ใคร่ครวญธรรมย้ำเตือนจิต

…ใคร่ครวญธรรมย้ำเตือนจิต…

…ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่าเป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะ

๑. พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วย หิริ ความละลายต่อความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว

๒. พึงศึกษาว่า เราจักมีกายสมาจารคือความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ที่ตื้น ที่เปิดเผย ไม่เป็นช่อง ประกอบด้วยความสำรวม ทั้งจะไม่ยกตนข่มท่าน ด้วยข้อนั้น

๓. พึงศึกษาว่า เราจักมี วจีสมาจาร คือประพฤติทางวาจา ได้แก่คำพูดที่บริสุทธิ์

๔. พึงศึกษาว่า เราจักมี มโนสมาจาร คือความประพฤติทางใจ คือความคิดอันบริสุทธิ์

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมย้ำเตือนจิต”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๘…

…“ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ ปิยาปาโย หิ ปาปโก”

“การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก”
เป็นการทราม (ขุ.ธ. ๒๕/๔๓)….

…ใคร่ครวญทบทวนธรรมน้อมเข้าสู่ภายในถึงความเป็นไปของกายและจิตที่ได้ผ่านมา และที่กำลังเป็นอยู่ เพื่อค้นหาตัวตนที่แท้จริงค้นหากิเลสและกรรมที่ทำให้เป็นไป ตามเหตุและปัจจัยของอุปธิทั้งหลายที่มีอยู่

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๗

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๗…

…ระลึกนึกถึงคำกล่าวของครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “เมื่อหยุดคิดหยุดปรุงแต่งและวางทุกสิ่งลงได้ ทั้งสิ่งที่รู้และสิ่งที่ถูกรู้ทั้งปวง สัจธรรมจริงแท้ก็จะปรากฏขึ้นมาให้รู้เห็นเอง”

…มันเป็นเช่นนี้เอง…

๐ รอนแรม มาเรียงราย
สู่จุดหมาย ที่เดียวกัน
ตามล่า หาความฝัน
จึงได้เป็น อย่างเห็นมา

๐ ตามแนว ของพุทธะ
สมณะ ผู้ค้นหา
สำรวม กายวาจา
ตั้งใจสู่ เส้นทางธรรม

๐ ฝึกฝน ปฏิบัติ
อย่างเคร่งครัด ไม่ใฝ่ต่ำ
คิดชอบ ประกอบกรรม
กุศลนี้ จึงได้มา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๗”

ระลึกถึงธรรม ย้ำเตือนจิต

…ระลึกถึงธรรม ย้ำเตือนจิต…

…ทบทวนธรรมเรื่องมรรคองค์ ๘ …

…อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นเป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลางแห่งการดำเนินชีวิตที่ไม่ผิดทำนองคลองธรรม ซึ่งมีหลายระดับชั้นตามกำลังของผู้ปฏิบัติ อย่างหยาบปานกลางและละเอียดตามความเหมาะสมของภูมิธรรมของแต่ละบุคคล อันได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นที่ถูกต้องรู้จักผิดชอบชั่วดี เห็นในความเป็นจริงแยกแยะกุศลและอกุศล

๒. สัมมาสังกัปปะ คือความรู้สึกนึกคิดที่จะไม่ทำในสิ่งที่ผิด อันเป็นอกุศลทั้งหลาย

๓. สัมมาวาจา คือการสำรวมในการพูดการเจรจา ไม่ก่อให้เกิดปัญหามีวาจาที่สุภาพอ่อนโยน

๔. สัมมากัมมันตะ คือการทำงานที่ไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ผิดกฎหมายศีลธรรม

๕. สัมมาอาชีวะ คือการประกอบอาชีพที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม

๖. สัมมาวายามะ คือความเพียรพยายามควบคุมจิต ระวังบาปอันเป็นอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น ละบาปอันเป็นอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปพยายามสร้างกุศลตัวใหม่ให้เกิดขึ้นกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วรักษาให้เจริญยิ่งขึ้น

๗. สัมมาสติ คือการมีสติระลึกรู้อยู่เสมอในสิ่งที่เป็นบุญและบาปและเตือนสติไม่ให้คล้อยไปในอกุศลธรรม

๘. สัมาสมาธิ คือการมีความแน่วแน่ตั้งมั่นในสิ่งที่กำลังกระทำ โดยมีสัมมาสติควบคุมอยู่

…ที่กล่าวมานี้คือมรรคอันมีองค์ ๘ สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนที่สามารถจะนำไปประพฤติปฏิบัติได้โดยที่ไม่ขัดกัน ทั้งในทางโลกและทางธรรม ส่วนอริยมรรคอันมีองค์๘ของสมณะนั้นจะละเอียดยิ่งไปกว่านี้เพราะบทบาทและหน้าที่สถานะนั้นแตกต่างกัน ซึ่งถ้าเรารู้บทบาทและหน้าที่ของเราแล้ว การดำเนินชีวิตก็จะไม่ผิดทำนองคลองธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

กระแสธรรมแห่งกาลเวลา

…กระแสธรรมแห่งกาลเวลา…

…ช่วงนี้หยุดพักเรื่องการเดินทางลงชั่วคราว ทำให้มีเวลาที่จะทบทวนได้ในสิ่งที่ได้ผ่านมา สิ่งที่มุ่งหวังและตั้งใจไว้ สิ่งที่ได้กระทำลงไปและสิ่งที่ยังไม่ได้กระทำ การทำงานทุกอย่างนั้นต้องมีแผนงาน มีแบบแผนและโครงสร้างที่เราต้องวางไว้ล่วงหน้าซึ่งที่ผ่านมานั้นเกิดจากการคิดและวิเคราะห์หาความเหมาะสมกับเวลาโอกาส สถานที่ บุคคล เอามาเป็นเหตุและผลของการกำหนดแผนงาน

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมแห่งกาลเวลา”

ทบทวนธรรม คำกวี

…ทบทวนธรรม คำกวี…

…วันเวลาที่ผ่านไปนั้น ทำงานไปตามบทบาทและหน้าที่ตาม จังหวะ เวลาและโอกาสที่พึงมี ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ “ชีวิตคือการทำงาน การทำงานคือส่วนหนึ่งของชีวิต”

…ชีวิตนั้นต้องดำเนินไปตามกระแสแห่งกรรมที่ทำมา ทุกคนเกิดมาต่างมีภาระหน้าที่และบทบาทที่แตกต่างกัน ตามที่กรรมเก่าได้จัดสรรไปตามเหตุและปัจจัยซึ่งที่มานั้นเราไม่สามารถที่จะแก้ไขได้เพราะมันเป็นเรื่องของอดีตที่ผ่านมาแล้วแต่เรื่องราวในอนาคตนั้น เราสามารถที่จะกำหนดได้ โดยการสร้างเหตุและปัจจัยในวันนี้ ดำเนินชีวิตตามภาระและหน้าที่ของเราที่มีให้สมบูรณ์ ทำในสิ่งที่ไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่นไม่ฝ่าฝืนธรรมวินัย กฎหมายและประเพณีที่ดีงาม เดินตามอริยมรรคอันมีองค์ ๘ ตามสถานะและสภาวะของเรา…

อ่านเพิ่มเติม “ทบทวนธรรม คำกวี”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๗…

…มีผู้ปรารถนาดีหวังดีมาถามอยู่เสมอว่า ทำไม่ไม่อยู่อย่างผู้อื่นเขาทำไมไม่เอาอย่างเขา ก็ตอบไปว่าเราอยู่กับตัวตนที่แท้จริงของเราไม่เคยคิดที่จะสร้างภาพมายาให้คนมาศรัทธาชื่นชมกล่าวยกย่องสรรเสริญอยู่กับความเป็นจริง ทำในสิ่งที่ควรทำและทำได้ในขณะนั้น

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๖

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๖…

…การปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าจะให้พบของจริงต้องละทิ้งอัตตาและอุปาทาน ที่เป็นตัวปิดบังความเป็นจริงออกเสียก่อน ทำให้มันแจ้งให้มันสว่าง แล้วเราจะได้เห็นสภาพแห่งความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงแต่การถอนมานะ การละทิฏฐินั้นไม่ใช่เรื่องง่ายมันเป็นเรื่องยากสำหรับนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ตราบใดที่เรายังไม่เกิดธรรมสังเวชในกายมันก็ยังละไม่ได้ในอัตตา และถ้ายังไม่เกิดธรรมสังเวชในเวทนามันก็ละไม่ได้ซึ่งอุปาทาน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๖”

สดับธรรมตามกาลเวลา

…สดับธรรมตามกาลเวลา…

…การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะจิตนั้น เรียกว่ากำลังทำความเพียร กำลังปฏิบัติธรรมไม่จำเป็นว่าจะต้องนั่งสมาธิหรือเดินจงกรม จึงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรมทำความเพียรถ้าไม่มีสติระลึกรู้ จิตฟุ้งซ่านคิดไปเรื่อย ก็ไม่เรียกว่าทำความเพียร แม้จะนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมอยู่ก็ตามเมื่อไหร่ที่จิตนั้นมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ไม่ว่าจะยืน จะเดินจะนั่งจะนอน ก็ได้ชื่อว่ากำลังปฏิบัติธรรมทำความเพียรอยู่…

…การไร้รูปแบบก็คือการมีรูปแบบเฉพาะตัวนั้นเอง โดยการไม่เข้าไปยึดติดในรูปแบบที่เป็นกระแสนิยมของสังคม เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับจริตและวิถีชีวิตของผู้ปฏิบัตินั้นเองเป็นการกระทำที่รู้ได้เฉพาะตนมีเหตุและผลในการกระทำทั้งหลายมีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศลควบคุมกายจิตอยู่ทุกขณะ เป็นสภาวะของปรมัตถธรรม จิตเข้าสู่ความเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตนในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ ดำเนินชีวิตไปอย่างเรียบง่าย ไม่เป็นภัยต่อชีวิตไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนธรรมวินัยเป็นไปโดยชอบอันประกอบด้วยกุศลเป็นมงคลต่อชีวิต นั้นสิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ…

อ่านเพิ่มเติม “สดับธรรมตามกาลเวลา”

ระลึกถึงธรรมย้ำเตือนจิต

…ระลึกถึงธรรมย้ำเตือนจิต…

…การปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญสติและการเจริญสัมปชัญญะเพื่อให้มีการระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะจิตกับสิ่งที่คิด สิ่งที่ทำและสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยมีองค์แห่งคุณธรรมคุ้มครองจิตอยู่องค์แห่งคุณธรรมที่ว่านั้นคือ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคอยกระตุ้นเตือนจิตสำนึก ความรู้สึกผิดชอบและชั่วดีที่กำลังเกิดขึ้นในความคิด ในจิตของเรา ทำให้เราสามารถที่จะข่มใจไม่ให้คล้อยตามตัณหาความอยากที่เป็นอกุศลนั้นได้ ซึ่งต้องใช้การหมั่นฝึกฝนปฏิบัติเพื่อสร้างความเคยชินให้แก่จิต ในการคิดและการรู้เท่าทันซึ่งอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจิตของเรา…

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกถึงธรรมย้ำเตือนจิต”