็นเรื่องของเขา แต่ตัวเราต้องกระทำให้เป็นตัวอย่างแก่เขาในกิจวัตรของสงฆ์ทั้ง ๑๐ ประการให้สมบูรณ์ครบถ้วน

…เป็นการสอนแบบไม่ได้สอน นั้นคือการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแบบอย่างเพื่อสร้าง จิตสำนึกให้แก่เขา ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ว่าจะเก็บเกี่ยวได้มากน้อยเพียงใด ในการที่จะศึกษาเรียนรู้

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕…

…การรักษาศีลนั้น เราอย่าไปยึดติดกับถ้อยคำและตัวอักษรให้มากเกินไปมันอยู่ที่ใจของเรา เพราะว่าการรักษาศีลนั้น คือการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกายและใจของเราภาษาชาวบ้านเรียกว่าใจอยู่กับกับเนื้อกับตัว รู้ว่าเรากำลังทำอะไรและสิ่งที่เราทำนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็ไม่ควรกระทำ ควรงดเว้นการที่เราหักห้ามใจในอกุศลได้นั้น ทำให้เกิดคุณธรรม คือหิริและโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๐…

…ระลึกถึงคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวไว้ “จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัยผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ”

…การเจริญวิปัสสนาคือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือการบำเพ็ญภาวนากุศลการฝึกตนให้มีสติอยู่กับรูปและนามคือความเป็นผู้ไม่ประมาทไม่อยู่ปราศจากสติ ผู้นั้นจึงได้ชื่อว่าปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเป็นมัชฌิมาคือสายกลาง ปฏิบัติถูกต้องตามพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔…

…ในการทำงานนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติสัมปชัญญะและมีสมาธิในการทำงาน เพราะในการทำงานแต่ละอย่างนั้น ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาอยู่ตลอดเวลา การที่เรามีสตินั้นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอเพราะว่าเรามีสมาธิในการทำงานจึงสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ไม่ตื่นตกใจหรืออารมณ์เสียเมื่อเจอปัญหา ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔…

…“ภิกษุทั้งหลาย! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้ มิใช่เพื่อหลอกลวงคนเพื่อให้คนบ่นถึง เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเราก็หามิได้ แต่ที่จริงแล้วเพื่อความสังวรระวัง เพื่อละกิเลสเพื่อคลายกิเลส และเพื่อดับกิเลสเท่านั้น”

“นยิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนุติ”
…พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙…

..หลักของการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นไปเพื่อความเจริญในธรรม “ไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีงามเป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยกุศลเป็นมงคลต่อชีวิตและสังคม” นั้นคือสิ่งที่ควรจะศึกษาและนำมาปฏิบัติ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะและสถานะของตน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๙…

…ธรรมะนั้นเป็นเรื่องของการกระทำภายในจิต ไม่ใช่เพียงคำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน ไม่ใช่การอ่านการท่องให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้

…ธรรมะทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นอยู่ที่กายและที่จิต อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่กำลังกระทำ เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติที่แท้จริงของจิต ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลาและโอกาส สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลาย

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๘…

…ย้ำเตือนอยู่เสมอว่า “จงเป็นเพียงสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา” ผ่านมาแล้วก็จากไป ทิ้งไว้เพียงความทรงจำที่งดงามตามรายทาง…

…เป็นกรรมกรธรรม ใช้โยธากัมมัฏฐานเพื่อเป็นการเจริญสติและสัมปชัญญะยังให้เกิดประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านเป็นลดละซึ่งมานะและอัตตา ความโลภความหลงในโลกธรรม ๘ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดำเนินชีวิตไปตามวิถีทางที่มุ่งหวัง เป็นไปเพื่อให้ความเจริญในธรรมนั้นบังเกิด ชีวิตที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ มันก็คือกำไรของชีวิต…

…อ้อมกอด ของขุนเขา
ใต้ร่มเงา พงพนา
ทบทวน สิ่งผ่านมา
ระลึกรู้ ในทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓…

…เยาวชน คือฐานรองรับของมวลมนุษย์ การพัฒนาของเยาวชนนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำเพื่อที่จะชี้นำเยาวชนเหล่านั้นไปสู่ทิศทางที่ดี จึงจำเป็นต้องมีแนวทางและแบบอย่างที่ดีในการที่จะให้เยาวชนนั้นได้เรียนรู้และดูเป็นแบบอย่างซึ่งจะมีหลักในการสอนการชี้แนะหลักๆอยู่ ๗ ประการคือ

๑. สอนให้รู้จักหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี

๒. สอนให้รู้จักการใช้ชีวิตรวมหมู่และอยู่ในสังคมอย่างมีระเบียบวินัย

๓. พยายามสร้างแรงจูงใจในการใฝ่ความรู้และความคิดจิตสร้างสรรค์

๔. สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เขาเองให้เขามุ่งมั่นพัฒนาตัวเขาเองให้เต็มศักยภาพ

๕. ปรับทัศนคติและค่านิยมของเขาให้รู้จักการใช้เหตุและผล

๖. กระตุ้นให้เขามีความกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลามีความพร้อมที่จะทำงานทุกเมื่อ

๗. สอนให้เขารู้จักการแก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองก่อนที่จะไปหวังพึ่งผู้อื่น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓…

…“เมื่อเราเพียรเพ่งดูจิต ดูความคิดให้จิตอยู่กับตนเองตลอดเวลาเราก็จะเข้าใจในสังขารร่างกายและจิตของเรา”…

…“ ความว่างทางจิตนั้นคือความว่างจากอารมณ์ยินดี ยินร้ายแต่ไม่ว่างจากตัวรู้ ยังตามดูตามเห็นแต่จิตไม่ไปคิดปรุงแต่ง ”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๘…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…“นิ่งไม่เป็น โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก” เพราะบางครั้งที่เราแสดงความคิดอวดฉลาดอวดรู้ออกไปนั้น มันเป็นการเอาความโง่ของเราออกมาประจานตัวเราเอง คำพูดและการกระทำ มันสามารถที่จะนำมาวิเคราะห์ว่าเขาเป็นอย่างไร ภูมิธรรมภูมิปัญญาระดับไหน มาจากความจริงใจหรือว่าเป็นมายา เมื่อเรานิ่งสงบย่อมจะมีเวลาที่จะที่ตั้งสติและมีสมาธิในการคิดพิจารณา ศีล สมาธิ ปัญญา คือแนวทางของการแก้ปัญหาทุกอย่างของชีวิต…

…แด่ความนิ่งสงบที่จะสยบความเคลื่อนไหว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๘”