ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๐…

“การสะสมบุญทำให้มีความสุข”
“สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย”
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๒๖…

…การทำงานทุกอย่างเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าการปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญกุศลจิตเจริญสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะจิต มีความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาทั้งในการคิดและการกระทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๙…

…เหมือนดั่งโบราณที่ท่านว่า…
“สิบปากว่า ไม่เท่าหนึ่งตาเห็น
สิบตาเห็น ไม่เท่าหนึ่งมือคลำ
สิบมือคลำ ไม่เท่ากับทำเอง”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๘…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่เพื่อไม่ให้เราหลงกับวัยและเวลาชีวิตที่เหลืออยู่จะได้เร่งสร้างคุณค่าให้กับชีวิต แม้นเพียงสักน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่เรานั้นจะไม่ได้ทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ไม่ได้หวังว่าจะต้องได้ในชาตินี้หรือชาติหน้าเพียงแต่ตั้งใจว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ถึงเมื่อไหร่ไปเมื่อนั้น จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเองเหมือนที่เคยผ่านมา เพราะว่าจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะไปเคร่งแล้วมันจะเครียด เป็นการเบียดเบียนตนเองความเจริญในธรรมทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะว่าความกังวลกดดันมาขวางกั้นความเจริญในธรรมทั้งหลายมิให้เกิดขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๗…

…ถ้าไม่ยึดอะไรในสิ่งรู้ ก็จะอยู่อย่างสงบพบเยือกเย็น จากหนังสือ “ฟ้าสางทางสุภาษิต ที่ข้าพเจ้าชอบ”…

…หลวงพ่อพุทธทาส โมกขพลาราม ไชยา…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราวมากมาย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะสิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้ เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นขยะทางความคิดลบมันไปไม่จดจำ ใช้สติใคร่ครวญทบทวนสิ่งผ่านเข้ามา ว่าสิ่งไหนเป็นสาระ สิ่งไหนไม่เป็นสาระ พิจารณาให้เห็นคุณ เห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของทุกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามา พิจารณาเข้าสู่ความเป็นกุศลและอกุศล มีสติเตือนตนให้อยู่ในความไม่ประมาท ไม่ปรุงแต่งในอกุศลประคองจิตของตนให้อยู่ในธรรมน้อมนำจิต เข้าสู่ความสงบนิ่ง มองทุกสรรพสิ่งให้เป็นธรรมะ แล้วจะพบสัจธรรมของธรรมชาติในกายและจิตของเรา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖…

…การปฏิบัติธรรมที่ให้เริ่มต้นจากการให้ทานนั้น ก็เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการปรับจิต ให้รู้จักคิดเสียสละ ลด ละซึ่งความเห็นแก่ตัว เพื่อให้มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟือเผื่อแผ่ มีพรหมวิหาร ๔ อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต จิตนั้นจะอ่อนโยนลง ไม่หยาบ ไม่แข็งกระด้างเป็นการสร้างคุณธรรมให้แก่จิต แต่ก็ไม่ให้ไปยึดติดในทานนั้นจนเกินไปจนกลายเป็นทิฐิมานะและอัตตา โดยคิดว่าเราดี เราเด่นกว่าผู้อื่น “แม้นน้อยนิดด้วยปัจจัย แต่ยิ่งใหญ่ด้วยอานิสงส์ ถ้าจิตจำนงนั้นบริสุทธิ์” ไตรสิกขา ๓ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้สำหรับประชาชนทั้งหลาย จึงเริ่มต้นด้วยทาน ศีล ภาวนา ซึ่งต้องปฏิบัติให้สอดคล้องต้องกัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตให้มีความเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕…

…”เสียหนึ่ง อย่าเสียสอง
เสียของ อย่าเสียใจ
เสียแล้ว ให้เสียไป
ใจอย่าเสีย “…

…เป็นคำสอนของหลวงพ่อจำเนียรสีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือซึ่งท่านได้กล่าวเตือนสติบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ให้นำไปพิจารณาปฏิบัติตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ ในเรื่องของจิต คือการมีสติพิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติเมื่อมีสิ่งมากระทบแล้วจิตเข้าไปปรุงแต่งตาม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔…

…ในช่วงระยะนี้มักจะมีญาติโยมมาขอความช่วยเหลือ ให้ตั้งชื่อให้เด็กที่เกิดใหม่หรือเพื่อจะเปลี่ยนชื่อใหม่หรือไม่ก็ขอให้ตั้งชื่อบริษัท ห้างร้านร้านอาหารอยู่เสมอมิได้ขาด ซึ่งเราต้องสงเคราะห์ช่วยเหลือ เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ญาติโยมเหล่านั้นและการตั้งชื่อแต่ละครั้งนั้นก็ต้องใช้หลัก “ทักษาปกรณ์” ซึ่งสืบทอดกันมาแต่โบราณ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓…

..ระลึกถึงคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวไว้ “จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัยผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒…

…จิตระลึกถึงสุภาษิตบทหนึ่งขึ้นมาเป็นโพธิสัตว์คาถาที่ว่า…

…” อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ อธุรายํ นิยุญํํชติ
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ
วินยํ โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ “…

…แปลความว่า…
“คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด คนพาลมักทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ คนพาลมักเห็นผิดเป็นชอบ คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ คนพาลไม่ยอมรับระเบียบวินัย ดังนั้น การไม่พบเห็นคนพาลจึงเป็นการดี”
…โพธิสัตว์คาถา อกิตติชาดก ๒๗/๓๓๗…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑…

” บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อนแล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นภายหลังตนจึงจะไม่มัวหมอง “

” อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต “…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑”