ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๐…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…“ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม”คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรมมีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา รู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลสความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศลกรรม มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะทำหน้าที่ของตนไปตามบทบาทและหน้าที่ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๙…

…” จิตที่ตั้งไว้ชอบ ย่อมเป็นปัจจัยแก่การทำกัลยาณธรรม “…

” สมฺมาปณิหิตํ จิตตํ ปจฺจโย
กลฺยาณสฺส กมฺมสฺส กิริยาย “
…พุทธสุภาษิต มหาลิสูตร ๒๔/๙๐…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๘…

…ได้ลองเข้าไปท่องเที่ยวในโลกไอที พบว่ามีภาพถ่าย บทความธรรมและบทกวีที่ได้เขียนแพร่กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบางที่ก็มีมารยาทให้เครดิตต่อเจ้าของผลงานและเว็บฯ ที่นำมา แต่บางที่ก็ขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ลบที่มาและใส่ชื่อตนเองลงไปซึ่งสิ่งทั้งหลายเป็นธรรมดาของมนุษย์โลกที่มีความคิดและจิตสำนึกที่แตกต่างกัน

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๗…

…ทุกสิ่งอย่างสามารถที่จะสงเคราะห์เข้ากับหลักธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาพระสัมพุทธเจ้าได้ ถ้าเรานั้นเปิดใจ ยอมรับความเป็นของสรรพสิ่งที่เป็นไปในโลกนี้ บนหลักของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน แปรเปลี่ยนไปได้ทุกโอกาส ตามเหตุและปัจจัย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๖…

…เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา กับสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้น เราจะรู้สึกว่าเวลานั้นแสนสั้นเหลือเกิน เพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันธุ์ยึดถืออยู่กับสิ่งนั้นไม่อยากจะให้มันผ่านพ้นไป และในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้นเรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่กำลังมีและกำลังเป็นอยากจะให้มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็วเราก็จะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าเหลือเกินเพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธในสิ่งที่กำลังเป็นไป มันจึงรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้ามาก…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๕…

…คำเอยคำครูสอน
แต่เก่าก่อนโบราณมา
ได้ยินและผ่านตา
จึงนำมาสู่กันฟัง…

“ถ้าเอาเปรียบเขาไม่ได้ก็ว่า “ไม่ถูก” ถ้าจูงจมูกได้ทุกทีก็ว่า “ดีเหลือ”
(คำของหลวงพ่อพุทธทาส)…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๔…

…ในบางครั้งขณะที่เรากำลังก้าวเดินไปข้างหน้า เรามักจะคิดว่าทางที่เดินมานั้นมันตรง แต่เมื่อเราหันกลับไปมองรอยทางที่เดินมา จึงได้รู้ว่าทางที่เดินมานั้นมันไม่ตรง เพราะเราหลงเข้าใจผิดคิดว่ามันตรง มองไปข้างหน้าอย่างเดียวลืมเหลียวกลับมาดูข้างหลัง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๓…

…เดินทางร้องลี้ ดีกว่าอ่านหนังสือหมื่นเล่ม…

…จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งในทางโลกและทางธรรม ช่วงหนึ่งของชีวิตแห่งการเดินทางได้ประสพ พบเห็นอะไรมามากมายเก็บบันทึกไว้ในความทรงจำ ได้น้อมนำมาพิจารณา มองหาที่มาและที่ไปของสิ่งเหล่านั้นทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุและมีปัจจัยเป็นตัวประกอบ ค้นหาให้เห็นซึ่งที่มาของสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นมาอย่างไร ก่อนที่เราจะได้รู้และได้เห็นมันดำเนินไปเช่นไรและจะจบลงที่ตรงจุดไหนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป นั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่ากฎพระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งสมมุติทั้งหลายยึดถือไม่ได้ นั้นคือความเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา เป็นธรรมดาของสรรพสิ่งในโลกนี้…

…พอดี พอเพียง พอใจ…

๐ มากมาย หลายหลาก เรื่องราว
ข่าวคราว ทำให้ สับสน
เกิดจาก กิเลส ของคน
สับสน ไม่รู้ จักพอ

๐ ไม่มี ก็อยาก จะได้
อยากให้ มันมี ขึ้นต่อ
เพราะใจ ไม่รู้ เพียงพอ
จึงก่อ เกิดความ วุ่นวาย…

๐ กิเลส นั้นเกิด ที่จิต
ความคิด ที่มี หลากหลาย
ความอยาก ที่มี มากมาย
ขวนขวาย เพื่อให้ ได้มา

๐ สนอง ความอยาก ตนเอง
ไม่เกรง และกลัว บาปหนา
ทำไป เพื่อให้ ได้มา
ตัณหา ความอยาก มากมี

๐ ความสุข และความ สำเร็จ
เบ็ดเสร็จ อยู่ที่ จิตนี้
ถ้าจิต พอเพียง ตามมี
เท่านี้ มันก็ สุขใจ

๐ จิตนั้น คิดว่า เพียงพอ
ไม่ก่อ ความอยาก ขึ้นใหม่
พอดี พอเพียง ที่ใจ
สุขได้ ถ้าใจ นั้นพอ

๐ ไม่ต้อง ดิ้นรน ขวนขวาย
สบาย ที่ใจ นั้นหนอ
พบสุข โดยไม่ ต้องรอ
ใจพอ มันก็ พอดี

๐ พอดี พอใจ ในตน
ทุกคน จะพบ สิ่งนี้
เพียงพอ ในสิ่ง ที่มี
เท่านี้ มันก็ พอใจ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๖ กันยายน ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๒…

…คนเราควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียวไม่มีเลวเลย…
…พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ
๒๕/๒๕/๑๖…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๑…

…ทุกอย่างย่อมจะมีความสำเร็จได้ถ้าหากเรานั้นมีความตั้งใจและพยายามเดินตามความฝันของเรานั้นต่อไปไม่ท้อถอยหรือหวั่นไหวกับอุปสรรคปัญหามีความศรัทธาและเชื่อมั่นในความดีที่กระทำสิ่งนั้นย่อมจะนำไปสู่ความสำเร็จของชีวิตในสิ่งที่ตนคิดและกิจที่ตนนั้นปรารถนาเพราะว่าความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๑”