บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓…

…สร้างคน สร้างงาน สร้างจิตสำนึก ในสายธรรม ด้วยการ “ทำให้ดู อยู่ให้เห็นสอนให้เป็น แล้วจึงปล่อย” รูปแบบของการนำเสนอ วิธีการนั้นอาจจะแตกต่างกันไปแต่เป้าหมายนั้นอาจคล้ายคลึงกัน สิ่งนั้นคือการเผยแผ่ธรรม ซึ่งการนำเสนอธรรมนั้นขึ้นอยู่กับ จังหวะเวลา โอกาส สถานที่และบุคคล สิ่งเหล่านั้นคือเหตุและปัจจัยที่ต้องแปรเปลี่ยนไปเพื่อความเหมาะสมที่เรียกว่า “ธรรมสัปปายะ”

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓”

ปรารภธรรมในยามใกล้รุ่งอรุณ

…ปรารภธรรมในยามใกล้รุ่งอรุณ…

…กล่าวบอกแก่ผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เสมอว่า เราต้องค้นหาตัวเองให้ได้ว่า เรานั้นมาปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร ต้องการเพียงความสงบ เพื่อหลบปัญหา หรือว่าปรารถนาซึ่งความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายเพื่อ มรรคผล นิพพาน หรือเพื่อความต้องการที่จะมีอิทธิฤทธิ์ เราต้องถามตนเองให้ได้คำตอบเสียก่อนว่า เพื่ออะไรและเมื่อได้คำตอบให้ตนเองแล้ว จึงมาคิดต่อไปว่าทำอย่างไร ศึกษาหาข้อมูลของการปฏิบัติธรรม ว่าควรทำอย่างไรถามผู้รู้ ดูตำรา แสวงหาครูบาอาจารย์นั้นคือแนวทางต่อไป

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมในยามใกล้รุ่งอรุณ”

เมื่อจิตระลึกถึงธรรมยามรุ่งอรุณ

…เมื่อจิตระลึกถึงธรรมยามรุ่งอรุณ…

…ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ล้วนแล้วตั้งอยู่ในกฎของพระไตรลักษณ์นั้นคือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตามีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไปในที่สุดเพราะเข้าไปยึดถือในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้มันเลยทำให้เกิดทุกข์

…ได้บอกกล่าวแก่ผู้ศึกษาธรรมอยู่เสมอว่า อย่าได้รีบด่วนสรุปหรือไปฟันธงว่าสิ่งที่เรานั้นรู้ เห็นและเข้าใจว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนี้ ซึ่งผู้ที่สามารถจะชี้ชัดฟันธงได้นั้น มีเพียงพระพุทธเจ้าเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม “เมื่อจิตระลึกถึงธรรมยามรุ่งอรุณ”

รำพึงธรรมย้ำเตือนตน

…รำพึงธรรมย้ำเตือนตน…

…การที่จะวางจิตให้เป็นอุเบกขาได้นั้นมันต้องมาจากฐานแห่งอิทธิบาท ๔ ก่อนเป็นไปตามขั้นตอน คือ เมตตา กรุณามุทิตา แล้วจึงจะเป็นอุเบกขา ไม่เช่นนั้นแล้วมันจะเป็นการทอดทิ้งธุระ ไม่ใส่ใจเพราะเกิดจากจิตที่เป็นอคติ

…เพราะเราเข้าใจในวิสัยของสัตว์โลกที่มีกรรมเป็นของเฉพาะตน จงอย่าได้น้อยใจหรือเสียใจ จากการสงเคราะห์เขาเราทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ก็เพียงพอแล้วถือว่าเป็นการสร้างบารมี ผลจะออกมาอย่างไร มันเป็นเรื่องของวิบากกรรมของแต่ละคน

…เราจงรับเอาแต่ส่วนที่เป็นบุญไม่ไปร่วมในส่วนที่เป็นบาปกรรมของเขา สิ่งที่ได้ทำลงไปแล้วใจเป็นสุขทุกครั้งที่คิดถึง นั้นคือบุญแต่ถ้าทำไปแล้วใจเป็นทุกข์ แสดงว่าการกระทำนั้นยังไม่ถูกต้อง แม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ดีงามก็ตาม

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมย้ำเตือนตน”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๓…

…หนทางสู่ความสำเร็จนั้นอาจจะยังอยู่อีกยาวไกลแต่จงอย่าได้หวั่นไหวท้อใจขอเรามีความตั้งใจที่มั่นคงเดินในเส้นทางที่ตรงสู่ความฝันระยะทางสู่ความสำเร็จนั้นมันย่อมสั้นลงมาทุกขณะอย่าไปสนใจในระยะทางจงทำปัจจุบันให้สมบูรณ์แล้วความสำเร็จจะมาเอง…

…กลอนหก…
…ลอยล่อง เคว้งคว้าง กลางน้ำ
เตือนย้ำ มุ่งหมาย ใฝ่คว้า
หนทาง ยังไกล สุดตา
มองหา มองเห็น เส้นทาง

…เรือน้อย ลอยล่อง ล่าฝัน
ผ่านวัน เวลา ร่วมสร้าง
ฝันไว้ คงไม่ เลือนราง
รุ่งสาง คงเห็น แสงทอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๓”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒…

…ในบางครั้งต้องแกล้งโง่ แกล้งบ้า และนิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว วิธีการอย่างนี้ต้องใช้ให้เหมาะสมกับจังหวะ เวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคล มันจึงจะได้ผล ทุกอย่างนั้นต้องมีการวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะทำอย่างไร ซึ่งเราต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแก้ไข ให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ

…สัพเพ ธัมมา อนัตตา สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเราว่าตัวว่าตนของเรา ธรรมเป็นสัจธรรมที่อยู่คู่กับโลกและธรรมชาติตลอดมา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒”

ปรารภธรรมคำกวีก่อนจะทำวัตรเช้า

…ปรารภธรรมคำกวีก่อนจะทำวัตรเช้า…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาผ่านไปเราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่ จะได้รีบเร่งสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่ได้มุ่งหวังว่าต้องเป็นชาตินี้หรือชาติหน้า เพียงแต่ตั้งใจไว้ว่า ทำต่อไปเรื่อย ๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ไปเมื่อนั้นจะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเอง เพราะจะทำให้เกิดอาการเกร็ง แล้วเข้าไปเคร่ง ซึ่งมันจะทำให้เครียด

…“อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมํ คลมุตฺตมํ” การทำงานไม่คั่งค้างเป็นมงคลอันประเสริฐเพราะทำให้เราตัดกัมมะปลิโพธออกไปได้ถ้ากว่าการงานที่เราทำนั้นยังทำไม่เสร็จมันจะทำให้ค้างคาใจอดคิดถึงมันไม่ได้และเมื่องานที่เราได้ทำนั้นเสร็จสำเร็จไปแล้วปีติมันก็จะเกิดทำให้มีกำลังใจเพิ่มขึ้น

…พยายามทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่างจากอัตตา อย่างที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านสอนและท่านทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมคำกวีก่อนจะทำวัตรเช้า”

จิตระลึกถึงธรรมยามก่อนรุ่งอรุณ

…จิตระลึกถึงธรรมยามก่อนรุ่งอรุณ…

…เมื่อใจของเรามีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว ความศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะบังเกิดขึ้นและส่งผลไปยังพระสงค์สาวกของพระพุทธองค์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สืบทอดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันมา

…พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสตินั้นเป็นอนุสสติที่เกื้อกูลกัน สืบเนื่องกันเป็นการระลึกนึกคิดที่เป็นพื้นฐานของกุศลธรรมทั้งหลาย ที่จะเจริญยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป ถ้าเราทั้งหลายนั้นมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่ละความความเพียรในการประกอบกรรมดี…

อ่านเพิ่มเติม “จิตระลึกถึงธรรมยามก่อนรุ่งอรุณ”

รุ่งอรุณแห่งธรรม นำชีวิตไม่ผิดทาง

…รุ่งอรุณแห่งธรรม นำชีวิตไม่ผิดทาง…

…รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาจงพยายามรักษาจิตคิดแต่สิ่งที่เป็นกุศล เพื่อเป็นการเริ่มต้นด้วยกุศลธรรมในเช้าวันใหม่ให้แก่ชีวิตรักษาจิตให้เป็นกุศลอยู่กับปัจจุบันธรรมเพื่อจะนำชีวิตไปสู่ทิศทางที่ดี

…สิ่งที่ดีนั้นต้องเริ่มที่ตัวเราเป็นเบื้องต้นเป็นลำดับแรก เมื่อจิตของเรานั้นอยู่กับปัจจุบันธรรม ทุกอย่างรอบกายที่ได้พบเห็นก็จะเป็นธรรมะไปหมดโศลกธรรมต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นแก่จิต ซึ่งเรียกว่า “อุทานธรรม” เพราะจิตนั้นกำลังพิจารณาอยู่กับปัจจุบันธรรมทำให้อกุศลจิตไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะใจของเรานั้นเป็นกุศล ความเป็นมงคลก็ย่อมมีแก่เรา…

อ่านเพิ่มเติม “รุ่งอรุณแห่งธรรม นำชีวิตไม่ผิดทาง”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๒…

…อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ…

…ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบมีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้นทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ ทำกิจวัตรของสงฆ์ตามปกติเสร็จจากกิจวัตรของสงฆ์ ก็มาปฏิบัติกิจวัตรของการเป็นผู้นำเจ้าของสถานที่ของหมู่คณะ คือการตรวจตราดูแลการก่อสร้าง ดูแลความเรียบร้อยในที่อยู่อาศัย สนทนาและให้กำลังใจแก่คนผู้ร่วมงานทั้งหลาย คิดโครงการวางแผนงานที่จะทำกันต่อไป นี้คืองานในทางโลก

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๒”