เรียงร้อยธรรมตามรายทาง

…เรียงร้อยธรรมตามรายทาง…

…ดูหนังดูละครแล้วจงย้อนมาดูกายให้ใจของเรานั้นมาอยู่กับเนื้อกับตัวไม่หลงเมามัวไปตามกิเลสและตัณหามีสติสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมน้อมเข้ามาระลึกรู้ถึงกายและจิตของตัวเองดูกาย ดูจิต ให้รู้ความคิด ให้รู้การกระทำมีคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป คุ้มครองจิตในการที่จะคิดและในการที่จะกระทำ ทำได้อย่างนั้นแล้วท่านจะพบกับความสุขในชีวิต…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมตามรายทาง”

รำพึงธรรมตามรายทาง ปัจฉิมบท

…รำพึงธรรมตามรายทาง ปัจฉิมบท…

…ย้ำเตือนตนอยู่ตลอดว่า จงทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย มีกิจวัตรประจำวันที่เรียบง่าย ใจก็จะโปร่งสบาย ทำให้การเจริญสติภาวนาปฏิบัติจึงทำได้ง่าย สมาธิก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายความวุ่นวายก็น้อยลง ความกังวลยึดติดก็จะเบาบางลง…

…อย่าไปวุ่นวายใจกับคำนินทา เราไม่เก็บคำนินทามาคิด จิตเราก็จะสบาย คำติฉินนินทานั้นคือยาชูกำลัง ที่จะยับยั้งไม่ให้เราหลงระเริง คำนินทานั้นคือสิ่งที่กระตุ้นเตือนตัวเรา เขาติดีกว่าเขาชม ทำให้เรารู้ตัวว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา ซึ่งถ้าเราอย่างที่เขานินทานั้น เราก็จะได้รู้และจะได้ปรับปรุงแก้ไข แล้วเราจะไปโกรธเขาทำไม ซึ่งถ้าเราไปโกรธเขาก็เท่ากับว่าเรานั้นกำลังแพ้ภัยกิเลสในใจของเรานั้นเอง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง ปัจฉิมบท”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๙

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๙…

…พยายามสงเคราะห์โลกและธรรมให้ก้าวเดินไปพร้อมกัน เลือกเฟ้นธรรมที่เหมาะสม กับ จังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และตัวบุคคลนำมาสงเคราะห์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตามเหตุและปัจจัยที่มีดั่งที่เคยกล่าวไว้เสมอว่า “บางครั้งนั้นไม่ต้องคิดให้ดีที่สุด แต่คิดให้ใช้ได้ทำได้ทันทีก็เพียงพอแล้ว”…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๙”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๘…

….ความเป็นสมณะนั้นมีกฎเกณฑ์กติกาของความเป็นสมณะคุ้มครองอยู่โดยธรรมและวินัยไม่ผิดข้อวัตรตามพุทธบัญญัติและไม่เป็นไปให้ชาวโลกเขาติเตียนได้

…มันจึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ใจนั้นสงบท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมที่กำลังดำเนินไป จึงต้องมีการปรับใหม่ ปรับกายปรับจิต ปรับความคิด ปรับการกระทำและเร่งความเพียร เพิ่มกำลังของสติและสัมปชัญญะให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับกับผัสสะสิ่งกระทบที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและโอกาส…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๘”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๗…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไป เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อจะได้รีบเร่งสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลยไม่ได้มุ่งหวังว่าต้องเป็นชาตินี้หรือชาติหน้า เพียงแต่ตั้งใจไว้ว่าทำต่อไปเรื่อยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ไปเมื่อนั้น จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเอง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๗”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๖…

…บอกกับตนเองเสมอว่า อย่าให้วันเวลาของชีวิตผ่านไปโดยไร้ค่า เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นโทษต่อชีวิตของเราเลยทุกสิ่งทุกอย่างเรากำหนดขึ้นมาได้ด้วยตัวของเราเอง คือการกระทำที่เรียกว่ากรรมของเราในวันนี้

…ซึ่งพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็นอดีตไปแล้ว ยอมรับในความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่เผชิญอยู่ รู้ตนรู้ประมาณ รู้กาลเวลา ว่าเราควรจะปรารถนาได้ในสิ่งใด เพียงใดที่เราคิดว่ามันไม่สำเร็จไม่สมปรารถนา ก็เพราะว่าเราไม่ได้สร้างเหตุและปัจจัย อาจจะเป็นการมุ่งหวังที่มากเกินไปเกินประมาณกับเหตุและปัจจัยที่เราได้กระทำไว้ในอดีตที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๖”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๕…

…ไม่เคยยึดติดอยู่กับผลงานหรือสถานที่ เพียงทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์แล้วจากไปทิ้งไว้และเก็บไปเพียงความทรงจำที่ดีงามผ่านมาแล้วก็จากไป อาจจะหวนมาใหม่เมื่อถึงกาลเวลา ชีวิตที่ผ่านมาจึงคล้ายกับสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา

…มาเพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ได้ขาดหายไป นั้นคือความมั่นใจในตนเองของผู้คนที่เขา ขาดความเชื่อมั่น ซึ่งทุกคนนั้นมีพลังความสามารถอยู่ในตัวเองกันทุกคน เพียงแต่บางครั้งนำมาใช้ไม่เป็น จึงต้องหาที่พึ่งทางใจพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล ครูบาอาจารย์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ตนและสิ่งที่จะเสริมศรัทธา ความเชื่อมั่นให้แก่เขาได้นั้น มันต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้และเห็นได้ด้วยตาเนื้อเขาจึงจะเชื่อและศรัทธา

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๕”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๔

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๔…

…ผู้ชี้ขุมทรัพย์…

…อานนท์ ! เราไม่พยายามทำ
กะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ
ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว
ขนาบอีก ไม่มีหยุด
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว
ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร
ผู้นั้นจักทนอยู่ได้…
อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖.

…คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ
ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบ
อยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละคือ
ผู้ชี้ขุมทรัพย์ ควรคบบัณฑิต
ที่เป็นเช่นนั้น เมื่อคบหากับ
บัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดี
ท่าเดียว ไม่มีเลวเลย…
ธ. ขุ. ๒๕/๒๕/๑๖.

…กล่าวธรรมย้ำเตือนตนอยู่เสมอว่าอย่าเอาตัณหาของตัวเรานั้น ไปยัดเยียดให้ผู้อื่นเขาตอบสนองตัณหาของตัวเรา จงกล่าวธรรมเพื่อธรรม กล่าวธรรมโดยธรรม ให้เป็นไปตามธรรมแล้วจะบังเกิดความเจริญในธรรม..เมื่อยังไม่ถึงกาลเวลาที่เหมาะสมจิตย่อมเข้าไม่ถึงธรรม จึงยากที่จะอธิบายธรรม บรรยายธรรมให้เข้าใจได้ อดทนรอให้เขาพร้อม จึงกล่าวธรรม…

…เพราะว่าคนเรานั้น เมื่อยังมีหนทางไป ใจย่อมไม่นึกถึงธรรมแต่ในยามที่ต้องชอกช้ำ หมดสิ้นหนทางไปใจย่อมแสวงหาที่พึ่งพระธรรมจึงเป็นตัวเลือกหนึ่ง เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ…

…กาลเวลานั้นหมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่มีการสิ้นสุดแต่จิตของมนุษย์นั้นสิ้นสุดได้ เมื่อรู้จักพอ…

…จงเป็นผู้ให้ อย่าได้เป็นผู้ร้องขออย่านั่งรอ นอนรอ โอกาสวาสนาจงเพียรเสาะแสวงหา สร้างบุญบารมี สะสมความดีให้แก่ตนเพื่อให้เป็นเหตุเป็นปัจจัยในภายภาคหน้า เพราะสิ่งนั้นจะนำมาซึ่งวาสนาบารมี…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๔ มิถุนายน ๒๕๖๕…

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๓…

…บอกกล่าวกับผู้คนที่ได้สนทนาธรรมกันอยู่บ่อยครั้งว่า เรื่องราวเหตุการณ์ของแต่ละคนที่ได้ผ่านมานั้น มันเกิดจากกรรมที่ได้ทำมาจากอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาตินี้ก็ดี ทุกอย่างนั้นมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิด

…ทุกย่างก้าวที่เราเดินผ่าน นั้นคือตำนานของชีวิต ที่เราได้ลิขิตขึ้นมาเอง ไม่ใช่โชคชะตาหรือฟ้าลิขิต ไม่ใช่นิมิตของเทวดาบนสรวงสวรรค์ ไม่ใช่พระพรหมนั้นมาบันดาล แต่สิ่งที่ชีวิตต้องพบพานนั้นล้วนเกิดจากกรรม ที่เคยกระทำผูกพันกันมาจึงต้องมาประสพพบเจอมีทั้งกรรมที่เป็นอกุศล อันส่งผลให้พบความทุกข์หรือว่ากรรมที่เป็นกุศลอันส่งผลให้ได้รับความสุข ทุกเรื่องจึงสรุปลงที่กรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๓ มิถุนายน ๒๕๖๕…

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๒

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๒…

…เมื่อเราอยากจะให้สิ่งที่ดี ๆ นั้นเกิดขึ้นแก่ตัวเรา เราก็ควรที่จะต้องทำตัวเรานั้นให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะดึงดูดและรองรับสิ่งที่ดี ๆ ที่จะเข้ามา เรียกว่าการปรับเครื่องรับนั้น ให้มันดีและมีคุณภาพเพื่อจะรับคลื่นแห่งความดีที่มาสู่เครื่องรับอันคือตัวเรา ทำความสะอาดปัดกวาดจิตของเรา ให้เป็นระบบและมีระเบียบ มีที่ว่างสำหรับการรองรับสิ่งที่ดีที่จะเข้ามา

…ทุกอย่างนั้นเริ่มต้นที่จิต จากสิ่งที่คิดแล้วจึงจะนำไปสู่การกระทำ โดยการมีสติและสัมปชัญญะคอบคุมความคิดทั้งหลายให้อยู่ในกรอบของคุณธรรมในหลักการคิด จึงจำเป็นต้องฝึกจิตเจริญสติภาวนา เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีทั้งหลาย ดำรงทรงไว้อยู่ในกาย ในจิตของตัวเรา ทุกอย่างจึงต้องเริ่มที่จิตของเรานั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๒”