จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙๑

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙๑…

…ระลึกนึกถึงพุทธพจน์ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า…

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบเหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลมแดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อน ฉันใดบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลมแดดและฝน”

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙๑”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙๐

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙๐…

…ใช้เวลาที่ผ่านไปนั้นให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ต่อส่วนรวม

…มองภาพภายนอกแล้วย้อนกลับเข้ามาสู่ภายในถามตัวเองว่าเข้าใจกฎของธรรมชาติได้ดีเพียงใดทำใจได้หรือไม่กับสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปทุกขณะ

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๙๐”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๙

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๙…

…บุคคลแตกต่างด้วยธาตุและอินทรีย์บารมีที่สร้างสมกันมา การเจริญกุศลจิตเจริญสติภาวนา ก็เพื่อเพิ่มพูนกำลังของบุญกุศล ให้รู้จักกายและใจของตนเพื่อให้เห็นคุณ เห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งภายนอกและภายใน ทั้งกายและจิตของเรา เพื่อเพิ่มคุณธรรม ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปให้มากขึ้นแก่จิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๙”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๘

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๘…

…เตือนตนด้วยธรรม เป็นคำกวี…

๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ ในสิ่ง ที่เป็นมา

๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง

๐ ชีวิตนี้ ย่อมมี อุปสรรค
เป็นตามหลัก เปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
อนิจจา ไม่เที่ยงแท้ คือความจริง
สรรพสิ่ง ย่อมผันแปร ไม่แน่นอน

๐ เมื่อมีได้ ก็ย่อม จะมีเสีย
เมื่ออ่อนเพลีย ควรตั้งหลัก หยุดพักผ่อน
ให้จิตใจ เข้มแข็ง และแน่นอน
แล้วค่อยย้อน มาแก้ไข ให้ทันการ

๐ การกดดัน ตนเอง เกรงจะเสีย
กายอ่อนเพลีย และใจ ที่ไม่นิ่ง
จะทำให้ ไม่เห็น ความเป็นจริง
มองทุกสิ่ง ไม่ชัด เพราะอัตตา

๐ ทุกปัญหา มีทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ยอมละ ซึ่งตัณหา
ความอยากมี อยากได้ เพราะโลภา
คือตัณหา ความโลภ เข้าครอบงำ

๐ เมื่อไม่ยอม เสียสละ ก็ละยาก
ต้องลำบาก ทำชีวิต ให้ตกต่ำ
ก่อให้เกิด จองเวร และจองกรรม
บุญไม่ทำ กรรมจึงเกิด ขึ้นแก่ตน

๐ เพราะตัณหา อัตตา และมานะ
ที่ไม่ละ ไม่วาง จึงให้ผล
ต้องกลุ้มใจ ไร้สุข ต้องทุกข์ทน
นั้นคือผล ของกรรม ที่ทำมา

…” ความพอดี พอเพียง เลี้ยงชีวิต
รู้ถูกผิด ในกิเลส และตัณหา
รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ด้วยปัญญา
จะนำพา ชีวิต ให้รุ่งเรือง “…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕…

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๗

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๗…

…รำพึงธรรมในยามดึกที่ไร้แสงดาว…

…อดีตที่ผ่านมานั้นคือบทเรียนบทเรียนของชีวิต มีทั้งการลองผิดและลองถูกสลับกันไป ความผิดพลาดทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นประสพการณ์ของชีวิตและเป็นการเรียนรู้กับชีวิตไม่ยึดติดฝังใจอยู่กับความผิดพลาดที่ผ่านมา นำสิ่งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ทำให้ดีกว่าที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๗”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๖

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๖…

…จงเป็นเหมือนสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา เพียงผ่านมาแล้วจากไปเคลื่อนไหวไปมาไม่เคยจะหยุดนิ่งทิ้งไว้เพียงความรู้สึกที่สัมผัสได้และจางหายไปกับกาลเวลา

…บอกกล่าวแก่ผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เสมอว่า อย่าเอาชีวิตไปยึดติดกับผู้ใด ขอให้ศรัทธาในธรรมะที่เขากล่าว ให้มากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรม แล้วท่านจะไม่เสียใจเมื่อผู้กล่าวธรรมนั้นแปรเปลี่ยนไป

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๖”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๕

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๕…

…จงกล่าวธรรมเพื่อธรรม กล่าวธรรมโดยธรรม ทำหน้าที่โดยการกล่าวธรรมซึ่งต้องให้เหมาะสมกับจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และบุคคล คือต้องรู้จักกาลเทศะ ไม่กล่าวธรรมพร่ำเพรื่อต้องให้เหมาะกับกาล การกล่าวธรรมนั้นจึงจะบังเกิดผลสัมฤทธิ์ ก่อให้เกิดความเจริญในธรรมและได้รับการสนองตอบ เพราะชอบด้วยกาลและเวลา คือถูกที่ ถูกทางและถูกธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๕”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๔

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๔…

…จงให้อภัยศัตรูของคุณเสมอ เพราะนี่เป็นสิ่งที่พวกเขาเกลียดที่สุด.

…Always forgive your enemies nothing annoys them so much.

…โลกและธรรมต้องก้าวไปพร้อมกันด้วยความเหมาะสมความลงตัว พอเหมาะและพอควรไม่เคร่งจนเกินไปในทางธรรมจนกลายเป็นการทอดทิ้งธุระในทางโลก ไม่ทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์และไม่หย่อนเกินไปในทางธรรม จนกลายเป็นการไร้ซึ่งคุณธรรม หาความพอเหมาะพอดีในการทำหน้าที่ของตนอยู่บนเหตุและผลของความพอดีและพอเพียง

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๔”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๓

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๓…

…ก่อนที่จะให้บุคคลอื่นมาศรัทธาในตัวของเรานั้น จงมองย้อนกลับมามองที่ตัวของเรา ว่าตัวของเรานั้นมีอะไรที่จะให้บุคคลอื่นเขาศรัทธาแล้วหรือไม่เรานั้นศรัทธาในตัวของเราแล้วหรือยัง มีอะไรบ้างที่เรานั้นได้สร้างไว้กระทำไว้ให้เป็นอนุสรณ์เตือนใจให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงคุณงามความดีในสิ่งที่เรานั้นได้ทำไว้และสังคมทั่วไปยอมรับศรัทธาในสิ่งนั้น

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๓”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๒

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๒…

…จิตสำนึกแห่งคุณธรรม…

…มนุษย์ทุกคนมีความคิด ถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจ แต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิด เป็นเพราะขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรรมที่จะหักห้ามมิให้กระทำผิด

…จิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝน ฝึกนึก ฝึกคิด ปรับจิตให้เป็นกุศล ฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนและผู้อื่น ฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดี เพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย

…จิตสำนึกแห่งคุณธรรมคือความรู้สึกละอายและเกรงกลัวต่อบาปและเมื่อเราไม่กล้าทำบาปเราจะทำความดี คนทำความดีจิตใจจะอ่อนโยนมีเมตตา รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ละความเห็นแก่ตัวลงไปได้ตามสภาวะ

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๒”