ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐

… ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐ …

…วิถีทางและวิถีธรรม…

…เมื่อมีการกระทำ ย่อมมีผลของการกระทำ ซึ่งผลของการกระทำนั้นจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่ บุคคลและเจตนาแห่งการกระทำนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผล ซึ่งแต่ละคนย่อมมีเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกันทำให้ความรู้ ความเห็นและความเข้าใจนั้นแตกต่างกันไปตามเหตุและปัจจัย ไม่มีใครคิดเห็นถูกไปเสียทั้งหมดและไม่มีใครผิดไปทั้งหมดเพราะว่าความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นเป็นปัจเจก จึงไม่มีอะไรดีที่สุดและอะไรถูกต้องที่สุด มันมีเพียงความเหมาะสมกับจังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙…

…ออกพรรษามาแล้วได้สองวันพิจารณาทบทวนในสิ่งที่ผ่านมาคุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไปสอนให้เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ควบคุมความรู้สึกต่ออารมณ์กระทบทั้งหลายได้เร็วขึ้นมีสติและสัมปชัญญะมากกว่าอดีตที่ผ่านมา กาลเวลาสอนให้ระลึกนึกคิดรู้ถูกผิด ผิดชอบชั่วดี มีการเจริญเมตตาจิตเพิ่มขึ้น จากการที่อยู่กับธรรมชาติและสรรพสัตว์รอบกายดำเนินชีวิตไปตามบทบาทและหน้าที่ด้วยการมีสติและสัมปชัญะควบคุมอยู่การหมั่นฝึกคิดพิจารณาทุกอย่างให้เป็นธรรมะนั้น ช่วยให้ละวางได้อย่างมาก โดยการฝึกคิดพิจารณาเข้าหากฎของพระไตรลักษณ์เห็นถึงความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งทั้งหลายรอบกาย ความแปรเปลี่ยนไปไม่เที่ยงแท้ ยึดถือไม่ได้และรู้ถึงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อจิตเข้าไปยึดถือก็ทำให้เกิดทุกข์ จิตก็ปล่อยวางทุกอย่างเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘…

…ผู้ที่จะเป็นนักปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทขาดสติที่เป็นสัมมาสติ คือการระลึกรู้ในสิ่งที่ดี เพราะว่าความประมาทที่ขาดสัมมาสตินั้น จะทำให้นักปฏิบัติเห็นผิดไปจากความเป็นจริง คือมีสติ แต่เป็นมิจฉาสติคือการระลึกรู้ในสิ่งที่ผิดที่ชั่วความไม่ประมาทนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอยู่ ๔ ประการคือ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗…

…ขบวนการทางจิตมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ทุกขั้นตอนของการพัฒนาทางจิต ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ ตามลำดับชั้นและขั้นตอนเพื่อเป็นการสร้างความเคยชินตัวใหม่ให้แก่จิตของเรา ซึ่งกว่าจะกลายเป็นความเคยชินได้นั้น มันต้องใช้ระยะเวลาของการสั่งสมอบรมจิต ด้วยการฝึกคิดและฝึกทำอย่างสม่ำเสมอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖…

…มีผู้คนจำนวนมากที่ปฏิบัติธรรมโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังปฏิบัติธรรมอยู่ เพราะว่าเขาเหล่านั้น ไม่ได้ไปยึดติดหรือสนใจในรูปแบบและความหมาย เพียงแต่ดำเนินชีวิตไปอย่างมีสติในการคิดและการทำงาน มีสมาธิเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวเป็นสมาธิตามธรรมชาติที่ทุกคนนั้นมีอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕…

…อดีตที่ผ่านมานั้น ถ้าเรารู้จักการเรียนรู้วิเคราะห์และศึกษา นำอดีตเหล่านั้นมาเป็นบทเรียน สรุปความเป็นไปในชีวิตที่ผ่านมา เก็บเอาข้อดีของชีวิต มาคิดสานต่อและลดละข้อเสียทั้งหลายไปแก้ไขชีวิตของตนใหม่ กำหนดทิศทางไปของชีวิตไปตามที่จิตนั้นปรารถนามีความเชื่อมั่นและศรัทธาในบุญกุศลที่ตนได้กระทำมา เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชีวิต ด้วยการคิดต่อโลกในเชิงบวก คือการมองโลกที่พบเห็นในแง่ดี ชีวิตนี้ก็จะดำเนินไปในทิศทางที่ดี มีความสุขกาย สบายใจ ชีวิตที่ดำเนินต่อไปนั้น เมื่อไม่มีความกดดันทุกอย่างนั้นย่อมพบกับความโปร่งโล่งเบาและสบาย มุมมองทั้งหลายก็จะเปิดกว้างยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔…

…ลมหายใจแห่งสายธรรม…

…ในการทำงานแต่ละอย่างนั้น เราต้องปลุกจิตปลุกใจให้มีฉันทะคือความพึงพอใจในงานนั้นมีความปีติยินดีในสิ่งที่กระทำมีสติอยู่ทุกขณะจิตในขณะที่ทำงานนั้นๆ งานที่ทำนั้นก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตามหลักธรรมของอิทธิบาท ๔ คือต้องมี ฉันทะวิริยะ จิตตะ วิมังสา งานนั้นจึงจะก้าวหน้าและนำไปสู่ความสำเร็จการที่จะทำให้จิตเจริญอยู่ในอิทธิบาท ๔ ได้นั้น เกิดได้จากการใช้สติพิจารณา ให้เห็นถึงคุณถึงโทษ ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ในสิ่งที่จะกระทำ คิดถึงประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านที่จะได้รับถ้าสิ่งที่กระทำนั้นสำเร็จผลแล้วจิตจะเกิดศรัทธามีกำลังใจที่จะกระทำในสิ่งนั้น ความปีติยินดีที่ได้กระทำก็จะเกิดขึ้น มีความเพลิดเพลินในการกระทำ จิตในขณะที่กระทำก็จะเป็นกุศลจิตเพราะมีอารมณ์ธรรมแห่งพรหมวิหารคุ้มครองอยู่

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓…

…”ภิกษุจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลอันดี จงมีความดำริตั้งมั่นตามรักษาจิตของตนเถิด”

“อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ
ภิกฺขโว สุสมาหิตสงฺกปฺปา
สจิตฺตมนุรกฺขถ”
…พุทธสุภาษิต มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๒๐…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒…

…”ภิกษุทั้งหลาย! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นถึงเพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียงเพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเรา ก็หามิได้ แต่ที่จริงแล้ว เพื่อความสังวรระวัง เพื่อละกิเลส เพื่อคลายกิเลสและเพื่อดับกิเลสเท่านั้น”…

…” นยิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนุติ “…
…พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๑…

…รางวัลแห่งความสำเร็จของชีวิต มิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้นแต่อยู่ที่ปลายทาง ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ชีวิตนี้ยังไม่สิ้นหวังทุกสิ่งที่ผ่านมานั้น มันไม่ใช่ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดมันเป็นบทเรียนหนึ่งของชีวิตที่ต้องเรียนรู้ จงเอาอดีตที่ผ่านมานั้นมาเป็นครูสอนให้เราเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบัน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๑”