ใคร่ครวญทบทวนกับอดีตที่ผ่านมา

…ใคร่ครวญทบทวนกับอดีตที่ผ่านมา…

…ชีวิตที่ผ่านมาในสมัยเป็นฆราวาสนั้นย่อมมีความผิดพลาดมากบ้างน้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนที่ยังเต็มไปด้วยเรื่องของกิเลส ตัณหาและอัตตาจึงนำพาชีวิตให้เดินผิดทาง

…แต่เมื่อได้เข้ามาสู่เส้นทางธรรมแล้วก็พยายามลดละ ละลายพฤติกรรมเก่าพยายามสร้างคุณประโยชน์เพื่อสังคมเพื่อเป็นการชดใช้วิบากกรรมที่ได้ทำมากาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ซึ่งตัวตน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญทบทวนกับอดีตที่ผ่านมา”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๔…

…ในบางครั้งขณะที่เรากำลังก้าวเดินไปข้างหน้า เรามักจะคิดว่าทางที่เดินมานั้นมันตรง แต่เมื่อเราหันกลับไปมองรอยทางที่เดินมา จึงได้รู้ว่าทางที่เดินมานั้นมันไม่ตรง เพราะเราหลงเข้าใจผิดคิดว่ามันตรง มองไปข้างหน้าอย่างเดียวลืมเหลียวกลับมาดูข้างหลัง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๔”

บอกเล่าจาการเดินทาง

…บอกเล่าจาการเดินทาง…

…จงพยายามทำพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาสากล โดยเอาเหตุและผลมาเป็นที่ตั้ง ปรับเข้าหาธรรมชาติแห่งความเป็นจริงทั้งหลาย ที่รู้ได้และสัมผัสได้ด้วยการกระทำสามารถที่จะนำไปใช้เป็นหลักในการดำเดินชีวิตประจำวัน เพราะธรรมะนั้นก็คือธรรมชาติทั้งหลาย ที่แปรเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของจังหวะเวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคลโดยมีองค์แห่งคุณธรรมคุ้มครองอยู่คือเป็นผู้ละอายและเกรงกลัวต่อบาปประกอบด้วยความมีเมตตา โอบอ้อมอารี มีใจเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในจิตใจของคนทั้งหลายอยู่แล้ว โดยไม่จำกัดเรื่องเชื้อชาติและศาสนา

อ่านเพิ่มเติม “บอกเล่าจาการเดินทาง”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔…

…ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ที่การเริ่มต้น “It is never too late to mendไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น” ถ้าเรามีความตั้งใจที่จะทำและมีความรับผิดชอบ ในความคิดของเราเอง คือมีสัจจะต่อตนเองแล้วทุกอย่างเริ่มต้นได้ทันทีและทุกเวลาทุกโอกาส

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙…

…ย้ำเตือนสติตนเองอยู่เสมอว่าจงกล่าวธรรมเพื่อธรรม กล่าวธรรมโดยธรรม ทำหน้าที่โดยการกล่าวธรรมซึ่งต้องให้เหมาะสมกับ จังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และบุคคล คือต้องรู้จักกาลเทศะ ไม่กล่าวธรรมพร่ำเพรื่อต้องให้เหมาะกับกาล การกล่าวธรรมนั้นจึงจะบังเกิดผลสัมฤทธิ์ ก่อให้เกิดความเจริญในธรรมและได้รับการสนองตอบ เพราะชอบด้วยกาลและเวลาคือถูกที่ ถูกทางและถูกธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓…

“คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข”

“น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา”
…โพธิสัตว์สุภาษิต อารามทูสกชาดก ๒๗/๑๕…

… หลับตาเจริญสติภาวนา เหมือนกับอ่านตำราในห้องเรียนหรือสอบข้อเขียนโดยทั่วไป แต่การปฏิบัติโยธากัมมัฏฐานเหมือนกับการสอบการปฏิบัติภาคสนาม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๓…

…เดินทางร้องลี้ ดีกว่าอ่านหนังสือหมื่นเล่ม…

…จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งในทางโลกและทางธรรม ช่วงหนึ่งของชีวิตแห่งการเดินทางได้ประสพ พบเห็นอะไรมามากมายเก็บบันทึกไว้ในความทรงจำ ได้น้อมนำมาพิจารณา มองหาที่มาและที่ไปของสิ่งเหล่านั้นทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุและมีปัจจัยเป็นตัวประกอบ ค้นหาให้เห็นซึ่งที่มาของสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นมาอย่างไร ก่อนที่เราจะได้รู้และได้เห็นมันดำเนินไปเช่นไรและจะจบลงที่ตรงจุดไหนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป นั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่ากฎพระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งสมมุติทั้งหลายยึดถือไม่ได้ นั้นคือความเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา เป็นธรรมดาของสรรพสิ่งในโลกนี้…

…พอดี พอเพียง พอใจ…

๐ มากมาย หลายหลาก เรื่องราว
ข่าวคราว ทำให้ สับสน
เกิดจาก กิเลส ของคน
สับสน ไม่รู้ จักพอ

๐ ไม่มี ก็อยาก จะได้
อยากให้ มันมี ขึ้นต่อ
เพราะใจ ไม่รู้ เพียงพอ
จึงก่อ เกิดความ วุ่นวาย…

๐ กิเลส นั้นเกิด ที่จิต
ความคิด ที่มี หลากหลาย
ความอยาก ที่มี มากมาย
ขวนขวาย เพื่อให้ ได้มา

๐ สนอง ความอยาก ตนเอง
ไม่เกรง และกลัว บาปหนา
ทำไป เพื่อให้ ได้มา
ตัณหา ความอยาก มากมี

๐ ความสุข และความ สำเร็จ
เบ็ดเสร็จ อยู่ที่ จิตนี้
ถ้าจิต พอเพียง ตามมี
เท่านี้ มันก็ สุขใจ

๐ จิตนั้น คิดว่า เพียงพอ
ไม่ก่อ ความอยาก ขึ้นใหม่
พอดี พอเพียง ที่ใจ
สุขได้ ถ้าใจ นั้นพอ

๐ ไม่ต้อง ดิ้นรน ขวนขวาย
สบาย ที่ใจ นั้นหนอ
พบสุข โดยไม่ ต้องรอ
ใจพอ มันก็ พอดี

๐ พอดี พอใจ ในตน
ทุกคน จะพบ สิ่งนี้
เพียงพอ ในสิ่ง ที่มี
เท่านี้ มันก็ พอใจ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๖ กันยายน ๒๕๖๕…

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘…

…หลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวไว้ว่า ชีวิตคือการทำงาน เพราะการทำงานอย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรมน้อมนำเอาคำสอนนั้นมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ดำเนินชีวิตด้วยการทำงานทั้งทางภายนอกและภายใน ควบคุมกายใจด้วยสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลาพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ทำใจให้ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้เพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเห็นเหตุและปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลายก็หายไปสิ้นไป

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๗

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๗…

…กวีธรรมตามรายทาง…

…ร้อยเรียงกวีธรรม
ร้อยลำนำตามรายทาง
เพื่อให้เป็นแบบอย่าง
แด่ผู้คนที่สนใจ

…หลายหลากมากเรื่องราว
นำมากล่าวเล่ากันไป
ชี้แจงแถลงไข
บอกทางสุขให้ทุกคน

…เน้นย้ำเรื่องสติ
ให้ดำริด้วยกุศล
เพื่อความเป็นมงคล
ต่อชีวิตและครอบครัว

…ให้มีคุณธรรม
ไม่ถลำทำความชั่ว
ละอายและเกรงกลัว
ต่อบาปกรรมที่เข้ามา

…มีจิตเกื้อการุณย์
คอยเกื้อหนุนมีเมตตา
มีจิตคิดอาสา
สร้างประโยชน์ต่อสังคม

…ผ่อนคลายด้วยภาพถ่าย
ที่มากมายได้สะสม
เพลิดเพลินในอารมณ์
ชวนให้คิดและติดตาม

…แฝงด้วยสาระธรรม
ที่ชี้นำอย่ามองข้าม
วัดวาและอาราม
นำเสนอเป็นประจำ

…ขอบคุณที่ตามติด
ไมตรีจิตจะหนุนนำ
ก่อเกิดกุศลกรรม
ร่วมกันสร้างซึ่งทางดี…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔…

บันทึกปัจจุบันธรรม

…บันทึกปัจจุบันธรรม…

…การรู้ธรรมะ การเห็นธรรมะ มันอยู่ที่ “การปฏิบัติ” อันใดมันผิดเราก็หยุดเสียความผิดมันก็ไม่เกิดกับเรา อันใดมันถูกเราก็รักษาเข้าไว้ ให้มันเป็นมงคลอยู่กับใจของเรา การพิจารณาตัดสินผู้อื่นมีแต่จะเพิ่มความหยิ่งทะนงตน “จงเฝ้าดูตนเอง”…
…พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกปัจจุบันธรรม”