ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๖…

…ทุกชีวิตย่อมประสพกับอุปสรรคปัญหาด้วยกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังบุญกุศลของแต่ละคนที่ทำมา ไม่มีใครที่จะหนีพ้นอุปสรรคปัญหาไปได้ แต่ในอุปสรรคปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมที่จะมีทางแก้ไขได้ในทุกปัญหา ถ้าหากใช้สติปัญญา ความรู้สึกนึกคิดและจิตที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างความคิดที่ติดอยู่กับผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๑…

…จงคิดเสมอว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ทุกอย่างที่ทำลงไปนั้น คือการสร้างบารมีเพื่อให้ใจเรามีปีติ มีกำลังใจ ไม่เบื่อที่จะทำสิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา อย่าคิดว่าเป็นภาระเป็นปัญหา คิดว่าเป็นหน้าที่ ที่เราต้องกระทำเพื่อสงเคราะห์และอนุเคราะห์แก่ผู้คนทั้งหลายจงคิดเสมอว่าปลายทางนั้นย่อมจะสั้นลงทุกขณะตราบใดที่เรานั้นยังก้าวเดินตรงไปหาจุดหมายชีวิตนั้นเกิดมาเพื่อหน้าที่ ชีวิตที่เหลืออยู่นี้คือการทำหน้าที่ให้ดีที่สุดของความเป็นมนุษย์ธรรมนั้นเป็นสภาวะที่อยู่ภายในของจิตมิใช่อยู่ที่การแสดงออกทางกาย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๖…

…”ความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ” คือพอเพียงและพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น พึงพอใจในอัตภาพของคนเอง ชีวิตที่เหลือคือการทำหน้าที่ของตนไปจนสิ้นอายุขัย ความสุขความสบายใจก็จะเกิดขึ้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะว่าใจมันบอกว่า “พอแล้ว”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๓…

…อวดดี ทั้งที่ไม่มีดีในตัว
อวดเก่งทั้งที่ไม่มีความเก่งในตัว
อวดรู้ ทั้งที่ไม่มีความรู้อะไรในตัว
คนโง่ชอบอวดตัวว่าเป็นคนฉลาด
คนขี้ขลาด มักจะอวดตัวว่าเป็นผู้กล้า….

…วางใจให้มันมั่งคง ไม่กังวลไม่สนใจใคร ทำให้เหมือนกับอยู่คนเดียว ภายนอกเคลื่อนไหวภายในทำใจให้สงบ พิจารณาร่างกายพิจารณาดูจิต มันฟุ้งซ่านไปไหนก็ให้รู้จักมัน รู้เท่าทันกับกิเลสสู้กับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเราเอาชนะมันให้ได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับวันๆหนึ่ง…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๕…

…หลวงพ่อพุทธทาสท่านสอนไว้ว่าชีวิตคือการทำงาน การทำงานอย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรมดำเนินชีวิตด้วยการทำงานทั้งทางภายนอกและภายในควบคุมกายใจด้วยสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลาพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ทำใจให้ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้ เพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลาย ก็จะหายไปสิ้นไป จิตเข้าสู่ความโปร่งโล่ง เบา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๐…

…วิถีทาง วิถีธรรม ของนักเดินทาง…

๐ กลับมาสู่อ้อมอก
ที่ป้องปกและคุ้มครอง
ชีวิตที่ลอยล่อง
ประสบการณ์ของร่างกาย

๐ อ่อนล้าเพราะแรมรอน
ได้พักผ่อนให้เหนื่อยคลาย
หลับลงอย่างสบาย
เมื่อกลับสู่ถิ่นที่เดิม

๐ กลับมาเพื่อเติมฝัน
ถึงคืนวันที่ริเริ่ม
ทบทวนเพื่อต่อเติม
เสริมสร้างขวัญกำลังใจ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๕…

…วิถีทางแห่งชีวิตของแต่ละคนต่างก็มีจุดหมายปลายทางที่ต่างกัน เราเลือกเส้นทางฝันของเราเองจิตวิญญาณที่ต้องการอิสระปลดปล่อยพันธะแห่งมายาแสวงหาความสุขที่แท้จริงไม่เคยหยุดนิ่งต่างดิ้นรน

…รางวัลสำหรับชีวิตวางไว้ที่จุดหมายปลายทางต่างคนต่างมุ่งไปให้ถึงจุดนั้นมีอุปสรรคมากมายตามรายทางทุกย่างก้าวเต็มไปด้วยอันตรายอาจจะตายก่อนถึงจุดหมายปลายทาง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๒…

…กระแสธรรมที่พัดผ่านกาลเวลา…

…พบปะสนทนากับผู้คนมากมายทั้งในเรื่องทางโลกและทางธรรมตามกรรมตามวาระ อาศัยหลักธรรมเป็นเครื่องอยู่เครื่องอาศัย ปรับใช้กับชีวิตในแต่ละวันเวลา แต่ละสถานที่และตัวบุคคล เพราะทุกคนที่เราพบปะนั้น มีเหตุผลของแต่ละคนที่แตกต่างกัน จึงต้องคัดสรรค์ธรรมให้เหมาะสมให้สอดคล้องกับจังหวะเวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคลสิ่งที่ต้องขบคิดและพิจารณาก็คือการใช้ภาษาในการสนทนาธรรมว่าจะทำอย่างไรในการถ่ายทอดที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ใช้ภาษาอย่างไรที่จะให้เขาเข้าใจได้ง่ายซึ่งบางครั้งการที่เราใช้ภาษาในเชิงวิชาการมากไปนั้น บางครั้งก็เพิ่มความไม่เข้าใจให้แก่ผู้ฟังเพราะเป็นภาษาที่เข้าใจได้ยากเช่นคำศัพท์ภาษาบาลี หรือคำศัพท์ภาษาธรรม เพราะว่าฟังแล้วต้องหาคำแปล คำอธิบายคำศัพท์อีกรอบหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก สับสนทั้งผู้พูดและผู้ฟัง เพราะไปติดยึดในการสร้างวาทะกรรมให้สวยหรูดูดี

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๔…

…ระลึกนึกถึงข้อธรรมคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล บทหนึ่งที่ท่านกล่าวไว้ว่า “การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ” เอามาเป็นข้อคิดและพิจารณาน้อมนำมาซึ่งการปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจในข้อธรรมนั้นๆ ตามกำลังของสติระลึกรู้ที่เราได้ฝึกฝนมาตามหลักธรรมที่ว่า “คิดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิด จิตจึงรู้แต่ก็ต้องอาศัยความคิด ทำงานทุกชนิด ด้วยจิตที่ว่างจากอัตตาปัญญาก็จะเกิด” เป็นสิ่งที่ต้องหมั่นฝึกฝน ให้จนเป็นความเคยชินของจิตในการคิดและการทำงาน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๔”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๙…

…ธรรมทั้งหลายเป็นสัจธรรมแต่ที่ไม่เที่ยงและไม่ใช่ตัวตนคือการปรับใช้ที่ต้องแปรเปลี่ยนไปเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุและปัจจัยที่เห็นและเป็นอยู่…

…ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักปรับใช้ให้เหมาะสมมันก็จะกลายเป็น “สีลพรตปรามาส”คือการยึดถือในข้อวัตรที่เคร่งครัดสุดโต่งจนเกินไป กลายเป็นการยึดถือเพราะอัตตาซึ่งจะนำมา ซึ่งมานะทิฐิคือการถือตัวถือตนในโอกาสต่อไป…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๙”