บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๔…

…“เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นและอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป”

“อปฺปมตฺตสฺส อนุปฺปนฺนา เจว
กุสลา ธมฺมา อุปฺปชฺชนฺติ อุปฺปนฺนา
จ อกุสลา ธมฺมา ปริหายนฺติ”
…พุทธสุภาษิต เอกนิบาต ๒๐/๑๑…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๙…

“เรียบง่าย ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ”

…บางครั้งจึงเกิดปัญหาแก่ลูกศิษย์ผู้ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ แล้วเอาไปกระทำตาม คืออยากจะทำอะไรตามที่ใจของตนปรารถนา แล้วบอกว่าเป็นการไม่ยึดติดในรูปแบบซึ่งมันเป็นความเห็นและการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งนั้นเกิดมาจากความขี้เกียจ ความมักง่ายไม่ได้เกิดจากความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่เป็นไปเพื่อสนองตัณหา ความอยากกระทำของตนเอง สิ่งนั้นมันไม่ใช่การปล่อยวางแต่มันเป็นการทอดทิ้งธุระ คือการละเลยไม่ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มิชอบเพราะไม่ประกอบด้วยกุศลจิตเป็นพื้นฐานในการคิดและการกระทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๘…

…หลักธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้นจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่ไม่มีการขัดแย้งกัน สงเคราะห์อนุเคราะห์เกื้อกูลรองรับซึ่งกันและกัน เราไม่อาจจะไปปรับหลักทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ให้มาตรงกับความคิดเห็นของเรานั้นได้แต่เราสามารถที่จะย้ายจุดยืนของเรานั้นให้ไปตรงกับหลักที่วางไว้ตั้งไว้ได้

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๒…

…จิตระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตของเช้าวันหนึ่งบนดอยสูงกลางป่าใหญ่ สายฝนได้โปรยปรายลงมาในยามเช้าฉันเฝ้ามองดูหยดน้ำที่ตกจากหลังคาหยดแล้วหยดเล่าที่ตกมาไม่ขาดสาย เพ่งมองจนเวลาผ่านล่วงไปเนิ่นนาน สภาวธรรมได้เกิดขึ้นในจิตสังเวชในชีวิตที่ล้วนแล้วแต่ทุกข์ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้และแน่นอนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะไปยึดมั่นถือมั่นได้เลย

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๒”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๓…

…สร้างวัดสร้างวัตถุนั้นสร้างได้ง่ายแต่การสร้างคนที่จะมาดูแลรักษานั้นสร้างได้ยาก ในร้อยคนจะหาสักคนก็นับว่ายาก เพราะสิ่งที่ขาดหายไปนั้นคือการเป็นผู้รู้จักเสียสละและมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม เป็นผู้มีความขยัน อดทน ซึ่งมันต้องมีพื้นฐานที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เป็นเด็กดั่งคำโบราณที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ …

…ในอ้อมกอดของขุนเขาใต้ร่มเงาหมู่มวลพฤกษาท่ามกลางสายลมที่พัดโชยมาบนจุดหนึ่งของกาลเวลาได้ถามตัวเองอยู่เสมอว่า… แสวงหาให้ได้มาซึ่งสิ่งใดทบทวนในสิ่งที่ได้ผ่านไปว่าความมุ่งหวังที่ตั้งใจไว้นั้นก้าวไกลถึงไหนแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๘…

…อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ…

…ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบมีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์…

…ชีวิตในแต่ละวันที่ผ่านไปนั้นทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ ทำกิจวัตรของสงฆ์ตามปกติ เสร็จจากกิจวัตรของสงฆ์ก็มาปฏิบัติกิจวัตรของการเป็นผู้นำเจ้าของผู้ดูแลสถานที่ของหมู่คณะ นั้นคือการตรวจตราดูแลการก่อสร้าง ดูแลความเรียบร้อยในที่อยู่อาศัย สนทนาและให้กำลังใจแก่คนผู้ร่วมงานทั้งหลายคิดโครงการวางแผนงานที่จะทำกันต่อไปในอนาคตข้างหน้า นี้คืองานในทางโลก

…ส่วนงานในทางธรรมนั้นก็คือการเจริญสติภาวนา ตามเวลาและโอกาสที่สามารถจะทำได้ ใช้เวลาที่ผ่านไปอยู่กับการทำงานโยธากัมมัฏฐาน เพราะถือว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม เพราะเป็นการฝึกเจริญสติฝึกควบคุมความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ที่แปรเปลี่ยนเมื่อพบ กับสิ่งกระทบทั้งหลาย

…เพราะการทำงานนั้น ต้องมีความสัมพันธ์กับหมู่คณะต้องพบปะพูดคุยและต้องทำงานร่วมกันกับผู้คนหลากหลาย หลายคนก็หลายความคิดและแตกต่างกันด้วยจิตและอารมณ์ทำให้ต้องควบคุมตนเองให้มากขึ้น มีสติระลึกรู้มากขึ้น ก่อนที่จะพูดและทำ

…เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกันทั้งทางกายและทางจิตกับผู้ร่วมงานการทำงานนั้นก็กลายเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าเราต้องอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริง ต้องพบปะกับผู้คนต้องทำงาน ต้องทำกิจเพื่อเลี้ยงชีวิตตามอัตภาพของสงฆ์ ไม่ใช่จะมีเวลานั่งหลับตาภาวนาเพียงอย่างเดียว หรือไม่พบปะกับผู้คนเลย เราต้องอยู่กับโลกกับสังคม

…นี้คือความเป็นจริงของชีวิต…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ -สมณะไร้นาม…
…๑ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๗…

…ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ยากเกินความพยายามถ้าเรามีความตั้งใจจริง เราต้องทำให้เป็นจริงไม่ทอดทิ้งธุระ ต้องเอาชนะความเกียจคร้านความท้อแท้ท้อถอย และความยากลำบากอุปสรรคและปัญหา มีไว้ให้แก้ไข ไม่ใช่มีไว้เพื่อท้อถอย ต้องตั้งใจจริง แล้วความสำเร็จจะไม่ไกลเกินความพยายาม จงปลุกปลอบใจตัวเองอยู่เสมอว่า “เสียอะไรก็ได้ แต่อย่าให้ใจนั้นเสีย”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๑…

…เมื่อใจนั้นยอมรับซึ่งความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ว่าเรานั้นเป็นผู้กระทำสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นผลแห่งวิบากกรรมที่เรานั้นได้เคยกระทำมา ไม่โทษดินโทษฟ้า หาผู้รับผิดมาแทนเรา ใจนั้นก็จะโปร่งโล่งเบาเพราะได้วางจากการยึดถือทั้งหลาย ความทุกข์ที่มีนั้นก็จะคลายและเมื่อใจสบาย ความคิดนั้นก็จะโปร่งโล่งเบา เพราะว่าเข้าใจในปัญหาอุปสรรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นและเมื่อทำใจยอมรับได้ซึ่งความเป็นจริงอุปสรรคปัญหาในทุกสิ่งนั้นย่อมจะมีหนทางที่จะแก้ไข อยู่ที่ว่าเรานั้นทำใจได้แล้วหรือยัง…

…กวีธรรมจากรอยทาง…

๐ รอนรอนตะวันลับ
เสียงนกขับกังวานมา
ใกล้ค่ำสนธยา
หมู่นกกาบินกลับรัง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๑”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๒…

… “ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม” คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรม ให้มีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา รู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลส คือความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศล มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะทำหน้าที่ของตน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๗…

…เพียงคุณเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมของชีวิต ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยนไป ดังที่เคยกล่าวไว้เสมอว่า “ถึงจะเปลี่ยนชื่อใหม่สักร้อยครั้ง แต่ถ้ายังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมและความคิด ชีวิตก็ยากที่จะประสพกับความสำเร็จ” ความขี้เกียจ มักง่าย ไร้จิตสำนึกไร้จินตนาการ คือหนทางแห่งความเสื่อมของชีวิต ยากต่อการที่จะชี้แนะส่งเสริมหรือให้การสนับสนุนให้ประสพกับความสำเร็จในชีวิตได้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๗”