ใคร่ครวญธรรมไปตนมกาล บทที่ ๔๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตนมกาล บทที่ ๔๐…

…รำพึงธรรมคำกวี ที่ริมหน้าต่าง…

…สายลมที่พัดผ่าน
หนาวสะท้านทั่วทั้งกาย
สายลมสื่อความหมาย
บอกให้รู้ฤดูกาล

…ยามเช้าที่หนาวเหน็บ
จึงขอเก็บมาเล่าขาน
เรื่องราวของวันวาน
เล่าให้รู้สู่กันฟัง

…ห่างหายและเหินห่าง
เพราะไม่ว่างมีเบื้องหลัง
ภาระที่รุงรัง
ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

…งานหลวงมิให้ขาด
และงานราษฎร์ก็ไม่หลวม
เร่งสร้างเพื่อส่วนรวม
จารึกไว้ในแผ่นดิน

…ศาลาโบสถ์วิหาร
นั้นเป็นงานในเชิงศิลป์
ผู้คนได้ยลยิน
สืบสานต่อเจตนา

…บูชาคุณพระพุทธ
สิ่งสูงสุดศาสนา
บูชาพระธัมมา
ซึ่งคำสอนสัจธรรม

…บูชาซึ่งพระสงฆ์
ที่ดำรงคุณค่าล้ำ
ตัวอย่างที่ก้าวนำ
ปฏิบัติกันสืบมา

…งานนอกคือก่อสร้าง
ทุกสิ่งอย่างต้องเสาะหา
งานในภาวนา
สำรวมจิตให้มั่นคง

…ไม่ว่างภารกิจ
แต่ดวงจิตไม่ลืมหลง
ยึดมั่นและดำรง
ภายในว่างจากอัตตา

…ทำงานทุกชนิด
เจริญจิตภาวนา
รู้กาลรู้เวลา
ว่ากระทำเพื่อสิ่งใด

…ขอบคุณสายลมหนาว
ให้ตื่นเช้ารับวันใหม่
สายลมอาจเปลี่ยนไป
แต่ดวงจิตไม่เปลี่ยนแปลง

…ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ทั่วทุกถิ่นและหนแห่ง
ทำไปตามเรี่ยวแรง
ความสามารถเท่าที่มี

…สืบต่อศาสนา
สืบรักษาซึ่งวิถี
สืบต่อสิ่งที่ดี
คือพระธรรมองค์สัมมา

…ละเว้นสิ่งมิชอบ
ไม่ประกอบซึ่งมิจฉา
มรรคแปดที่มีมา
ทางสายเอกให้เดินตาม

…เป็นทางมัชฌิมา
มีคุณค่าอย่ามองข้าม
ไม่เกินพยายาม
ปฏิบัติตามแนวทาง

…ธรรมะในยามเช้า
จากลมหนาวริมหน้าต่าง
ฟ้าเริ่มจะรางราง
เช้าวันใหม่ใกล้จะมา

…เช้าใหม่ชีวิตใหม่
ดำเนินไปให้มีค่า
ตามธรรมองค์สัมมา
ในทางโลกและทางธรรม

…ธรรมะอยู่คู่โลก
ลบรอยโศกและรอยช้ำ
เพียงเรานั้นน้อมนำ
ปฏิบัติและเดินตาม

…ฝากไว้เป็นข้อคิด
แต่มวลมิตรทุกผู้นาม
ฝึกใจให้งดงาม
เป็นพุทธะ”ปัจจัตตัง”…

….(ปัจจัตตังคือการรู้ได้เฉพาะตน)…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙…

…”เสียหนึ่ง อย่าเสียสอง
เสียของ อย่าเสียใจ
เสียแล้ว ให้เสียไป
ใจอย่าเสีย”…

…เป็นคำสอนของหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือซึ่งท่านได้กล่าวเตือนสติบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ให้นำไปพิจารณาปฏิบัติตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ ในเรื่องของจิต คือการมีสติพิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติเมื่อมีสิ่งมากระทบแล้วจิตเข้าไปปรุงแต่งตาม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะทุกชีวิตกำลังเดินไปสู่ความตาย จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้ทำมา ซึ่งแตกต่างกันแต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้น ทุกคนก็ไม่อาจจะหนีพ้นความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไปจงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่เรานั้นจะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมา ว่าเรานั้นได้สร้างได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๗…

…ความบริสุทธิ์ของจิตอยู่ที่ไหนอะไรที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์สภาวะนั้นมันเป็นอย่างไร ได้แต่ถามตัวเอง เคยได้ยินได้ฟัง ได้อ่านได้รู้ ก็เพียงที่เขาเล่ามาหรือในตำราที่ได้อ่าน มันเป็นเพียงสัญญาคือการจำได้หมายรู้ที่บันทึกไว้ในสมองเท่านั้น เพียงท่องได้จำได้ พูดได้ เหมือนว่าจะเข้าใจแต่มันยังไม่ใช่ เพราะมันเป็นเพียงสัญญา ซึ่งเป็นปริยัติ ตามตัวอักษร ที่เราตีความขยายความ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๖…

…ทุกชีวิตย่อมประสพกับอุปสรรคปัญหาด้วยกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังบุญกุศลของแต่ละคนที่ทำมา ไม่มีใครที่จะหนีพ้นอุปสรรคปัญหาไปได้ แต่ในอุปสรรคปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมที่จะมีทางแก้ไขได้ในทุกปัญหา ถ้าหากใช้สติปัญญา ความรู้สึกนึกคิดและจิตที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างความคิดที่ติดอยู่กับผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๕…

…หลวงพ่อพุทธทาสท่านสอนไว้ว่าชีวิตคือการทำงาน การทำงานอย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรมดำเนินชีวิตด้วยการทำงานทั้งทางภายนอกและภายในควบคุมกายใจด้วยสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลาพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ทำใจให้ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้ เพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลาย ก็จะหายไปสิ้นไป จิตเข้าสู่ความโปร่งโล่ง เบา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๔…

…ระลึกนึกถึงข้อธรรมคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล บทหนึ่งที่ท่านกล่าวไว้ว่า “การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ” เอามาเป็นข้อคิดและพิจารณาน้อมนำมาซึ่งการปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจในข้อธรรมนั้นๆ ตามกำลังของสติระลึกรู้ที่เราได้ฝึกฝนมาตามหลักธรรมที่ว่า “คิดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิด จิตจึงรู้แต่ก็ต้องอาศัยความคิด ทำงานทุกชนิด ด้วยจิตที่ว่างจากอัตตาปัญญาก็จะเกิด” เป็นสิ่งที่ต้องหมั่นฝึกฝน ให้จนเป็นความเคยชินของจิตในการคิดและการทำงาน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๓…

…ทุกชีวิตนั้นย่อมมีความผิดพลาดมากบ้าง น้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนที่ยังไม่หมดกิเลสสติยังไม่สมบูรณ์เต็มพร้อมทุกขณะจิตความคิดและการกระทำย่อมอาจจะมีพลั้งเผลอ ไปตามกิเลสตัณหาและอุปาทาน แต่เมื่อใดที่มีสติระลึกรู้แล้ว ควรห้ามจิตห้ามใจไม่กระทำในสิ่งนั้นต่อ ความรู้สึกส่วนลึกใต้จิตสำนึกของทุกคนนั้น ต่างก็อยากจะเป็นคนดีของสังคม แต่บางครั้งการมีทัศนคติต่อสังคมในแง่ร้ายของเขานั้นทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปโดยพฤติกรรมทางกายที่เรียกว่าการประชดสังคม อ้างว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขา ทั้งที่ความจริงแล้วสังคมเปิดโอกาสให้เขาอยู่ตลอดเวลาแต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นตัวพิสูจน์เพื่อให้สังคมยอมรับ เพราะความใจร้อนที่อยากจะได้ผลตอบรับโดยเร็วไวจึงทำให้คิดว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขาไม่ยอมรับในความดีที่เขาได้ทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๒…

…มีผู้ปรารถนาดีหวังดีมาถามอยู่เสมอว่าทำไม่ไม่อยู่อย่างผู้อื่นเขา ไม่เอาอย่างเขาก็ได้ตอบเขาไปว่า เราอยู่กับตัวตนที่แท้จริงของเรา ไม่เคยคิดที่จะสร้างภาพมายาให้คนมากราบไหว้ศรัทธาชื่นชมกล่าวยกย่องสรรเสริญ อยู่กับความเป็นจริงทำในสิ่งที่ควรทำตามความเหมาะสมในขณะนั้น เพราะกระบวนการแห่งการลดละกิเลสตัณหานั้น มันเป็นเรื่องของจิตและคุณธรรมภายในไม่ใช่การแสดงออกทางกาย ขอเพียงเรามีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศลจิตคุ้มครองอยู่ ระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมในสิ่งที่กำลังคิดและในกิจที่กำลังทำ มีองค์แห่งคุณธรรมควบคุมกายจิตอยู่ มีความอดกลั้น อดทนต่อสิ่งยั่วยุทั้งหลายที่เป็นอกุศล ไม่เผลอใจคล้อยตามกิเลสฝ่ายต่ำ พยายามแก้ไขปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๑…

…หนทางสู่ความสำเร็จนั้นอาจจะยังอยู่อีกยาวไกลแต่จงอย่าได้หวั่นไหวท้อใจขอเรามีความตั้งใจที่มั่นคงเดินในเส้นทางที่ตรงสู่ความฝันระยะทางสู่ความสำเร็จนั้นมันย่อมสั้นลงมาทุกขณะอย่าไปสนใจในระยะของเส้นทางเลย…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๑”