ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒…

…บางครั้งความคุ้นเคยและความเคยชิน มันอาจจะนำไปสู่ความหย่อนยาน จนกลายเป็นความขี้เกียจมักง่าย ถ้าเราไม่หมั่นตรวจสอบควบคุมจิตของเราไม่มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ข้อวัตรปฏิบัติมันก็จะนำไปสู่ความเสื่อม จิตคล้อยตามไปในกระแสโลก ออกห่างจากทางธรรมแต่ถ้าเรามีความมั่นคง มีศรัทธาที่หนักแน่น ตามดู ตามรู้จิตนั้นอยู่เสมอไม่พลั้งเผลอขาดสติและองค์แห่งคุณธรรมแล้ว ความเสื่อมย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา ความเจริญในธรรมทั้งหลายก็จะบังเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้น สิ่งสำคัญมันอยู่ที่จิตสำนึกแห่งการใฝ่ดี ว่าเรานั้นมีแล้วหรือยังและเราได้ทำในสิ่งนั้นแล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๒”

ทบทวนธรรมไปตามกาล

…ทบทวนธรรมไปตามกาล…

…หยิบเอาโศลกธรรมของครูบาอาจารย์มาอ่านและทำความเข้าใจ ขยายความออกไปเป็นบทกวีโดยให้ชื่อว่า “คำคมคำครู” แล้วนำมาเส่าสู่กันฟัง…

…คำเอยคำครูสอน
แต่เก่าก่อนโบราณมา
คำนั้นมีคุณค่า
ควรศึกษาและจดจำ

…จำไว้ในดวงจิต
เอามาคิดเอามาทำ
ทางดีท่านชี้นำ
กุศลกรรมเกิดตามมา…

…”ยังไม่รวย อยู่อย่างรวย ไม่มีวันรวย ยังไม่จน อยู่อย่างจน ไม่มีวันจน”…

…บทนี้สอนให้คิด
ถึงชีวิตของผู้คน
อวดรวยก็เพราะจน
อยากให้คนคิดว่ารวย

…ไม่จนอยู่อย่างจน
ประพฤติตนไปได้สวย
ไม่อวดว่าตนรวย
ก็เลยช่วยไม่ให้จน…

…”การอวดว่ารู้ในสิ่งที่ไม่รู้น่าละอายยิ่งกว่าการสารภาพว่าไม่รู้ ในสิ่งที่ไม่รู้”…

…คนโง่อวดฉลาด
เพราะว่าขาดซึ่งปัญญา
ไม่คิดพิจารณา
สักแต่ว่าพูดออกไป

…อยากให้ใครเขารู้
ว่าตัวกูปัญญาไว
รู้หมดทุกเรื่องไป
แต่ไม่ได้รู้ไรเลย

…คนฟังเขาก็รู้
และนั่งดูอยู่เฉยเฉย
ปล่อยให้เลยตามเลย
ไม่เฉลยกลัวเขาอาย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๕ กันยายน ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๒…

…คนเราควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียวไม่มีเลวเลย…
…พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ
๒๕/๒๕/๑๖…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑…

…ผู้เจริญย่อมไม่เบียดเบียนใครไม่อาฆาตใคร ไม่พยาบาทใครให้อภัยแก่คนทุกจำพวก เจริญเมตตาจิตเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหลายไม่เอาเรื่องเอาราวกับใคร ใจพร้อมที่จะให้อภัยอยู่เสมอ วางใจได้อย่างนี้ใจเราก็จะมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์เพราะการให้อภัย…

…ให้มีสติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา มีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมออย่าให้เผลอ จิตนิ่งสงบก็รู้อยู่ในความนิ่งสงบนั้น เป็นหนึ่งอยู่รู้ตัวอยู่ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ส่ง ไม่ส่ายไม่วุ่น ไม่วาย ไม่ปล่อยใจให้ไปออกนอกลู่นอกทาง อยู่กับอารมณ์กรรมฐานตลอดเวลา อย่าให้มีช่องว่างที่กิเลสจะแทรกเข้ามาได้ เราก็จะได้พบกับสภาวธรรมที่แท้จริง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๑”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๑…

…ทุกอย่างย่อมจะมีความสำเร็จได้ถ้าหากเรานั้นมีความตั้งใจและพยายามเดินตามความฝันของเรานั้นต่อไปไม่ท้อถอยหรือหวั่นไหวกับอุปสรรคปัญหามีความศรัทธาและเชื่อมั่นในความดีที่กระทำสิ่งนั้นย่อมจะนำไปสู่ความสำเร็จของชีวิตในสิ่งที่ตนคิดและกิจที่ตนนั้นปรารถนาเพราะว่าความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๑”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๖

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๖…

…สรุปธรรมะที่ได้จากการเดินทาง เรียนรู้ทุกอย่างที่ได้ประสพมา ปรับเข้าหาหลักธรรม น้อมนำธรรมะมาช่วยสงเคราะห์ญาติโยมในการแก้ไขปัญหาชีวิตแนะนำหลักคิด การทำงาน การบริหารจัดการกับชีวิต ไม่ยึดติดกับรูปแบบ ภาษาและตัวอักษร สอนเขาโดยที่เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เรากำลังกล่าวแนะนำเขานั้นคือหลักธรรม เขาจะเชื่อและจะนำไปปฏิบัติตามเพื่อให้ชีวิตของเขาดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๖”

บทเส้นทางสายธรรม

…บทเส้นทางสายธรรม…

…เคยเบื่อความวุ่นวายของสังคมหลีกเร้นไปอยู่ตามถ้ำในป่าเขาและบนดอย แต่ไม่ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ย่อมต้องอยู่ร่วมและอาศัยศรัทธาของผู้คนในถิ่นนั้นในการหาเลี้ยงชีพและเมื่อมีการพบปะกัน ความวุ่นวายย่อมตามมาปัญหามันมีอยู่ในทุกที่ที่มีคนเมื่อได้รู้และเห็นเป็นอย่างนั้นจึงต้องกลับมาทบทวนใหม่ ว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไรในสังคมอันวุ่นวาย จึงได้เอาปัจจุบันธรรมนั้นมาคิดพิจารณาเป็นอารมณ์ กรรมฐาน

อ่านเพิ่มเติม “บทเส้นทางสายธรรม”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๐…

…“อย่าทำดีเพียงเพื่อ…ดีกว่าคนอื่น”…

…การทำความดีนั้นจิตใจของเราต้องดีด้วยและไม่มีเจตนาแอบแฝง โดยหวังผลประโยชน์ตอบแทนกลับมา อย่างเช่นทำไปเพื่อให้เขาชมว่าเราดีกว่าคนนั้นคนนี้เรียกว่าทำดีเพื่อเอาดีมาข่ม

…ความคิดอย่างนั้น ภาษาพระท่านเรียกว่ามีความปรารถนาลามก หรือทำดีเพื่อหวังเอาหน้า ให้เขาประกาศให้เขาโฆษณาชื่อเราพอเขาไม่ประกาศชื่อก็น้อยใจ ความน้อยใจนั้นแหละมาตัดกำลังบุญที่จะได้รับ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๐”

บอกเล่าจากการเดินทาง

…บอกเล่าจากการเดินทาง…

…สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง …

๑. พุทธวิสัย…วิสัยของพระพุทธเจ้า

๒.ฌานวิสัย…วิสัยของผู้ที่ได้ฌาน

๓.กรรมวิสัย…วิสัยที่เป็นกรรมวิบากแห่งกรรม

๔.โลกาวิสัย…ความคิดเรื่องโลกทั้งหมด

…เป็นเรื่องอจินไตย หมายถึงวิสัยที่ไม่ควรคิดของบุคคลทั้งหลายสิ่งที่ควรคิดก็คือความพ้นทุกข์จะทำอย่างไรให้พ้นจากทุกข์…

อ่านเพิ่มเติม “บอกเล่าจากการเดินทาง”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๐…

…ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวสอนไว้ให้พิจารณาในเรื่องของการปฏิบัติไว้ว่า…

…ศรัทธามาก ปัญญาหย่อน ความโลภจะเข้าครอบงำจิต

…ปัญญามาก แต่ศรัทธาหย่อน ความสงสัยลังเลจะเข้าครอบงำ

…วิริยะความเพียรกล้า แต่สมาธิหย่อน ความฟุ้งซ่านจะเข้าครอบงำ

…สมาธิกล้า วิริยะความเพียรหย่อน ความง่วงจะเข้าครอบงำ

…สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นตัวเข้าไปปรับอินทรีย์พละ ให้มีความเสมอกัน …

…ความเจริญในธรรมนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้ โดยองค์แห่งคุณ ๓ ประการคือ…

๑. อาตาปี ความเพียรตั้งใจจริง
๒. สติมา มีสติระลึกรู้เท่าทันอารมณ์
๓. สัมปชาโน มีความรู้ตัวทัวพร้อมทุกขณะ

…องค์คุณทั้ง ๓ นี้จะทำให้เกิดความพอดี ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าในธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๐”