ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐๐…

…พระพุทธพจน์…

…หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้าเมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปโดยเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน ฉันใดชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย ก็เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้างฉันนั้นชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มากมีความคับแค้นมาก พึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศลควรประพฤติพรหมจรรย์เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้ว จะไม่ตายไม่มี…
…( อัง.สัตตก.๗๑ )…

…”ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน”…

…ฤดูกาลเข้าพรรษาหมดวาระผ่านพ้นไปมีภารกิจมากมายที่จะต้องคิดและต้องทำในหลายสถานที่ ซึ่งมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องทำความเข้าใจในชุมชนนั้นๆ เพื่อให้ภารกิจนั้นลุล่วงไปตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๙…

… วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรมสิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบันส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมาแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะมันเป็นอดีตจงยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๘…

…เตือนย้ำบอกกล่าวกับลูกศิษย์อยู่เสมอว่า ให้เลือกเส้นทางของชีวิตในสายธรรม จะไปสายปฏิบัติหรือจะไปสายปริยัติ ซึ่งถ้าตั้งใจและศรัทธาจริง ตั้งใจที่จะบวชนาน ๆ ไม่มีความคิดที่จะลาสิกขาก็ควรที่จะเลือกไปในสายปฏิบัติเพื่อให้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่

…การเรียนรู้ในทางโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อความอยากมี อยากได้และความอยากเป็นส่งจิตออกจากตัวเองอยู่ตลอดเวลา แสวงหาสิ่งนอกกาย เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนซึ่งกิเลสตัณหาอัตตาอุปาทานเรียนไปๆกิเลสก็ยิ่งหนามิได้เบาบางลง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๗…

…บางครั้งเราต้องละทิ้งรูปแบบตามพยัญชนะ มาเน้นสาระในเรื่องความหมายความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะทั้งหลายเพื่อให้ฟังแบบสบายๆ ไม่เกร็งไม่เคร่งและไม่เครียด ในการสนทนาธรรม จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ” คือการถ่ายทอดธรรมะเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจโดยไม่ยึดติดในรูปแบบ ซึ่งทุกอย่างต้องใช้การคิดและพิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญทบทวน อยู่ตลอดเวลา ปรับเข้าหาหลักธรรมะเพื่อความเหมาะสมมองทุกสิ่งทุกอย่างรอบกายให้เป็นธรรมะ ใช้หลักแห่งความเป็นจริงตามหลักของธรรมชาติโดยการลดละซึ่งอัตตาและคติไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาใช้ในการคิดและวิเคราะห์แล้วเราจะเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมะที่แท้จริง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๖…

…พยายามเน้นย้ำกับผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายอยู่เสมอในเรื่องของทิฏฐิอัตตาและมานะ ให้หมั่นดูในเรื่องนี้มองให้เห็น หาให้เจอ พยายามเพ่งโทษตนเองอยู่เสมอจะได้ไม่เผลอหลงตนเอง เพราะปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมส่วนมากนั้นคือ จะมีมานะ ถือตัวถือตนว่าตนเองปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกว่าผู้อื่นเอาสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติไปเพ่งโทษผู้อื่นเอาสิ่งที่ตนดีกว่าไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นแล้วมองผู้อื่นว่าด้อยกว่าเรา ไม่ดีเท่าเราซึ่งความคิดอย่างนั้นมันจะพาให้หลงทาง เพราะจะคิดเข้าข้างตนเองตลอด…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๕…

…จิตรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล สิ่งนั้นควรหรือไม่ควร แต่จิตนั้นมันอดปรุงแต่งตามไม่ได้ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า กำลังของกุศลจิตยังไม่เพียงพอที่จะเข้าไปยับยั้งมิให้คิดและทำได้ สตินั้นเรามีอยู่ เพราะเราระลึกรู้ได้ว่ามันเป็นอะไรดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควรแต่ความเคยชินเก่าๆที่เราเคยทำมาเคยคิดมา มันมีกำลังมากกว่า ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะปรุงแต่งและกระทำในสิ่งที่ผิด…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๔…

“ ความพยายามพวกเธอต้องทำเอาเอง ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น ”

“ ตุมฺเหหิ กิจฺ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา ”
…พุทธภาษิต ธรรมบท ๒๕/๔๓…

…การขึ้นกรรมฐาน สมาทานกรรมฐานนั้น ก็เพื่อเป็นการให้สัจจะอธิษฐานแก่ตัวเราเองว่าเราจะกระทำในสิ่งที่เราได้กล่าวปฏิญาณสมาทานไว้ให้สำเร็จ เราจะไม่ทอดทิ้งธุระเราจะไม่ละความพยายาม เราจะทำตามที่เราได้กล่าวไว้ เป็นการให้สัจจะแก่ตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓…

…”กิเลสย่อมพอกพูนแก่ผู้ที่ชอบเพ่งโทษของผู้อื่น ให้ความสนใจในการเพ่งโทษของผู้อื่นเป็นนิตย์บุคคลผู้ประพฤติดังนั้นย่อมสิ้นอาสวะช้า”…

…” ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ
อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺ
อารา โส อาสวกฺขยา “…
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๔๑…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่พ้นผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่าเพียงใดกับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่และจะได้รีบเร่งสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑…

…ถ้าใครดี เราก็เห็น ว่าเป็นมิตร
ใครคดคิด ทรลักษณ์ จึงหักหาญ
ถ้าเขาคด เราก็คม ให้สมพาล
ถ้าเข้าด้าน เราก็ดื้อ ให้คือกัน…
“…บทกวีของหลวงวิจิตรวาทการ…”

…ท่องจำขึ้นใจมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กและนำมาปฏิบัติมาตลอดเมื่อครั้งเป็นฆราวาส เพิ่งมาลด ละ เลิก ก็ตอนเป็นสมณะ แต่มันก็ยังมีความเคยชินเก่าๆเหลือติดอยู่บ้าง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑”