ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๐…

…ดั่งที่เคยได้กล่าวเตือนไว้เสมอว่า “ถ้าเชื่อทันที อาจจะนำไปสู่ความงมงาย ถ้าปฏิเสธทันที อาจจะทำให้เราขาดประโยชน์ที่ควรจะได้รับจึงควรที่จะคิดพิจารณา ไตร่ตรองให้รอบคอบในสิ่งที่รู้ที่เห็น ควรจะทดลองพิสูจน์ ศึกษาฝึกฝนที่ใจตนให้เกิดความกระจ่างชัด รู้ซึ้งถึงเหตุและปัจจัย ความเป็นมา ความเป็นไปให้ขึ้นด้วยใจตนแล้วจึงจะเชื่อหรือปฏิเสธ โดยเอาเหตุและผลที่เป็นจริงมาเป็นที่ตั้ง แล้วทุกอย่างก็จะสรุปจบลงที่ใจ”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๙…

…ฤดูกาลแห่งพรรษาผ่านล่วงเลยไปเกินครึ่งพรรษา รู้สึกธรรมดากับวันเวลาที่ผ่านไปเพราะว่าใจเรานั้นไม่ได้มีความกังวล ไม่เหมือนสมัยเมื่อแรกบวชนั้น เรายังทำใจไม่ได้ไม่เข้าใจธรรม ไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ พอถึงฤดูเข้าพรรษาใจเรามันเร้าร้อน มีความกังวลกับวันเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวันนั่งนับวัน นับคืน ดูปฏิทิน อยากจะให้วันเวลานั้นผ่านไปให้ถึงวันออกพรรษาเร็วๆ เพื่อจะได้เดินทางท่องเทียวเปลี่ยนสถานที่ ไปแสวงหาครูบาอาจารย์ตามที่ต่าง ๆ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๘…

…ทุกสิ่งอย่างสามารถที่จะสงเคราะห์เข้ากับหลักธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาพระสัมพุทธเจ้าได้ ถ้าเรานั้นเปิดใจ ยอมรับความเป็นของสรรพสิ่งที่เป็นไปในโลกนี้ บนหลักของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน แปรเปลี่ยนไปได้ทุกโอกาส ตามเหตุและปัจจัย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๗…

…การปฏิบัติธรรมไม่ได้ทำให้ เรานั้นฉลาดขึ้น แต่ทำให้เรา เห็นความโง่ความหลงผิด ในอดีต ของเราที่ผ่านมา ปฏิบัติมากก็เห็นมากขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๖….

…เราไม่อาจจะไปปรับหลักธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ให้มาตรงกับความคิดเห็นของเราได้แต่เราสามารถที่จะย้ายจุดยืนของเราให้ไปตรงกับหลักที่วางไว้ตั้งไว้ได้ เพียงเราปรับความคิดและมุมมองของเราเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับหลักธรรม

“เพียงคุณเปลี่ยนความคิด ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยน”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๕…

…ทบทวนใคร่ครวญเกี่ยวกับปลิโพธ ๑๐ ว่าเรานั้นยังติดอยู่ ข้องอยู่ ยังไม่ปล่อยสิ่งใดที่ยังมีกำลังมาก สิ่งใดที่มีกำลังน้อยสิ่งใดที่ละวางได้แล้ว เพื่อเป็นการตรวจดูความพร้อมก่อนออกเดินทาง ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๔…

…การไร้รูปแบบก็คือการมีรูปแบบเฉพาะตัวนั้นเอง โดยการไม่เข้าไปยึดติดในรูปแบบที่เป็นกระแสนิยมของสังคม แต่เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับจริตและวิถีชีวิตของผู้ปฏิบัตินั้นเอง เป็นการกระทำที่รู้ได้เฉพาะตน มีเหตุและผลในการกระทำทั้งหลาย…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๓…

…ความผิดพลาด ความล้มเหลวหรือความสูญเสียนั้น มันมิใช่ข้อยุติสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้ว นำมาซึ่งประสบการณ์ของชีวิต เป็นบทเรียนของชีวิต ที่จะทำให้เราเข้มแข็งและกล้าแกร่งยิ่งขึ้น

…ขอเพียงให้เรายึดมั่นในอุดมคติของเราอย่าได้หวั่นไหว เพราะหนทางที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น มันต้องฟันฝ่าและเผชิญต่ออุปสรรคปัญหาอยู่ตลอดเวลา อุปสรรคและปัญหาเหล่านั้นคือบทเรียน บททดสอบสติปัญญาและคุณธรรมของเรา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๒…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒….

…“นิ่งไม่เป็น โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก”เพราะบางครั้งที่เราแสดงความคิดอวดฉลาดอวดรู้ออกไปนั้น มันเป็นการเอาความโง่ของเราออกมาประจานตัวเราเอง คำพูดและการกระทำ มันสามารถที่จะนำมาวิเคราะห์ว่าเขาเป็นอย่างไร ภูมิธรรมภูมิปัญญาระดับไหน มาจากความจริงใจหรือว่าเป็นมายา เมื่อเรานิ่งสงบย่อมจะมีเวลาที่จะที่ตั้งสติและมีสมาธิในการคิดพิจารณา ศีล สมาธิ ปัญญา คือแนวทางของการแก้ปัญหาทุกอย่างของชีวิต…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๑…

…”ภายนอกเคลื่อนไหว ภายในสงบนิ่ง” คำว่าสงบนิ่งนั้น หมายถึงการไม่หวั่นไหวไปตามกระแสโลกทั้งหลายไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่ประสพพบเห็นวางใจให้เป็นกลาง มองทุกสิ่งอย่างด้วยเหตุและผล ซึ่งอยู่บนหลักแห่งธรรม นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “ให้ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” คือว่างจากกิเลส คือว่างจากตัณหาและอัตตา พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมะ ให้สอดคล้องกันทั้งในทางโลกและทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๑”