จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖…

…ชีวิตเดินไปตามวิบากกรรมที่เคยทำมาในอดีต ส่งผลทั้งในทางดีและทางร้ายทุกสิ่งทุกอย่างนั้นล้วนมีที่มาและมีที่ไปมีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป มีการเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้นานตลอดไปมันเป็นตามกรรมที่ได้ทำมา

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑…

…”ภายนอกเคลื่อนไหว ภายในสงบนิ่ง” สงบนิ่งนั้นหมายถึงการไม่หวั่นไหวไปตามกระแสโลกทั้งหลาย ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่ประสพพบเห็น วางใจให้เป็นกลางมองทุกอย่างด้วยเหตุและผล ซึ่งอยู่บนหลักธรรม แล้วนำมาประยุกค์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “ให้ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” คือว่างจากกิเลสตัณหาและอัตตา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๑…

…รางวัลแห่งความสำเร็จของชีวิต มิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้นแต่อยู่ที่ปลายทาง ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ชีวิตนี้ยังไม่สิ้นหวังทุกสิ่งที่ผ่านมานั้น มันไม่ใช่ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดมันเป็นบทเรียนหนึ่งของชีวิตที่ต้องเรียนรู้ จงเอาอดีตที่ผ่านมานั้นมาเป็นครูสอนให้เราเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบัน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๑”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖…

…ชีวิตเดินไปตามวิบากกรรมที่เคยทำมาในอดีต ส่งผลทั้งในทางดีและทางร้ายทุกสิ่งทุกอย่างนั้นล้วนมีที่มาและมีที่ไปมีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป มีการเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้นานตลอดไปมันเป็นตามกรรมที่ได้ทำมา

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐…

…สัปปายะ ๕ อันได้แก่ อาหารที่ถูกจริต อากาศที่สบาย ที่อยู่อาศัยที่สะดวกสบายมีมิตรสหายครูบาอาจารย์ที่ดีคอยส่งเสริมช่วยเหลือ ได้ปฏิบัติที่ถูกกับจริต จิตของเราย่อมส่งผลให้การเจริญภาวนานั้นมีความเจริญก้าวหน้า…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๐…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…“ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม”คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรมมีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา รู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลสความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศลกรรม มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะทำหน้าที่ของตนไปตามบทบาทและหน้าที่ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๐”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๕

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๕…

…การศึกษาธรรมะและประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องมีวิจารณญาณอย่าเชื่อทันทีที่ได้ยิน ได้ฟังมาอย่าได้ศรัทธาเพราะยึดติดในตัวบุคคล จงเอาเหตุและผลมาเป็นที่ตั้ง แห่งการคิดและพิจารณาธรรม ว่าควรจะเชื่อหรือจะปฏิเสธ ในสิ่งที่ได้อ่านได้ยินหรือได้ฟังมา

…ดั่งที่เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าเชื่อในทันที เรียกว่างมงาย ถ้าปฏิเสธทันที เรียกว่าเสียโอกาสขาดประโยชน์” ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบครอบและทดลองปฏิบัติพิสูจน์ ฝึกฝนที่ใจตน ให้เกิดความกระจ่างชัดขึ้นด้วยใจตน ตามเหตุและผลแล้ว จึงควรเชื่อหรือปฏิเสธในสิ่งที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมา

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙…

…ดั่งที่เคยกล่าวไว้ว่า วิถีโลกและวิถีธรรมนั้นต้องจะเดินคู่กันไป เพราะว่าเราทั้งหลายนั้น ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม มิอาจจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องมีการอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย ตามจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และตัวบุคคล เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โลกและธรรมจึงต้องเดินคู่กันไป

…แต่คนส่วนใหญ่นั้นมักจะปฏิเสธธรรมเพราะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องของศาสนาเป็นลัทธิ เป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาเฉพาะตน ทั้งที่จริงแล้วธรรมะนั้นคือธรรมชาติแห่งความเป็นจริง เป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราพบเห็นอยู่เป็นประจำในชีวิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๙…

…” จิตที่ตั้งไว้ชอบ ย่อมเป็นปัจจัยแก่การทำกัลยาณธรรม “…

” สมฺมาปณิหิตํ จิตตํ ปจฺจโย
กลฺยาณสฺส กมฺมสฺส กิริยาย “
…พุทธสุภาษิต มหาลิสูตร ๒๔/๙๐…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๙”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๔

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๔…

…อย่าลุอำนาจแก่ความโกรธเป็นอันขาด เพราะเมื่อความโกรธนั้นเกิดขึ้นแล้วมันจะมืดมิดปิดบังปัญญา คิดแต่จะเอาชนะเพียงอย่างเดียว ทั้งที่จริงแล้วมันกำลังแพ้ตัวเอง แพ้ความโกรธของตัวเองถ้าระงับความโกรธไม่ได้ ใจก็ไม่เป็นสุขเพราะฉะนั้นอย่าเอาความโกรธ มาเป็นอารมณ์มาเป็นตัวของตัวเป็นอันขาดพึงข่มความโกรธ ด้วยการเจริญสติการลดทิฏฐิ การให้อภัย แล้วใจของเรานั้นจะสบาย…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๑๔”