จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙…

…สิ่งทั้งหลายรอบกายของเรานั้นล้วนสงเคราะห์เข้ากับหลักธรรม หากเรานั้นได้นำมาคิดและพิจารณาถึงที่มาและที่ไปในสิ่งเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าหาหลักธรรม โดยการพิจารณาให้เห็นถึงคุณถึงโทษ เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของธรรมชาติทั้งหลายเหล่านั้น รู้เห็นถึงสภาวะการเกิดดับของอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจิต โดยการมีสติและสัมปชัญญะควบคุมคุ้มครองจิตให้คิดพิจารณา

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓…

“ ผู้มีปัญญาย่อมเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์และถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ”
“ อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต ”
…พุทธสุภาษิต ปัญหาสูตร ๒๑/๕๔…

…การปฏิบัติธรรมนั้น ท่านต้องถามใจของท่านว่า ท่านปรารถนาสิ่งใดในการปฏิบัติธรรมและสิ่งที่ท่านปรารถนานั้นเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่เพื่อจะได้ไม่หลงทางในการปฏิบัติ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓…

…”กิเลสย่อมพอกพูนแก่ผู้ที่ชอบเพ่งโทษของผู้อื่น ให้ความสนใจในการเพ่งโทษของผู้อื่นเป็นนิตย์บุคคลผู้ประพฤติดังนั้นย่อมสิ้นอาสวะช้า”…

…” ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ
อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺ
อารา โส อาสวกฺขยา “…
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๔๑…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๓”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘…

…ตราบใดที่การเดินทางของชีวิตนั้นยังไม่สิ้นสุด ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในห้วงแห่งวัฏสงสารที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังไม่สิ้นอาสาวะแห่งกิเลสทั้งหลาย จงอย่าได้รีบด่วนสรุปในสิ่งที่รู้ ในสิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็น ว่าเรารู้และเข้าใจหมดแล้วเพราะมันยังมีหลายสิ่งหลายอย่างอีกมากมาย ที่เรานั้นต้องประสพพบเห็นทั้งในทางโลกและในทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒…

…คำสอนในพุทธศาสนานั้น สอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมและให้ยอมรับในผลของกรรม ทั้งในกรรมดีและกรรมเลวที่ได้กระทำมา ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกรรมทั้งหลาย ชี้ทางที่ควรทำและห้ามในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่พ้นผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่าเพียงใดกับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่และจะได้รีบเร่งสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๒”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗…

…ตราบใดที่การเดินทางของชีวิตนั้นยังไม่สิ้นสุด ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในห้วงแห่งวัฏสงสารที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังไม่สิ้นอาสาวะแห่งกิเลสทั้งหลาย จงอย่าได้รีบด่วนสรุปในสิ่งที่รู้ ในสิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็น ว่าเรารู้และเข้าใจหมดแล้วเพราะมันยังมีหลายสิ่งหลายอย่างอีกมากมาย ที่เรานั้นต้องประสพพบเห็นทั้งในทางโลกและในทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑…

…ถ้าใครดี เราก็เห็น ว่าเป็นมิตร
ใครคดคิด ทรลักษณ์ จึงหักหาญ
ถ้าเขาคด เราก็คม ให้สมพาล
ถ้าเข้าด้าน เราก็ดื้อ ให้คือกัน…
“…บทกวีของหลวงวิจิตรวาทการ…”

…ท่องจำขึ้นใจมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กและนำมาปฏิบัติมาตลอดเมื่อครั้งเป็นฆราวาส เพิ่งมาลด ละ เลิก ก็ตอนเป็นสมณะ แต่มันก็ยังมีความเคยชินเก่าๆเหลือติดอยู่บ้าง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑…

…งานที่ใช้กำลัง ถ้าเราไม่ระวังสำรวมสติ จิตจะหยาบ…

…ในการทำงานที่ต้องใช้แรงงานนั้นมันย่อมมีผลต่อร่างกายและจิตใจซึ่งต้องใช้ความอดทนที่สูงมากถ้าขาดสติตามรู้ตามเห็นไม่ทันกิเลสนั้นจะแสดงออกมา (ความเอาแต่ใจตัวเอง ความเห็นแก่ตัว ความน้อยใจ ความเสียใจ ความมักง่ายความขี้เกียจ ความโกรธ) จะปรากฏขึ้นที่เป็นเช่นนั้นเพราะกิเลสมันถูกเผาให้เร้าร้อน มันถูกกระตุ้นด้วย ความเหนื่อย ความร้อน ความหิวกระหายความที่ไม่ได้ตามที่ใจปรารถนา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖…

…การเดินทางของชีวิตนั้น มันเป็นเรื่องของกรรมเก่าในอดีตชาติและกรรมใหม่ในชาตินี้ที่เราได้กระทำมาดั่งที่ได้กล่าวไว้เสมอว่า…

…ไม่ใช่โชคชะตาหรือว่าฟ้าลิขิต ไม่ใช่นิมิตของสวรรค์หรือพรหมนั้นท่านบันดาล แต่สิ่งที่ชีวิตต้องพบพานนั้นล้วนเกิดมาจากกรรม…

…กรรมที่เป็นกุศลก็จะส่งผลไปสู่สิ่งที่ดีงาม ส่วนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมส่งผลให้ตกต่ำ เมื่อเรายอมรับในเรื่องกฎแห่งกรรม มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เราก็จะไม่สร้างกรรมที่เป็นอกุศล ชีวิตก็ย่อมจะพ้นจากอบายภูมิ…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖”