จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๓๐

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๓๐…

…ในอ้อมกอดของขุนเขา
ใต้ร่มเงาของมวลพฤกษา
บนจุดหนึ่งของกาลเวลา
จงมีสติเตือนตนเสมอว่า
มีความปรารถนาซึ่งสิ่งใด
ทบทวนสิ่งที่ได้ผ่านมาใหม่
ว่าสิ่งที่ตั้งความหวังไว้ในใจ
สิ่งนั้นก้าวไกลถึงไหนแล้ว

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๓๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔…

“ผู้มีปัญญาย่อมเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์”

“อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต”
…พุทธสุภาษิต ปัญหาสูตร ๒๑/๕๔…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔”

ความผิดพลาด

…ความผิดพลาด…

…ทุกชีวิตย่อมมีความผิดพลาดมากบ้าง น้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนที่ยังไม่หมดกิเลสสติยังไม่สมบูรณ์เต็มพร้อมทุกขณะจิต ความคิดและการกระทำย่อมอาจจะมีพลั้งเผลอ ไปตามกิเลสตัณหาและอุปทาน แต่เมื่อใดที่มีสติระลึกรู้แล้ว ควรห้ามจิตห้ามใจไม่กระทำในสิ่งนั้นต่อ ความรู้สึกส่วนลึกใต้จิตสำนึกของทุกคนนั้นต่างก็อยากจะเป็นคนดีของสัังคมแต่บางครั้งการมีทัศนคติต่อสังคมในแง่ร้ายของเขานั้นทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปโดยพฤติกรรมทางกายที่เรียกว่าการประชดสังคม…

อ่านเพิ่มเติม “ความผิดพลาด”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๔…

“ ความพยายามพวกเธอต้องทำเอาเอง ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น ”

“ ตุมฺเหหิ กิจฺ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา ”
…พุทธภาษิต ธรรมบท ๒๕/๔๓…

…การขึ้นกรรมฐาน สมาทานกรรมฐานนั้น ก็เพื่อเป็นการให้สัจจะอธิษฐานแก่ตัวเราเองว่าเราจะกระทำในสิ่งที่เราได้กล่าวปฏิญาณสมาทานไว้ให้สำเร็จ เราจะไม่ทอดทิ้งธุระเราจะไม่ละความพยายาม เราจะทำตามที่เราได้กล่าวไว้ เป็นการให้สัจจะแก่ตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๔”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙…

…สิ่งทั้งหลายรอบกายของเรานั้นล้วนสงเคราะห์เข้ากับหลักธรรม หากเรานั้นได้นำมาคิดและพิจารณาถึงที่มาและที่ไปในสิ่งเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าหาหลักธรรม โดยการพิจารณาให้เห็นถึงคุณถึงโทษ เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของธรรมชาติทั้งหลายเหล่านั้น รู้เห็นถึงสภาวะการเกิดดับของอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจิต โดยการมีสติและสัมปชัญญะควบคุมคุ้มครองจิตให้คิดพิจารณา

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓…

“ ผู้มีปัญญาย่อมเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์และถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ”
“ อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต ”
…พุทธสุภาษิต ปัญหาสูตร ๒๑/๕๔…

…การปฏิบัติธรรมนั้น ท่านต้องถามใจของท่านว่า ท่านปรารถนาสิ่งใดในการปฏิบัติธรรมและสิ่งที่ท่านปรารถนานั้นเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่เพื่อจะได้ไม่หลงทางในการปฏิบัติ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓…

…”กิเลสย่อมพอกพูนแก่ผู้ที่ชอบเพ่งโทษของผู้อื่น ให้ความสนใจในการเพ่งโทษของผู้อื่นเป็นนิตย์บุคคลผู้ประพฤติดังนั้นย่อมสิ้นอาสวะช้า”…

…” ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ
อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺ
อารา โส อาสวกฺขยา “…
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๔๑…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘…

…ตราบใดที่การเดินทางของชีวิตนั้นยังไม่สิ้นสุด ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในห้วงแห่งวัฏสงสารที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังไม่สิ้นอาสาวะแห่งกิเลสทั้งหลาย จงอย่าได้รีบด่วนสรุปในสิ่งที่รู้ ในสิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็น ว่าเรารู้และเข้าใจหมดแล้วเพราะมันยังมีหลายสิ่งหลายอย่างอีกมากมาย ที่เรานั้นต้องประสพพบเห็นทั้งในทางโลกและในทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒…

…คำสอนในพุทธศาสนานั้น สอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมและให้ยอมรับในผลของกรรม ทั้งในกรรมดีและกรรมเลวที่ได้กระทำมา ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกรรมทั้งหลาย ชี้ทางที่ควรทำและห้ามในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่พ้นผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่าเพียงใดกับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่และจะได้รีบเร่งสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒”