เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘…

…ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวเตือนไว้ว่า เรียนทางโลกนั้น เรียนไป ๆ ก็ยิ่งทำให้กิเลสหนาขึ้นทุกขณะ แต่ถ้าเรามาเรียนธรรมะ มาเรียนเรื่องละ ละโลภละโกรธ ละหลง ละกิเลสตัณหามันก็มีแต่จะเบาบางลง จนไม่มีภาระเมื่อเข้าถึงธรรมะแล้ว ใจนั้นก็จะเป็นสุขไม่ทุกข์อยู่กับโลกธรรมทั้งหลาย …

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘”

ปรารภธรรมก่อนรุ่งอรุณ

…ปรารภธรรมก่อนรุ่งอรุณ…

…การปฏิบัติธรรมในบวรพระพุทธศาสนาทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน เราต้องละปลิโพธความกังวลห่วงใยในทุกสิ่งทุกอย่าง วางจากภาระพันธะทั้งปวงต้องมีใจเป็นอิสระเป็นการปฏิบัติที่จะต้องห่างไกลจากหมู่คณะ เพราะเป็นทางเดียว ทำคนเดียว สำเร็จคนเดียวแม้พระศาสดาและผู้เป็นกัลยาณมิตรตลอดจนผู้อุปถัมภ์ ผู้ให้ความสนับสนุนทั้งหลายนั้น ก็เป็นเพียงผู้ชี้ทางและบำรุงส่งเสริมเท่านั้น

…ปลิโพธ ๑๐ ประการที่จะต้องละวางนั้นคือ
๑. ไม่ห่วงกังวลกับที่อยู่อาศัย
๒. ไม่ห่วงกังวลกับสกุลเชื้อสาย เผ่าพันธุ์
๓. ไม่ห่วงกังวลกับเอกลาภ สักการะ
๔. ไม่ห่วงกังวลกับหมู่คณะ
๕. ไม่กังวลกับธุรกิจหน้าที่การงาน
๖. ไม่กังวลกับการเดินทาง
๗. ไม่ห่วงกังวลในหมู่ญาติพี่น้อง
๘. ไม่กังวลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่
๙. ไม่กังวลในการศึกษาเล่าเรียน
๑๐. ไม่กังวลหวังผลในความสำเร็จและการแสดงฤทธิ์

…ปลิโพธทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็นสิ่งเบื้องต้นที่ผู้จะปฏิบัติต้องฝึกละวาง…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมก่อนรุ่งอรุณ”

ระลึกทบทวนธรรมในยามเย็น

…ระลึกทบทวนธรรมในยามเย็น…

…การปฏิบัติธรรมที่ให้เริ่มต้นจากการให้ทานนั้น ก็เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการปรับจิต ให้รู้จักคิดเสียสละลดละซึ่งความเห็นแก่ตัว เพื่อให้มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟือเผื่อแผ่มีพรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต จิตนั้นจะอ่อนโยนลงไม่หยาบแข็งกระด้าง เป็นการสร้างคุณธรรมให้แก่จิต แต่ก็ไม่ให้ไปยึดติดในทานนั้นจนเกินไป จนกลายเป็นทิฏฐิมานะและอัตตา โดยคิดว่าเราดีเราเด่นกว่าผู้อื่น

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกทบทวนธรรมในยามเย็น”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๘…

…“ดูหนังดูละคร แล้วจงย้อนมาดูตัว” จงมีสติระลึกรู้ในสิ่งที่ผ่านมา มีความรู้ตัวทั่วพร้อม ในสิ่งกำลังเป็นไปมองอะไรให้มองทั้งสองด้าน ทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ทั้งสองสิ่งมองให้เห็นความเป็นจริง มองทุกสิ่งด้วยใจที่เป็นกลางไม่เข้าข้างความคิดของตนเอง โดยเอาความชอบหรือความไม่ชอบของตนเป็นตัวตัดสินทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่จิต จงฝึกคิดและฝึกทำ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๔…

ทุกเรื่องราว จบลงตรงที่จิต

…ทุกเรื่องราว จบลงตรงที่จิต…

…กาพย์ยานี ๑๑…

…มากมายหลายเรื่องราว
ซึ่งข่าวคราวที่ส่งมา
ร้อยเรื่องร้อยปัญหา
ทำให้คิดและติดตาม

…ทางโลกและทางธรรม
จิตน้อมนำมิมองข้าม
เฝ้าดูอยู่ทุกยาม
เฝ้าดูจิตที่คิดไป

…ผัสสะมากระทบ
และมันจบลงที่ใจ
บางครั้งจิตหวั่นไหว
ต่อผัสสะที่มีมา

อ่านเพิ่มเติม “ทุกเรื่องราว จบลงตรงที่จิต”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๗…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไป เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อจะได้รีบเร่งสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลยไม่ได้มุ่งหวังว่าต้องเป็นชาตินี้หรือชาติหน้า เพียงแต่ตั้งใจไว้ว่าทำต่อไปเรื่อยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ไปเมื่อนั้น จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเอง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๗”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๗

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๗…

…อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ…

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ เหล่านี้คือ…
๑. ย่อมได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง
๒. สิ่งที่ได้ฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัดย่อมเข้าใจชัดขึ้น
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ตรงถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล”
…ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย
เล่ม ๒๒/๒๗๖…

…“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก”…
สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไป
ตามกรรม ที่สุดของพรหมวิหาร ๔
ก็คือการวางอุเบกขา เพราะเรา
เมตตาสงสาร จึงเข้าไปสงเคราะห์
ช่วยเหลือ ถ้าเขาดีขึ้นเราก็ยินดี
ด้วยกับเขา

…แต่ถ้าสงเคราะห์แล้วยังเหมือนเดิม
หรือแย่ลงกว่าเดิมก็ต้องทำใจปล่อยวาง
เพราะว่าเราทำหน้าที่ของเรานั้น
สมบูรณ์แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็น
วิบากกรรมของเขาเองที่จะต้องได้รับ

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๗ มิถุนายน ๒๕๖๕…

ทบทวนพระไตรปิฎกและคำกวียามใกล้รุ่งอรุณ

…ทบทวนพระไตรปิฎกและคำกวียามใกล้รุ่งอรุณ…

…แก่นแท้ของการประพฤติพรหมจรรย์…

“…ภิกษุทั้งหลาย..! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ…มิใช่ ! มีลาภสักการะและสรรเสริญเป็นอานิสงส์เพราะเปรียบเท่ากับกิ่งและใบของต้นไม้ มิใช่ ! มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับสะเก็ดของต้นไม้มิใช่ ! มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับเปลือกของต้นไม้ มิใช่ !ความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ (ปัญญา)เป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับกระพี้ของต้นไม้

ภิกษุทั้งหลาย ! …การประพฤติพรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิตนั้น นั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ เพราะเปรียบเท่ากับแก่นของต้นไม้..”
(พระไตรปิฎก มหาสาโรปมสูตร
เล่มที่ ๑๒/๓๗๓/๓๕๒)

อ่านเพิ่มเติม “ทบทวนพระไตรปิฎกและคำกวียามใกล้รุ่งอรุณ”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๗…

…ธรรมคือความเป็นจริงทั้งหลายในโลกนี้ เป็นสัจธรรมและสิ่งที่จะนำเข้าสู่ธรรมชาติแห่งความเป็นจริงนั้นก็คือคุณธรรมจิตสำนึกความรู้สึกนึกคิด จิตที่ยอมรับซึ่งความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายนั้น วางใจให้เป็นกลางไม่เข้าข้างความรู้สึกนึกคิด เพื่อผลประโยชน์ของตนจนเกินไป ความพึงพอใจในในสิ่งที่มีในสิ่งที่เป็นและสิ่งที่ควรจะได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาไหนก็ตาม ล้วนแล้วมุ่งหวังที่จะชี้นำให้คนกระทำความดี ให้ทุกคนมีจิตสำนึกแห่งคุณธรรม เพื่อความสงบสุขร่มเย็น เพื่อความเป็นไปโดยสันติ สิ่งนั้นคือแก่นแท้ของทุกศาสนา…

…วิถีโลก-วิถีธรรม ต้องก้าวไปด้วยกัน…

…ฝากไว้เป็น ข้อคิด ให้ศึกษา
เรียนรู้ค่า แห่งชีวิต ทิศทางใหม่
สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น ที่เป็นไป
อาจมิใช่ สิ่งที่คิด พินิจดู

…ควรตั้งจิต ตั้งใจ ให้เปิดกว้าง
มองทุกอย่าง ที่เห็น เพื่อเรียนรู้
เอาทุกอย่าง มาพินิจ คิดเป็นครู
จงเฝ้าดู และวิเคราะห์ ให้เหมาะควร

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๗”

เทวะธรรม นำจิตให้คิดดี

…เทวะธรรม นำจิตให้คิดดี….

๐ เมื่อฝนซา ฟ้าใส ใจเป็นสุข
เพราะว่าทุกข์ ผ่านพ้น เริ่มต้นใหม่
เรื่องร้ายร้าย คลี่คลาย ผ่านพ้นไป
เริ่มต้นใหม่ ยังไม่สาย อย่ารั้งรอ

๐ อย่ามัวรอ ร้องขอ ต่อโอกาส
ไม่สามารถ เป็นได้ ใจจะท้อ
เริ่มที่เรา ต้องขวนขวาย ไม่นอนรอ
ต้องสานต่อ สร้างให้ฝัน นั้นเป็นจริง

๐ วิ่งเขาหา สร้างโอกาส อย่างอาจหาญ
จงสู้งาน ทำไป ไม่หยุดนิ่ง
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นของจริง
อย่าประวิง รอเวลา จะเสียการ

อ่านเพิ่มเติม “เทวะธรรม นำจิตให้คิดดี”