บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๐…

…ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนมีที่มาและมีที่ไปมีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป มีการเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้นานตลอดไปบุคคลจึงควรทำใจให้รับกับสภาพที่จะแปรเปลี่ยนไปทั้งหลายนั้นให้ได้ อย่าไปยึดติดมากเกินไปกับภาพแห่งอดีตทั้งหลายที่ได้จดจำมาเพราะกาลเวลานั้นได้ผ่านเลยไป สิ่งทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนตาม ซึ่งเราไม่อาจห้ามไม่ให้มันเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้เลยเพราะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ย่อมเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงแท้ที่นำมาให้เกิดความทุกข์ทั้งหลายเพราะไม่อาจจะเข้ายึดถือ ให้มันคงสภาพอยู่เช่นเดิมตลอดไปได้ ทุกอย่างย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่มากไม่น้อยตามระยะเวลา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๐”

รำพึงธรรมคำกวีกาพย์ยานี ๑๑

…รำพึงธรรมคำกวีกาพย์ยานี ๑๑ …

…“สวรรค์ อยู่ในอก
และนรก อยู่ในใจ”
เราทำ สิ่งใดไว้
ใจนั้นรู้ ด้วยตนเอง

…ดีชั่ว ตัวกำหนด
จะละลด ควรรีบเร่ง
ความชั่ว จงกลัวเกรง
ลดอัตตา อย่าถือดี

…บาปกรรม อันน้อยนิด
จะตามติด ไปทุกที่
ส่งผล ทางไม่ดี
ให้พบกับ ความทุกข์ใจ

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมคำกวีกาพย์ยานี ๑๑”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๙

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๙…

…พยายามสงเคราะห์โลกและธรรมให้ก้าวเดินไปพร้อมกัน เลือกเฟ้นธรรมที่เหมาะสม กับ จังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และตัวบุคคลนำมาสงเคราะห์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตามเหตุและปัจจัยที่มีดั่งที่เคยกล่าวไว้เสมอว่า “บางครั้งนั้นไม่ต้องคิดให้ดีที่สุด แต่คิดให้ใช้ได้ทำได้ทันทีก็เพียงพอแล้ว”…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๙”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙…

…มีเวลาว่างหยุดพักการเดินทางเพราะเสร็จสิ้นภารกิจไปวาระหนึ่งพักเพื่อเตรียมการสำหรับภารกิจที่จะมาถึง ทำให้มีเวลาพิจารณาทบทวนใคร่ครวญธรรมตามที่ได้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติมา เพื่อรักษาและทรงไว้ซึ่งสภาวธรรมที่เคยได้พบมามิให้เสื่อมไปและปฏิบัติเพื่อให้สภาวธรรมตัวใหม่เกิดขึ้นมา

…ยกเอาหลักธรรมทั้งหลายเข้ามาสงเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการพิจารณาปฏิบัติมีสติและสัมปชัญญะ คอยเตือนตนอยู่เสมอ ไม่ให้เผลอจิตคิดคล้อยตามกระแสซึ่งความเป็นโลกธรรมทั้งหลาย พึงพอใจในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็น พยายามกระตุ้นเตือนจิตสำนึกถึงบทบาทและหน้าที่ของตน ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ตามกำลังความรู้ความสามารถที่มี สงเคราะห์ซึ่งโลกและธรรมให้ก้าวไปพร้อมกัน…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙”

ระลึกถึงธรรม คำของครูบาอาจารย์

…ระลึกถึงธรรม คำของครูบาอาจารย์…

… ผู้ที่คุ้นเคยกับการสังเกตจิตเท่านั้นที่จะเข้าใจธรรมะได้ดี …

… การสนใจสังเกตพินิจพิจารณาอยู่เสมอ ทุกคราวที่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับใจที่เป็นความทุกข์หรือเป็นความสุขก็ตาม ผู้ที่มีความคุ้นเคยกับการสังเกตในเรื่องทางจิตใจเท่านั้นที่จะเข้าใจธรรมะได้ดี ผู้ที่เพียงแต่อ่าน ๆ ไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมะได้บางทียิ่งไปกว่านั้นก็คือจะฟั่นเฝือ

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกถึงธรรม คำของครูบาอาจารย์”

สาระธรรมและคำกวีในยามเย็น

…สาระธรรมและคำกวีในยามเย็น…

…ระลึกถึงคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ที่ท่านกล่าวเปรียบเทียบว่า “การปฏิบัติเหมือนกับการหัดเขียนหนังสือ” เริ่มแรกต้องหัดเขียนไปตามแบบไปก่อน จนมีความชำนาญแล้ว จึงเขียนตามความถนัดของเราเอง ซึ่งเรียกว่าลายมือของเรา

…ก่อนที่จะไร้กระบวนท่านั้น มันต้องผ่านการศึกษาและปฏิบัติมาทุกรูปแบบ มาทุกกระบวนท่า จนมีความช่ำชองเชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะละทิ้งกระบวนท่าและรูปแบบ…

อ่านเพิ่มเติม “สาระธรรมและคำกวีในยามเย็น”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๙…

…การปฏิบัติธรรมนั้นทำได้ทุกขณะทุกอิริยาบถ ไม่จำกัดกาลและสถานที่ขอให้เรามีสติระลึกรู้ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอย่าไปติดยึดในรูปแบบและท่าทางเพราะการปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่การแสดงการโชว์หรือโอ้อวดกัน แต่เป็นการกระทำภายในจิตใจของเรา ซึ่งถ้าเรามีสติและสัมปชัญญะแล้ว เราจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรและเพื่ออะไร “ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต” ว่าเราคิดและเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไรดีไปกว่าตัวของเราเอง “รู้กาย รู้จิตรู้ความคิด รู้สิ่งที่กระทำ” นั่นคือการปฏิบัติธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๙”

ปรารภธรรมเรื่องโยธากัมมัฏฐาน

…ปรารภธรรมเรื่องโยธากัมมัฏฐาน…

…มีญาติโยมหลายท่านที่ถามมาว่า “ทำไมต้องหักโหมเรื่องงานการก่อสร้างทำไมไม่จ้างช่างหรือผู้รับเหมาเขาทำกัน” ก็ได้ตอบคำถามเหล่านั้นไปว่า…

– เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่อยากจะรบกวนปัจจัยจากญาติโยม
– เพื่อให้ญาติโยมในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการใช้แรงงาน ร่วมสร้างร่วมทำ
– เพื่อเป็นการฝึกจิตโยธากัมมัฏฐาน
– เพื่อเป็นการสอนธรรม
– เพื่อปลดเปลื้องความกังวลใจ

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมเรื่องโยธากัมมัฏฐาน”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๘…

….ความเป็นสมณะนั้นมีกฎเกณฑ์กติกาของความเป็นสมณะคุ้มครองอยู่โดยธรรมและวินัยไม่ผิดข้อวัตรตามพุทธบัญญัติและไม่เป็นไปให้ชาวโลกเขาติเตียนได้

…มันจึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ใจนั้นสงบท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมที่กำลังดำเนินไป จึงต้องมีการปรับใหม่ ปรับกายปรับจิต ปรับความคิด ปรับการกระทำและเร่งความเพียร เพิ่มกำลังของสติและสัมปชัญญะให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับกับผัสสะสิ่งกระทบที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและโอกาส…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๘”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘…

…ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวเตือนไว้ว่า เรียนทางโลกนั้น เรียนไป ๆ ก็ยิ่งทำให้กิเลสหนาขึ้นทุกขณะ แต่ถ้าเรามาเรียนธรรมะ มาเรียนเรื่องละ ละโลภละโกรธ ละหลง ละกิเลสตัณหามันก็มีแต่จะเบาบางลง จนไม่มีภาระเมื่อเข้าถึงธรรมะแล้ว ใจนั้นก็จะเป็นสุขไม่ทุกข์อยู่กับโลกธรรมทั้งหลาย …

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘”