ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗…

…สาระธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์…

…ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการกำหนดพิจารณาธรรมตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรมที่มีปรากฎอยู่ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ก็มีอยู่ ได้ยินอยู่ สัมผัสอยู่ปรากฎอยู่ จิตใจเล่าก็มีอยู่ ความนึกคิดรู้สึกในอารมณ์ต่างๆทั้งดีและร้ายก็มีอยู่ความเสื่อม ความเจริญทั้งภายนอกภายใน ก็มีอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๗”

รำพึงธรรมคำกวีกาพย์ยานี ๑๑ ก่อนลงทำวัตรเย็น

…รำพึงธรรมคำกวีกาพย์ยานี ๑๑ ก่อนลงทำวัตรเย็น…

…อดทน หมั่นฝึกฝน
หมั่นฝึกตน ให้เคยชิน
การอยู่ และการกิน
ให้เรียบง่าย ไม่วุ่นวาย

…เรียบง่าย ไร้รูปแบบ
แต่อิงแอบ ด้วยความหมาย
สาระ มีมากมาย
ไม่ยึดติด รูปแบบกัน

…เรียบง่าย ไม่มักง่าย
คือความหมาย ในตัวฉัน
สาระ เป็นสำคัญ
ที่มุ่งหมาย ให้มันมี

…เรารู้ อยู่แก่จิต
ถ้าพินิจ ให้ถ้วนถี่
ที่คิด และที่มี
ต่างก็รู้ อยู่แก่ใจ

…อยู่ที่ จิตสำนึก
ความรู้สึก จากข้างใน
มากน้อย ขนาดไหน
สิ่งที่คิด กิจที่ทำ

…ชั่วดี ใจนั้นรู้
มันขึ้นอยู่ กับเวรกรรม
อยู่ที่ คุณธรรม
มีหรือไม่ ในใจตน

…รู้ชั่ว ก็ควรละ
ใช้ตรรกะ และเหตุผล
รู้ดี มีอดทน
รักษาไว้ ให้ยืนยาว

…มากเรื่อง ไม่เรื่องมาก
ลดความอยาก ทุกเรื่องราว
ทำใจ สะอาดขาว
ว่างกิเลส และอัตตา

…มองสิ่ง ที่มันเป็น
มองให้เห็น ซึ่งเนื้อหา
ฝึกฝน เริ่มต้นมา
จากความคิด ด้วยจิตใจ

…รอคอย อย่างอดทน
หมั่นฝึกฝน กันต่อไป
ยาวนาน ขนาดไหน
อย่าได้ท้อ จงรอคอย

…ขันติ ความอดทน
หมั่นฝึกฝน มิท้อถอย
สิ่งหวัง ตั้งใจคอย
ความสำเร็จ ใช้เวลา…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๓๐ กันยายน ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๗…

…ทุกสิ่งอย่างสามารถที่จะสงเคราะห์เข้ากับหลักธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาพระสัมพุทธเจ้าได้ ถ้าเรานั้นเปิดใจ ยอมรับความเป็นของสรรพสิ่งที่เป็นไปในโลกนี้ บนหลักของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน แปรเปลี่ยนไปได้ทุกโอกาส ตามเหตุและปัจจัย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๗”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๒

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๒…

…เป็นธรรมดาของทุกชีวิตในโลกนี้ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหาเพราะว่าทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่หวังไว้เสมอ ดั่งคำที่กล่าวว่า… “เส้นทางของชีวิตมิได้โรยด้วยกลีบของดอกกุหลาบเสมอไป” แต่ทำอย่างไร เราจะเข้าใจและเข้าไปแก้ไขอุปสรรคปัญหานั้นได้

…“ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุและดับไปที่เหตุ” เราจึงต้องฝึกขบวนการคิดเพื่อเข้าไปหาเหตุโดยเริ่มจากการฝึกใจให้นิ่งเสียก่อน” นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว “ซึ่งจะทำให้ใจนิ่งได้นั้น มันต้องมีสมาธิและการที่จะมีสมาธิได้นั้นมันต้องมีสติ เราจึงต้องฝึกให้มีสติเสียก่อน ก่อนที่จะทำจิตให้สงบ…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖…

…ธรรมจากหลวงพ่อชาแห่งวัดหนองป่าพง… “เราเคยเรียนธรรมะในกระดาษรู้ธรรมะตามกระดาษ สอบความรู้ในกระดาษและท่านก็รับรองความรู้ด้วยกระดาษ ซึ่งเราเคยผ่านมาแล้วเมื่อเรามาปฏิบัติก็จะทราบได้เองว่าธรรมะที่เกิดจากสัญญา (เรียน จำได้)กับธรรมะที่เกิดจากการภาวนามันต่างกันมากอยู่ มันมีความหมายละเอียดต่างกัน มันเหมือนกับคนหนึ่งมีรูปม้าหลายๆแผ่น อีกคนหนึ่งมีม้าอยู่ตัวเดียว ถึงคราวออกเดินทางคนที่มีม้าตัวเดียวยังดีกว่าคนที่มีรูปม้าหลายแผ่น เพราะอันหนึ่งมันใช้ได้ อันหนึ่งใช้ไม่ได้ เรื่องนี้ผู้มาประพฤติปฏิบัติย่อมรู้เองได้ไม่ใช่เรื่องบอกกัน”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๖…

…เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา กับสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้น เราจะรู้สึกว่าเวลานั้นแสนสั้นเหลือเกิน เพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันธุ์ยึดถืออยู่กับสิ่งนั้นไม่อยากจะให้มันผ่านพ้นไป และในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้นเรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่กำลังมีและกำลังเป็นอยากจะให้มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็วเราก็จะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าเหลือเกินเพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธในสิ่งที่กำลังเป็นไป มันจึงรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้ามาก…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๖”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๑

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๑…

…วันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะนั้นพยายามเจริญสติและสัมปชัญญะให้มากเท่าที่จะทำได้ ตามกำลังความสามารถและโอกาสที่มี พยายามดับสิ่งที่เป็นอกุศลในจิตให้ดับไปโดยรวดเร็ว คอยควบคุมอารมณ์ความรู้สึกไม่ให้ปรุงแต่งไปกับผัสสะสิ่งกระทบทั้งหลาย รักษาจิตไว้ให้เป็นกุศล ตรวจสอบกาย ตรวจสอบจิตตรวจสอบความคิด ตรวจสอบการกระทำทบทวนถึงสิ่งที่ผ่านมาในหนึ่งวัน ว่าเวลาที่ผ่านไปนั้น จิตเราเป็นอย่างไร ใจเราอยู่กับกุศลหรืออกุศลฝ่ายไหนมากกว่ากัน

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕…

…”ให้ระวังความคิด คิดมาก ๆ มันจะกลายเป็นการกระทำให้ระวังการกระทำ กระทำมากๆจะกลายเป็นความเคยชินให้ระวังความเคยชิน เคยชินมากๆจะกลายเป็นนิสัยให้ระวังนิสัยที่สั่งสมไว้ จะกลายเป็นอุปนิสัย ติดภพติดชาติไป” นี่คือคำกล่าวของหลวงพ่อชาวัดหนองป่าพง อุบลราชธานีซึ่งท่านได้กล่าวสั่งสอนไว้ให้ศิษย์ทั้งหลายได้พิจารณา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๐

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๐…

…ถ้าจิตใจเศร้าโศกไม่เบิกบานร่าเริงแล้ว ความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะหายไปหมด แต่ถ้าจิตใจไม่เศร้าโศก มีแต่ความร่าเริงแจ่มใสเกษมสำราญ ความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะปรากฏขึ้น ดั่งคำที่ว่า “จิตดีกายเด่นจิตด้อย กายดับ” เมื่อจิตใจเป็นกุศลความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๕…

…คำเอยคำครูสอน
แต่เก่าก่อนโบราณมา
ได้ยินและผ่านตา
จึงนำมาสู่กันฟัง…

“ถ้าเอาเปรียบเขาไม่ได้ก็ว่า “ไม่ถูก” ถ้าจูงจมูกได้ทุกทีก็ว่า “ดีเหลือ”
(คำของหลวงพ่อพุทธทาส)…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๕”