จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗…

…ตราบใดที่การเดินทางของชีวิตนั้นยังไม่สิ้นสุด ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในห้วงแห่งวัฏสงสารที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังไม่สิ้นอาสาวะแห่งกิเลสทั้งหลาย จงอย่าได้รีบด่วนสรุปในสิ่งที่รู้ ในสิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็น ว่าเรารู้และเข้าใจหมดแล้วเพราะมันยังมีหลายสิ่งหลายอย่างอีกมากมาย ที่เรานั้นต้องประสพพบเห็นทั้งในทางโลกและในทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑…

…ถ้าใครดี เราก็เห็น ว่าเป็นมิตร
ใครคดคิด ทรลักษณ์ จึงหักหาญ
ถ้าเขาคด เราก็คม ให้สมพาล
ถ้าเข้าด้าน เราก็ดื้อ ให้คือกัน…
“…บทกวีของหลวงวิจิตรวาทการ…”

…ท่องจำขึ้นใจมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กและนำมาปฏิบัติมาตลอดเมื่อครั้งเป็นฆราวาส เพิ่งมาลด ละ เลิก ก็ตอนเป็นสมณะ แต่มันก็ยังมีความเคยชินเก่าๆเหลือติดอยู่บ้าง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑…

…งานที่ใช้กำลัง ถ้าเราไม่ระวังสำรวมสติ จิตจะหยาบ…

…ในการทำงานที่ต้องใช้แรงงานนั้นมันย่อมมีผลต่อร่างกายและจิตใจซึ่งต้องใช้ความอดทนที่สูงมากถ้าขาดสติตามรู้ตามเห็นไม่ทันกิเลสนั้นจะแสดงออกมา (ความเอาแต่ใจตัวเอง ความเห็นแก่ตัว ความน้อยใจ ความเสียใจ ความมักง่ายความขี้เกียจ ความโกรธ) จะปรากฏขึ้นที่เป็นเช่นนั้นเพราะกิเลสมันถูกเผาให้เร้าร้อน มันถูกกระตุ้นด้วย ความเหนื่อย ความร้อน ความหิวกระหายความที่ไม่ได้ตามที่ใจปรารถนา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖…

…การเดินทางของชีวิตนั้น มันเป็นเรื่องของกรรมเก่าในอดีตชาติและกรรมใหม่ในชาตินี้ที่เราได้กระทำมาดั่งที่ได้กล่าวไว้เสมอว่า…

…ไม่ใช่โชคชะตาหรือว่าฟ้าลิขิต ไม่ใช่นิมิตของสวรรค์หรือพรหมนั้นท่านบันดาล แต่สิ่งที่ชีวิตต้องพบพานนั้นล้วนเกิดมาจากกรรม…

…กรรมที่เป็นกุศลก็จะส่งผลไปสู่สิ่งที่ดีงาม ส่วนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมส่งผลให้ตกต่ำ เมื่อเรายอมรับในเรื่องกฎแห่งกรรม มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เราก็จะไม่สร้างกรรมที่เป็นอกุศล ชีวิตก็ย่อมจะพ้นจากอบายภูมิ…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐…

…ดั่งที่เคยได้กล่าวไว้เสมอว่าธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ คู่โลกกันมา เพียงแต่ถ่ายทอดธรรม การใช้ภาษานั้นอาจจะแตกต่างกันบ้างในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน คือการสร้างสรรค์ให้โลกใบนี้นั้นสงบและร่มเย็น ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะและอัตตาตัณหาและอุปทาน

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐

… ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐ …

…วิถีทางและวิถีธรรม…

…เมื่อมีการกระทำ ย่อมมีผลของการกระทำ ซึ่งผลของการกระทำนั้นจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่ บุคคลและเจตนาแห่งการกระทำนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผล ซึ่งแต่ละคนย่อมมีเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกันทำให้ความรู้ ความเห็นและความเข้าใจนั้นแตกต่างกันไปตามเหตุและปัจจัย ไม่มีใครคิดเห็นถูกไปเสียทั้งหมดและไม่มีใครผิดไปทั้งหมดเพราะว่าความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นเป็นปัจเจก จึงไม่มีอะไรดีที่สุดและอะไรถูกต้องที่สุด มันมีเพียงความเหมาะสมกับจังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕…

…ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นเกิดจากวัยวุฒิ คุณวุฒิ พื้นฐานของครอบครัว สังคมรอบข้างและอารมณ์ความรู้สึกของเขาในขณะนั้น ถ้าเราเข้าใจในเรื่อง “จิตวิทยาของมนุษย์” เราก็จะเข้าใจในเหตุผลของแต่ละคนที่แตกต่างกันและสิ่งนั้นจะไม่สร้างความแตกแยก จากความเห็นที่แตกต่าง แต่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปสู่ความเจริญก้าวหน้าเพราะว่าเราจะได้มุมมองใหม่ๆในความเห็นที่แตกต่างกัน มันจะเกิดการพัฒนาทางความคิดขึ้นต่อไป…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙…

…”ไม่ควรใส่ใจคำพูดแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำควรตั้งใจตรวจตราธุระของตนนี่แหละทั้งที่ทำไปแล้วและยังไม่ได้ทำ”

“น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ”…
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๑๙…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙…

…ออกพรรษามาแล้วได้สองวันพิจารณาทบทวนในสิ่งที่ผ่านมาคุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไปสอนให้เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ควบคุมความรู้สึกต่ออารมณ์กระทบทั้งหลายได้เร็วขึ้นมีสติและสัมปชัญญะมากกว่าอดีตที่ผ่านมา กาลเวลาสอนให้ระลึกนึกคิดรู้ถูกผิด ผิดชอบชั่วดี มีการเจริญเมตตาจิตเพิ่มขึ้น จากการที่อยู่กับธรรมชาติและสรรพสัตว์รอบกายดำเนินชีวิตไปตามบทบาทและหน้าที่ด้วยการมีสติและสัมปชัญะควบคุมอยู่การหมั่นฝึกคิดพิจารณาทุกอย่างให้เป็นธรรมะนั้น ช่วยให้ละวางได้อย่างมาก โดยการฝึกคิดพิจารณาเข้าหากฎของพระไตรลักษณ์เห็นถึงความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งทั้งหลายรอบกาย ความแปรเปลี่ยนไปไม่เที่ยงแท้ ยึดถือไม่ได้และรู้ถึงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อจิตเข้าไปยึดถือก็ทำให้เกิดทุกข์ จิตก็ปล่อยวางทุกอย่างเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๔

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๔…

…อย่าเอาชีวิตไปยึดติดกับผู้ใดขอให้ศรัทธาในธรรมะที่เขากล่าวให้มากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมแล้วท่านจะไม่เสียใจเมื่อผู้กล่าวธรรมนั้นแปรเปลี่ยนไปจงให้ความสำคัญในธรรมของพระพุทธองค์ที่มีผู้นำมากล่าวมากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมจงเอาที่ธรรมะ อย่าไปเอาที่พฤติกรรม แล้วจะทำให้ท่านไม่เสียใจ เสียความรู้สึกเมื่อผู้ที่กล่าวธรรมนั้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๔…