ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๕…

…ทบทวนใคร่ครวญเกี่ยวกับปลิโพธ ๑๐ ว่าเรานั้นยังติดอยู่ ข้องอยู่ ยังไม่ปล่อยสิ่งใดที่ยังมีกำลังมาก สิ่งใดที่มีกำลังน้อยสิ่งใดที่ละวางได้แล้ว เพื่อเป็นการตรวจดูความพร้อมก่อนออกเดินทาง ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๐…

…ในยุคสมัยของโลกที่กำลังสับสนวุ่นวายผู้คนขาดที่พึ่งทางใจ เพราะหลงใหลติดอยู่กับวัตถุนิยมและลัทธิการเสพติดข่าวสารทำให้ห่างเหินจากหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาพุทธเจ้า และเมื่อชีวิตประสพกับอุปสรรคปัญหา ไม่เป็นไปอย่างที่มุ่งหวังตั่งใจไว้ ใจก็เกิดความทุกข์ ความวุ่นวายเพราะหาทางออกไม่ได้

…จึงมีคนจำนวนหนึ่งหันกลับมาสนใจคำสอนในพระบวรพุทธศาสนา หันเข้าศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้มีความสะดวกสบาย สามารถหาข้อมูลได้ง่ายเกี่ยวกับหลักธรรมและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งในการศึกษาหาข้อมูลสำหรับการปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องใช้วิจารณญาณเลือกเฟ้นกัมมัฏฐานให้เหมาะสมกับจริตของเรา

…“อย่าเชื่อทันที ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่านเพราะอาจจะนำไปสู่ความงมงาย” และ “อย่าปฏิเสธทันที ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่านเพราะอาจจะทำให้เรานั้นเสียโอกาสขาดประโยชน์” เรา ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบครอบ ควรจะทดลองพิสูจน์ฝึกฝนที่ใจตนให้เกิดความกระจ่างชัดแล้วจึงเชื่อหรือปฏิเสธ

…ขบวนการที่กล่าวมานั้นเรียกว่า “ปริยัติ” เพราะเราต้องมีความรู้พื้นฐานมีข้อมูลและมีแนวทางในการปฏิบัติ รู้ว่าการปฏิบัตินั้นเป็นกรรมฐานในกองใดในกรรมฐาน ๔๐และการปฏิบัตินั้น เป็นสมถะกัมมัฏฐานหรือว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อจะไม่ได้หลงทางในการปฏิบัติ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔…

…ในช่วงระยะนี้มักจะมีญาติโยมมาขอความช่วยเหลือ ให้ตั้งชื่อให้เด็กที่เกิดใหม่หรือเพื่อจะเปลี่ยนชื่อใหม่หรือไม่ก็ขอให้ตั้งชื่อบริษัท ห้างร้านร้านอาหารอยู่เสมอมิได้ขาด ซึ่งเราต้องสงเคราะห์ช่วยเหลือ เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ญาติโยมเหล่านั้นและการตั้งชื่อแต่ละครั้งนั้นก็ต้องใช้หลัก “ทักษาปกรณ์” ซึ่งสืบทอดกันมาแต่โบราณ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๔…

…การไร้รูปแบบก็คือการมีรูปแบบเฉพาะตัวนั้นเอง โดยการไม่เข้าไปยึดติดในรูปแบบที่เป็นกระแสนิยมของสังคม แต่เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับจริตและวิถีชีวิตของผู้ปฏิบัตินั้นเอง เป็นการกระทำที่รู้ได้เฉพาะตน มีเหตุและผลในการกระทำทั้งหลาย…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๔”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๙…

…“เมื่อเราเพียรเพ่งดูจิต ดูความคิด
ให้จิตอยู่กับตนเองตลอดเวลา
เราก็จะเข้าใจในสังขาร
ร่างกายและจิตของเรา”….

…“ความว่างทางจิตนั้น
คือความว่างจากอารมณ์ยินดี ยินร้าย
แต่ไม่ว่างจากตัวรู้ ยังตามดูตามเห็น
แต่จิตไม่ไปคิดปรุงแต่ง”….

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓…

..ระลึกถึงคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวไว้ “จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัยผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๓…

…ความผิดพลาด ความล้มเหลวหรือความสูญเสียนั้น มันมิใช่ข้อยุติสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้ว นำมาซึ่งประสบการณ์ของชีวิต เป็นบทเรียนของชีวิต ที่จะทำให้เราเข้มแข็งและกล้าแกร่งยิ่งขึ้น

…ขอเพียงให้เรายึดมั่นในอุดมคติของเราอย่าได้หวั่นไหว เพราะหนทางที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น มันต้องฟันฝ่าและเผชิญต่ออุปสรรคปัญหาอยู่ตลอดเวลา อุปสรรคและปัญหาเหล่านั้นคือบทเรียน บททดสอบสติปัญญาและคุณธรรมของเรา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๓”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๘…

…รางวัลแห่งความสำเร็จของชีวิตนั้นมิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น แต่อยู่ที่ปลายทาง ตราบใดที่ยังมีลมหายใจชีวิตนี้ยังไม่สิ้นหวัง ทุกสิ่งที่ผ่านมามันไม่ใช่ความล้มเหลวหรือความผิดพลาด แต่มันเป็นบทเรียนหนึ่งของชีวิตที่ต้องเรียนรู้ จงเอาอดีตที่ผ่านมานั้นมาเป็นครู สอนให้เราเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบัน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒…

…จิตระลึกถึงสุภาษิตบทหนึ่งขึ้นมาเป็นโพธิสัตว์คาถาที่ว่า…

…” อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ อธุรายํ นิยุญํํชติ
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ
วินยํ โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ “…

…แปลความว่า…
“คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด คนพาลมักทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ คนพาลมักเห็นผิดเป็นชอบ คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ คนพาลไม่ยอมรับระเบียบวินัย ดังนั้น การไม่พบเห็นคนพาลจึงเป็นการดี”
…โพธิสัตว์คาถา อกิตติชาดก ๒๗/๓๓๗…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๒…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒….

…“นิ่งไม่เป็น โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก”เพราะบางครั้งที่เราแสดงความคิดอวดฉลาดอวดรู้ออกไปนั้น มันเป็นการเอาความโง่ของเราออกมาประจานตัวเราเอง คำพูดและการกระทำ มันสามารถที่จะนำมาวิเคราะห์ว่าเขาเป็นอย่างไร ภูมิธรรมภูมิปัญญาระดับไหน มาจากความจริงใจหรือว่าเป็นมายา เมื่อเรานิ่งสงบย่อมจะมีเวลาที่จะที่ตั้งสติและมีสมาธิในการคิดพิจารณา ศีล สมาธิ ปัญญา คือแนวทางของการแก้ปัญหาทุกอย่างของชีวิต…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๒”